"อุตสาหกรรมกุ้งไทยวันนี้...ต้องปรับเพื่อไปต่อ"

ณัฐชนน ภัทรภิญโญกุล ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคใต้

22 เม.ย. 2568

“อุตสาหกรรมกุ้งไทยยังคงสร้างรายได้หล่อเลี้ยงเศรษฐกิจ"

 

โดยมีมูลค่าการส่งออกมากกว่า 43,000 ล้านบาท แม้การระบาดของโรคตายด่วน (EMS) จะทำให้ความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกของไทยลดลงไปตั้งแต่ปี 2555 จนทำให้ผู้เล่นในอุตสาหกรรมนี้ล้มหายตายจากไปเป็นจำนวนมาก และทำให้ไทยต้องสูญเสียแชมป์การส่งออกกุ้งไป อย่างไรก็ตาม ไทยยังมีผู้เล่นในอุตสาหกรรมกุ้งเหลืออยู่เป็นจำนวนไม่น้อย ปัจจุบันไทยมีฟาร์มเพาะเลี้ยงกุ้งอยู่กว่า 27,000 แห่ง และห้องเย็นอยู่กว่า 200 แห่งทั่วประเทศ ซึ่งปัจจุบันกำลังเผชิญความท้าทายจากทั้งปัญหาเชิงโครงสร้างที่มีอยู่เดิม และสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นการพัฒนาเพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลงจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก บทความนี้จึงต้องการฉายภาพสถานการณ์อุตสาหกรรมกุ้งไทยในปัจจุบัน และเสนอแนวทางการพัฒนาที่ได้รวบรวมจากการลงพื้นที่พบผู้ประกอบการและเกษตรกร เพื่อเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยสนับสนุนให้ผู้เล่นในอุตสาหกรรมกุ้งไทยสามารถดำเนินธุรกิจและเติบโตต่อได้

ปัจจุบันอุตสาหกรรมกุ้งไทยกำลังเผชิญความท้าทาย

 

  • ไทยมีส่วนแบ่งในตลาดโลกลดลงต่อเนื่อง จากสัดส่วนมูลค่าการส่งออกตลาดโลก ในปี 2555 ไทยมี Market Share อยู่ที่ราว 20% เป็นอันดับ 1 ของโลก แต่ในปี 2566 เอกวาดอร์ได้กลายมาเป็นผู้ส่งออกอันดับ 1 มี Market Share อยู่ที่ราว 24% ขณะที่ไทยเป็นผู้ส่งออกอันดับ 6 มี Market Share ลดลงเหลือเพียง 4% เท่านั้น (รูปที่ 1) 
  • ส่วนแบ่งตลาดของไทยลดลงจากความสามารถในการแข่งขันที่ลดลง เนื่องจากทั้งผู้เพาะเลี้ยงและผู้แปรรูปต่างก็มีประเด็นเสียเปรียบคู่แข่ง
สัดส่วนมูลค่าการส่งกุ้งในตลาดโลก

 

  • กุ้งไทยเป็นสินค้าที่พึ่งพาการส่งออกเป็นหลัก กว่าครึ่งของกุ้งไทยเป็นสินค้าส่งออก มีตลาดหลัก คือ ญี่ปุ่น สหรัฐฯ และ จีน โดยสัดส่วนการส่งออกของไทยในแต่ละตลาดหลักแตกต่างกัน สำหรับตลาดญี่ปุ่น และ สหรัฐฯ ไทยส่งออกกุ้งแปรรูปขั้นปลายเป็นหลัก ขณะที่ตลาดจีน ไทยส่งออกกุ้งแช่แข็งและกุ้งมีชีวิตเป็นหลัก (รูปที่ 2) โดยผู้บริโภคหลักที่ไม่ใช่ตลาดหลักของไทย คือ EU ในปี 2567 ไทยมี Market Share ในตลาดดังกล่าวเพียง 0.3%
  • ผู้บริโภคหลักของโลกมีโครงสร้างการนำเข้าที่แตกต่างกัน ตลาดญี่ปุ่น สหรัฐฯ และ EU มีความต้องการสินค้าขั้นปลาย อาทิ กุ้งต้มแกะเปลือก เกี๊ยวกุ้ง เพื่อบริโภคมากกว่าจีน ซึ่งเน้นนำเข้ากุ้งเพื่อนำไปเป็นวัตถุดิบประกอบอาหาร หรือเพื่อนำไปแปรรูปเป็นสินค้าขั้นปลายมากกว่า (รูปที่ 3)

“ความท้าทายของผู้เพาะเลี้ยงกุ้งไทย”

 

