Plant-based Meat

เทรนด์อาหารโลก ยกระดับอุตสาหกรรมอาหารภูมิภาค

รสสุคนธ์ ศึกษานภาพัฒน์ | พรทิพย์ ติ๊บศรี | ดวงทิพย์ ศิริกาญจนารักษ์ ฝ่ายนโยบายโครงสร้างเศรษฐกิจ ธนาคารแห่งประเทศไทย

15 เม.ย. 2564

Plant-based Meat หรือ เนื้อจากพืช จุดเปลี่ยนสำคัญของวงการอุตสาหกรรมอาหารในปัจจุบัน จากการใช้วัตถุดิบจากพืชที่มีโปรตีนสูงแทนเนื้อสัตว์ เพื่อตอบโจทย์เมกะเทรนด์ด้านไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคที่หันมาให้ความสำคัญกับสุขภาพและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น และจากการระบาดของโควิด-19 ในปัจจุบัน รวมทั้งโรคอุบัติใหม่ในสัตว์ ส่งผลให้กระแสการดูแลสุขภาพได้รับความสนใจมากขึ้นต่อเนื่อง เมกะเทรนด์ดังกล่าวไม่เพียงก่อให้เกิดการตื่นตัวของนักธุรกิจในตลาดโลกเท่านั้น สำหรับไทยแล้วส่งผลให้เกิดการเข้ามาของธุรกิจ Food Tech Start Up  รุ่นใหม่ ๆ มากขึ้นในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา รวมทั้งการรวมกลุ่มของธุรกิจต่าง ๆ  เพื่อเข้าสู่ตลาดดังกล่าว ประเด็นที่น่าสนใจ คือ โอกาสและความท้าทายของอุตสาหกรรมนี้ของไทยจะมีมากน้อยเพียงใด โดยเฉพาะในมิติของอุตสาหกรรมกลางน้ำที่กระจายตัวอยู่ในภูมิภาค หากไทยจะถือโอกาสนี้ผลักดันและยกระดับอุตสาหกรรมในท้องถิ่นให้เติบโตอย่างยั่งยืนนำไปสู่ New S-curve ใหม่ได้ในระยะยาว ซึ่งบทความนี้ ขอรวบรวมข้อมูลและมุมมองต่าง ๆ จากการสัมภาษณ์นักวิชาการและนักธุรกิจที่เชี่ยวชาญทั้งในภูมิภาคและส่วนกลาง มาถ่ายทอดให้ทุกท่านได้อ่าน

 

ทำความรู้จัก Plant-based Meat

Plant-based

“จากข้อมูลสถิติตลาด Plant-based Meat ในต่างประเทศที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่และมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องโดยเฉพาะในยุโรปและอเมริกา นับว่าเป็นโอกาสของไทยในการเกาะกระแสไปกับคลื่นที่กำลังมาแรงภายใต้เมกะเทรนด์นี้”

 

ซึ่งจากการสัมภาษณ์นักวิชาการและนักธุรกิจทั้งรายที่อยู่ในวงการอาหารมานานกว่า 20 ปี และกลุ่ม Start up รุ่นใหม่  ทั้งที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคและส่วนกลางต่างเห็นว่า ไทยมีศักยภาพในอุตสาหกรรมนี้จาก 5 ปัจจัย ขณะเดียวกันก็มีอีก 4 ความท้าทาย ที่ต้องเตรียมรับมือ

chance
challenge

Key Success ของอุตสาหกรรมนี้คือ ?

 

“หากถามต่อไปว่า เมื่อไทยเรามีศักยภาพในอุตสาหกรรมนี้แล้ว จะทำอย่างไรให้อุตสาหกรรมนี้สามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน และแข่งขันได้ในต่างประเทศ หรือสำหรับผู้ประกอบการรายเดิมจะปรับตัวสู่วิถีชีวิตใหม่นี้ได้อย่างไร” 

 

จากการถอดบทเรียน ประสบการณ์ มุมมอง และแนวคิดของผู้ประกอบการสำคัญทั้งในภูมิภาคและส่วนกลาง พบว่า สิ่งสำคัญในการผลักดันให้ธุรกิจเนื้อจากพืชประสบความสำเร็จ สำหรับผู้ที่สนใจธุรกิจและต้องการต่อยอดผลิตภัณฑ์มี Key success ที่น่าสนใจ 4 ส่วนดังนี้

key_success

สรุปและข้อเสนอแนะ

 

เนื้อจากพืช หรือ Plant-based Meat ถือเป็นโอกาสของไทยที่เราจะสร้าง S-curve ใหม่แก่อุตสาหกรรมอาหาร 

 

เนื่องจากไทยมีข้อได้เปรียบจากทรัพยากรที่มีอยู่ทั้งวัตถุดิบ คน และเทคโนโลยีที่สามารถต่อยอดผลิตภัณฑ์เนื้อจากพืชให้มีความเสมือนเนื้อจริง และมีจุดเด่นต่าง ๆ สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ไม่ยาก ในระยะถัดไปหากค่านิยมของผู้บริโภคหันมาสนใจสุขภาพ และความยั่งยืนของอาหารมากขึ้น เชื่อว่าจะยิ่งมีแรงผลักดันการเติบโตของธุรกิจได้อย่างมากทั้งต้นน้ำ (การเกษตร) กลางน้ำ (อุตสาหกรรมอาหาร) และปลายน้ำ (ร้านอาหาร ช่องทางการขาย)

 

business

อย่างไรก็ตาม นักวิชาการและนักธุรกิจได้ให้ข้อคิดเพิ่มเติมว่า หากต้องการผลักดันธุรกิจเนื้อจากพืชให้เติบโตได้ในโลกวิถีชีวิตใหม่ มีสิ่งจำเป็นที่ภาครัฐต้องให้การสนับสนุนอีก 4 ด้าน

 

recommend2

ขอขอบพระคุณผู้สนับสนุนข้อมูล ความเห็น และข้อเสนอแนะ

 

- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อินทาวุธ สรรพวรสถิตย์ รองคณบดี สำนักวิชาทรัพยากรการเกษตร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และอาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีทางอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 

- ดร.องอาจ  กิตติคุณชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซันสวีท จำกัด (มหาชน)

- คุณสมิต ทวีเลิศนิธิ  กรรมการผู้จัดการ  บริษัท นิธิ ฟู้ดส์ จำกัด

- คุณกันตพงศ์ ธนโชติวรพงศ์  กรรมการผู้จัดการ บริษัท มอร์ฟู้ดส์อินโนเทค จำกัด 

 

 

“บทความนี้เป็นข้อคิดเห็นส่วนบุคคล ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับข้อคิดเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทย”

.

.

.