5 มุมมอง ความเป็นอยู่ของคนใน 3 ภาคของไทย 

ฝ่ายเศรษฐกิจการเงินภูมิภาค และสำนักงานภาค ธนาคารแห่งประเทศไทย

13 ก.ย. 2566

“สวัสดีเจ้า สบายดีบ่ กินข้าวแล้วม้าย”เป็นภาษาถิ่นของภาคเหนือ อีสาน และใต้ ที่ต่างคุ้นหู และด้วยเสน่ห์ของวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ทำให้หลาย ๆ จังหวัดกลายเป็นเป้าหมายการเดินทางของทั้งชาวไทยและต่างประเทศ เช่น สถานที่ทำงานของกลุ่ม Digital Nomad ไทยติดTop 10 ถึง 3 แห่งของเอเชีย และ 2 ใน 3 แห่งอยู่ใน 3 ภาคนี้ ได้แก่ เกาะพะงัน จ.สุราษฎร์ธานี (อันดับ 1)  และจ.เชียงใหม่ (อันดับ 9)1/  บทความนี้จึงขอชวนทุกท่านส่อง

“ความเป็นอยู่ของคนใน 3 ภาค ที่มีมากถึง 43 ล้านคน หรือ 65% ของประชากรไทยทั้งหมด2/ ว่าเป็นอย่างไร” ซึ่งพบ 5 มุมมองที่สำคัญ ดังนี้

มุมมองที่ 1 คนใต้อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดีที่สุด

  • พังงา และ ระนอง เป็น 2 จังหวัดที่ทั้ง PM 2.5 น้อย และอุณหภูมิต่ำสุด ติด Top 5 ของประเทศ (Top 5 ที่ PM 2.5 เฉลี่ย 5 เดือนแรกของปี 2566 ต่ำสุดของประเทศ ได้แก่ สตูล ภูเก็ต ชุมพร พังงา ระนอง , Top 5  ที่มีอุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีต่ำสุดของประเทศ ได้แก่ พังงา ระนอง เชียงราย นราธิวาส พัทลุง)

มุมมองที่ 2 คนอีสานอยู่ในพื้นที่ที่ปลอดภัยมากที่สุด

 

  • อีสานมีจำนวนการแจ้งความคดีฯ น้อยสุด ส่วนหนึ่งจากวิถีชีวิตส่วนใหญ่ทำการเกษตร (47% ของคนอีสานทำเกษตร) ถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน (Top 5  ที่มีจำนวนคดีฯ น้อยที่สุด ได้แก่ สุรินทร์ บุรีรัมย์ น่าน พะเยา เชียงราย)
 
  • ใต้มีอัตราการตายจากการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนน้อยสุด รองลงมาเป็นอีสาน (Top 5 ที่มีอัตราการตายจากการเกิดอุบัติเหตุฯ น้อยที่สุด ได้แก่ ปัตตานี กรุงเทพฯ สตูล ยะลา นราธิวาส)

มุมมองที่ 3 พัฒนาการเด็กเล็กและการเรียนรู้ของเด็กโตภาคเหนือดีที่สุด

 

  • เหนือและอีสาน มีสัดส่วนเด็ก 0-5 ปีที่มีพัฒนาการสมวัยสูง (Top 5 ได้แก่ นครสวรรค์ ร้อยเอ็ด สุพรรณบุรี อุตรดิตถ์ ขอนแก่น)
 
  • เหนือและใต้มีคะแนน ONET สูง แม้เหนือจะไม่มีจังหวัดติด Top 5 (Top 5 ได้แก่ นครปฐม  กรุงเทพฯ นครนายก สมุทรสงคราม ภูเก็ต)

มุมมองที่ 4 โครงสร้างพื้นฐานยังไม่ดีเท่าประเทศ แต่จังหวัดหลัก ๆ ในภาคใต้ ติดTop 5 ด้านการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต

 