  1. ต้นทุนการเพาะเลี้ยงกุ้งของไทยสูงกว่าคู่แข่งอย่างชัดเจน โดยเฉพาะค่าไฟฟ้า เนื่องจากเกษตรกรไทยส่วนใหญ่เป็นรายย่อย ทำให้ต้องเลี้ยงกุ้งแบบความหนาแน่นสูง ต่างจากผู้ประกอบการในเอกวาดอร์ที่มักมีฟาร์มขนาดใหญ่ (รูปที่ 4) ทำให้สามารถเลี้ยงกุ้งแบบความหนาแน่นต่ำได้ จึงมีต้นทุนต่ำกว่าไทย จากงานศึกษาของ Boyd et al. ในปี 2564 การเลี้ยงกุ้งในไทยต้องใช้พลังงานมากกว่า เอกวาดอร์ โดยการเลี้ยงในไทยใช้พลังงานเฉลี่ย 98.8 GJ ขณะที่เอกวาดอร์ใช้เฉลี่ยเพียง 56 GJ อย่างไรก็ดีต้นทุนค่าอาหารไม่แตกต่างกันมากนัก
  2. ไทยมีปัญหาโรคระบาด แม้การระบาดของโรคกุ้งจะทุเลาลงตั้งแต่ปี 2558 แต่ก็ยังไม่หมดไป ปัจจุบันเกษตรกรยังประสบปัญหาจากโรคระบาด อาทิ EMS ขี้ขาว ตัวแดงดวงขาว ต่างจากเอกวาดอร์ซึ่งเลี้ยงแบบความหนาแน่นต่ำ ทำให้โอกาสเกิดความเสียหายจากโรคน้อย และมีการขยายพื้นที่เพาะเลี้ยงใหม่อย่างต่อเนื่อง ทำให้มีปัญหาการสะสมของโรคน้อยกว่า
เปรียบเทียบการเลี้ยงกุ้งไทยและเอกวากอร์

“ความท้าทายของผู้แปรรูปกุ้งไทย”

 

  1. วัตถุดิบกุ้งมีน้อยและราคาสูงกว่าคู่แข่ง ตามต้นทุนการเลี้ยงที่สูง ส่งผลให้ราคากุ้งปากบ่อขนาด 70 ตัว/กก. ของไทยสูงกว่าคู่แข่ง (รูปที่ 5) 
ราคากุ้งปากบ่อ

2. ข้อตกลงทางการค้าที่เสียเปรียบคู่แข่ง 

 

ก่อน นโยบายกีดกันการค้า Trump 2.0

  • ในตลาดสหรัฐฯ แม้ไทยไม่โดนมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุน (AD/CVD) แต่ราคาสินค้าของคู่แข่งที่โดนคิดภาษีแล้วยังต่ำกว่าไทย เนื่องจากไทยมีต้นทุนที่สูงกว่า
  • ในตลาด EU ไทยถูก EU ตัดสิทธิ GSP ทำให้ต้องเสียภาษีสูงถึง   12 – 20% ขณะที่คู่แข่ง อาทิ อินเดีย อินโดนีเซีย ที่ได้สิทธิ GSP  เสียภาษีเพียง 4.2 - 7% เท่านั้น

หลัง นโยบายกีดกันการค้า Trump 2.0

  • คู่แข่งมีแต้มต่อมากกว่าไทย จาก Reciprocal Tariff ของไทย ซึ่งอยู่ที่ 36% สูงกว่าคู่แข่งหลักเกือบทั้งหมด ยกเว้นเวียดนาม (รูปที่ 6) ทำให้ไทยมีแนวโน้มสูญเสีย Market Share ให้คู่แข่งในตลาดสหรัฐฯ มากขึ้นไปอีก 
  • ·อุตสาหกรรมกุ้งไทยจำเป็นต้องได้รับการส่งเสริมและพัฒนาให้สอดคล้องกับโครงสร้างในปัจจุบัน จากการลงพื้นที่พบผู้ประกอบการ และเกษตรกรของธนาคารแห่งประเทศไทย ผู้เขียนได้พบตัวอย่างการพัฒนาที่เป็นรูปธรรม รวมถึงแนวทางการปรับตัวที่จะช่วยลดความเสียเปรียบ และเพิ่มโอกาสของอุตสาหกรรมกุ้งไทย ทั้งด้านการเพาะเลี้ยงวัตถุดิบกุ้ง รวมถึงการแปรรูปและส่งออก ดังนี้
อัตราภาษีการส่งออกกุ้งสหรัฐ

 

อุตสาหกรรมกุ้งไทยยังมีโอกาสการพัฒนาเพื่อไปต่อ

 

  • แม้อุตสาหกรรมกุ้งไทยต้องเผชิญความท้าทายจากปัญหาเชิงโครงสร้างหลายประการ แต่การส่งเสริมให้ตรงจุดจะช่วยสนับสนุนให้ผู้เล่นในอุตสาหกรรมที่ยังอยู่สามารถดำเนินธุรกิจและเติบโตต่อไปได้ ดังนี้
อัตราภาษีการส่งออกกุ้งสหรัฐ

 

