ธนาคารกลางในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEACEN)

seacen

การประชุมผู้ว่าการของ SEACEN เริ่มจากการประชุมอย่างไม่เป็นทางการของผู้ว่าการในการประชุม SEA Voting Group ของ IMF เพื่อหารือเรื่องเกี่ยวกับเศรษฐกิจและการเงินที่เป็นที่สนใจระหว่างประเทศสมาชิกในขณะนั้น การประชุม SEACEN ครั้งแรกเกิดขึ้นระหว่างวันที่ 3-4 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2509 (ค.ศ.1966) ที่ กรุงเทพฯ โดยเป็นการประชุมอย่างไม่เป็นทางการระหว่างผู้ว่าการธนาคาร 7 ประเทศใน SEA Voting Group ของ IMF (สปป. ลาว มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ศรีลังกา เวียดนาม และไทย) นำโดย ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ผู้ว่าการ ธปท. ในขณะนั้น ร่วมกับ ผู้ว่าการธนาคารกลางแห่งมาเลเซีย คือ Tun Ismail Bin Mohamed Ali, P.M.N. 

การประชุมผู้ว่าการครั้งที่ 2 ที่ประเทศฟิลิปปินส์ ในปี พ.ศ.2510 (ค.ศ.1967) ผู้ว่าการต่าง ๆ มีแนวคิดที่จะจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมขึ้น ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ต่อมาการประชุมผู้ว่าการครั้งที่ 7 ในปี พ.ศ.2515 (ค.ศ.1972) ที่ประชุมได้เห็นชอบให้มีการจัดตั้ง SEACEN Research and Training Centre อย่างไม่เป็นทางการขึ้น เพื่อรับผิดชอบเรื่องการฝึกอบรมบุคลากรของประเทศสมาชิก โดยใช้บุคลากรจากธนาคารกลางมาเลเซีย  ต่อมาในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2525 (ค.ศ.1982) ได้จัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมอย่างเป็นทางการ โดยลงนามจัดตั้งระหว่างการประชุมผู้ว่าการครั้งที่ 17 ที่ประเทศไทย

ส่งเสริมความรู้ความเข้าใจทางด้านการเงิน การธนาคาร และเศรษฐศาสตร์ รวมถึงประเด็นที่อยู่ในความสนใจของธนาคารกลางสมาชิก และ กระตุ้นและส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกลุ่มธนาคารกลางสมาชิกในเรื่องโครงการวิจัยและฝึกอบรม

ธนาคารกลางสมาชิกของ SEACEN จะได้รับเชิญให้เข้าร่วมงานสัมมนาระดับผู้ว่าการ เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์เกี่ยวกับเศรษฐกิจ การเงิน และการดำเนินนโยบายของธนาคารกลางประเทศสมาชิกซึ่งปัจจุบันแบ่งออกเป็น 3 ประเภท

สมาชิกสามัญ จำนวน 19 ประเทศ ประกอบด้วยธนาคารกลางอินโดนีเซีย มาเลเซีย เนปาล ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ศรีลังกา ไทย เมียนมา เกาหลีใต้ ไต้หวัน มองโกเลีย บรูไน ปาปัวนิวกินี กัมพูชา เวียดนาม จีน สปป. ลาว อินเดียและฮ่องกง โดยแต่ละประเทศสลับกันเป็นเจ้าภาพการประชุมสภาผู้ว่าการและสภารองผู้ว่าการ

สมาชิกสมทบ จำนวน 8 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย บังคลาเทศ ภูฏาน มาเก๊า ปากีสถาน ตองกา วานูอาตู และฟิจิ

ผู้สังเกตการณ์ จำนวน 8 ประเทศ ได้แก่ อัฟกานิสถาน อิหร่าน ญี่ปุ่น มัลดีฟส์ นิวซีแลนด์ ซามัว โซโลมอน และติมอร์-เลสเต

รั้งที่

พ.ศ.

ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย

1

2509

ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์      

2

2513

ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์

3

2525

นายนุกุล ประจวบเหมาะ

4

2532

นายกำจร สถิรกุล

5

2540

นายเริงชัย มะระกานนท์

6

2550

ดร.ธาริษา วัฒนเกส

7

2560

ดร.วิรไท สันติประภพ

กรอบความร่วมมือระหว่างประเทศ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

ทีมความร่วมมือระหว่างประเทศ 1-2 ฝ่ายความร่วมมือระหว่างประเทศ สายองค์กรสัมพันธ์

E-mail: IND-Cooperation@bot.or.th