  • 6 ปีที่ผ่านมา สิ่งปลูกสร้าง (เช่น บ้านพักอาศัย อาคาร สะพาน ถนน) ที่เพิ่มขึ้นกระจุกอยู่เฉพาะอีสานใต้ (เช่น สุรินทร์ ศรีสะเกษบุรีรัมย์) ตามการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่มีการขยายเส้นทางหลัก และเหนือบน (เช่น เชียงใหม่ เชียงราย) ตามการขยายตัวของที่อยู่อาศัย สำหรับทางใต้มีน้อยกว่าภาคอื่น ๆ
 
  • ใต้มีสัดส่วนประชาชนเข้าถึงอินเทอร์เน็ตมากกว่าทุกภาค
    และสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั้งประเทศ
    โดย ภูเก็ต มีสัดส่วนฯ มากถึง 96%  (อับดับ 1 ของประเทศ) เหนือและอีสานมีสัดส่วนเกือบ 80 % (วัตถุประสงค์ของการใช้อินเทอร์เน็ต 30% เพื่อสื่อสารและส่ง e-mail 12% เพื่อใช้บริการสถาบันการเงิน และ11% ซื้อสินค้า7/)   

มุมมองที่ 5 ด้านสาธารณสุขยังไม่ดีเท่าประเทศแต่จังหวัดหลัก ๆ ใน 3 ภาคติด Top 5

  • เชียงใหม่ ภูเก็ต ติด Top 5  จังหวัดที่มีเตียงรองรับผู้ป่วยมากสุด โดยค่าที่น้อยสะท้อนว่ามีเตียงรองรับผู้ป่วยได้มากโดยเปรียเทียบ (Top5 ได้แก่ กรุงเทพฯ สมุทรสาคร นครนายก เชียงใหม่ และภูเก็ต)

 

 

ชีวิตความเป็นอยู่ของคนในแต่ละภูมิภาคมีจุดเด่นแตกต่างกัน  คนใต้อยู่ท่ามกลางอากาศที่ดีมาก คนอีสานอุ่นใจด้านความปลอดภัย ทั้ง 3 ภาค เมื่อมีลูกหลานสามารถส่งเรียนในจังหวัดภายในภูมิภาคของตัวเองได้ และที่สำคัญพื้นที่ส่วนใหญ่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ต ดังนั้น คงไม่แปลกใจว่า ทำไมแรงงานที่กลับบ้านในช่วงโควิดจำนวนไม่น้อย เลือกที่จะใช้ชีวิตต่อที่บ้านเกิด ไม่กลับไปทำงานที่ในเมือง

หมายเหตุ: * วิเคราะห์ตามกรอบแนวคิดของ OECD ครอบคลุม 6 ด้าน ได้แก่ รายได้และการจ้างงาน การศึกษา สาธารณสุข ความปลอดภัย สิ่งแวดล้อม โครงสร้างพื้นฐาน  ทั้งนี้ 1. การวิเคราะห์นี้ไม่ได้ใช้เปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน (Benchmark) ของแต่ละด้านว่าดีกว่า/แย่กว่าเกณฑ์เพียงใด และ 2. ผู้ศึกษาเลือกเครื่องชี้หลัก ๆ มาแสดงในหน้านี้ แต่ดัชนีความเป็นอยู่ของประชาชนยังมีเครื่องชี้อื่น ๆ อีก ซึ่งจะเผยแพร่เป็นบทความในไตรมาส 4 ปี 2566 ต่อไป

 

ที่มาของข้อมูล :

1/ ผลสำรวจ nomadlist.com

2/สถิติประชากรศาสตร์ประชากรและเคหะ พ.ศ.2564-65 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ

3/The World Air Quality Project

4/Open Government Data of Thailand ของสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน)

5/ ฐานข้อมูลดัชนีความก้าวหน้าของคน ของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

6/Dynamic World ของ Google ร่วมกับ World Resources Institute และ

7/ สำนักงานสถิติแห่งชาติ คำนวณโดยทีมงานศึกษา

 

 

“บทความนี้เป็นข้อคิดเห็นส่วนบุคคล ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับข้อคิดเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทย”               

.

.

.