  • ·อุตสาหกรรมกุ้งไทยจำเป็นต้องได้รับการส่งเสริมและพัฒนาให้สอดคล้องกับโครงสร้างในปัจจุบัน จากการลงพื้นที่พบผู้ประกอบการ และเกษตรกรของธนาคารแห่งประเทศไทย ผู้เขียนได้พบตัวอย่างการพัฒนาที่เป็นรูปธรรม รวมถึงแนวทางการปรับตัวที่จะช่วยลดความเสียเปรียบ และเพิ่มโอกาสของอุตสาหกรรมกุ้งไทย ทั้งด้านการเพาะเลี้ยงวัตถุดิบกุ้ง รวมถึงการแปรรูปและส่งออก ดังนี้

 

ตัวอย่างการพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะเลี้ยง

อัตราภาษีการส่งออกกุ้งสหรัฐ

 

แนวทางการพัฒนาสำหรับการแปรรูปและส่งออก

 

มุ่งเน้นตลาด Premium และสินค้าพร้อมทาน รวมถึงหลีกเลี่ยงการแข่งขันด้านราคา ผู้ประกอบการหลายรายต่างเห็นตรงกันว่าแนวทางนี้เป็นทางรอดของอุตสาหกรรมกุ้งไทย ถึงแม้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตจะช่วยลดต้นทุนได้ แต่อาจยังไม่เพียงพอสำหรับการแข่งขันในตลาดโลก นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนของนโยบายการค้าโลก การตั้งกำแพงภาษีของคู่ค้าอาจทำให้การแข่งขันด้านราคายากขึ้นไปอีก โดยอุตสาหกรรมกุ้งไทยควรชูจุดเด่นที่ไทยทำได้ดี อาทิ

 

o   กุ้งไทยมีสีเข้ม เป็นที่ต้องการของตลาด Premium ในจีน จากการที่ไทยมีองค์ความรู้ในการเลี้ยงและต้มที่ดีกว่าคู่แข่ง โดยชาวจีนนิยมบริโภคกุ้งที่ปรุงแล้วมีสีแดงเข้มสวยงามในงานสำคัญ เนื่องจากสีแดงเป็นสีมงคลตามความเชื่อของชาวจีน

o   ไทยสามารถส่งออกกุ้งมีชีวิต ซึ่งเป็นสินค้ามูลค่าสูงไปยังประเทศจีน เนื่องจากตำแหน่งที่ตั้งที่ใกล้ และมีเที่ยวบินตรงไปยังเมืองใหญ่ในจีน โดยกุ้งมีชีวิตของไทยได้รับความนิยมมากจากภัตตาคารในจีน ในปี 2567 ไทยครอง Market Share เป็นอันดับ 1 คิดเป็น ราว 72% ของการนำเข้ากุ้งกลุ่มนี้ทั้งหมดของจีน ซึ่งเป็นผู้นำเข้ากุ้งมีชีวิตรายใหญ่ที่สุดของโลก

o   ไทยมีกระบวนการแปรรูปกุ้งเป็นผลิตภัณฑ์ขั้นปลายที่หลากหลายและเป็นที่ต้องการของตลาด เช่น เกี๊ยวกุ้ง กุ้งชุบเกล็ดขนมปัง ซึ่งเป็นที่ยอมรับในด้านรสชาติและคุณภาพในตลาดต่างประเทศ สะท้อนจากสัดส่วนการนำเข้ากุ้งพร้อมทานของผู้บริโภคหลักทั้งญี่ปุ่น และ สหรัฐฯ ที่ไทยมี Market Share เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง (รูปที่ 8)

o   กุ้งไทยมีสารตกค้างต่ำ เนื่องจากไทยมีทักษะการเพาะเลี้ยงที่ดี และมาตรฐานการแปรรูปที่เข้มงวด จากข้อมูลขององค์การอาหารและยาสหรัฐฯ (FDA) ในปี 2567 กุ้งไทยมีกรณีโดนแบนจากการพบยาปฏิชีวนะค่อนข้างน้อย โดยผู้ส่งออกไทยโดนแบนเพียง 2 ราย ขณะที่ผู้ส่งออกอินเดียโดนแบน 31 ราย และผู้ส่งออกเวียดนามโดนแบน 18 ราย

รวมถึงสนับสนุนให้เกษตรกรได้รับการรับรองมาตรฐานความยั่งยืน เช่น มาตรฐาน ASC เพื่อให้มีวัตถุดิบที่สอดรับกับความต้องการของลูกค้า กลุ่ม Premium นอกจากนี้ต้องมุ่งเน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์กุ้งที่มีมูลค่าเพิ่มสูง อาทิ กุ้งปรุงแต่ง กุ้งพร้อมทาน เพื่อเพิ่มผลกำไร และสร้างจุดเด่นให้กับกุ้งไทย โดยใช้จุดแข็งที่มี Supply Chain พร้อมกว่าคู่แข่ง และต้องเน้นการประชาสัมพันธ์ว่ากุ้งไทยเป็นกุ้งคุณภาพสูง


 

บทความนี้เป็นข้อคิดเห็นส่วนบุคคล ซึ่งไม่จำเป็นสอดคล้องกับข้อคิดเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทย