อุตสาหกรรมยางพาราไทย: เร่งพัฒนา คว้าโอกาส บนความสามารถในการแข่งขันที่ลดลง
ภาวนิศร์ ชัววัลลี | กฤตยา ตรีวรรณไชย ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคใต้
27 พ.ย. 2567
ยางพารา เป็นเหมือนเส้นเลือดที่หล่อเลี้ยงเศรษฐกิจภาคใต้และไทยมาช้านาน เนื่องจากเป็นวัตถุดิบที่มีความต้องการใช้ในการผลิตสินค้าหลากหลายทั่วโลก เป็นหนึ่งใน Commodity product ที่มีตลาดซื้อขายล่วงหน้า โดยไทยมีคู่แข่งผู้ผลิตยางพาราต่างประเทศที่นับวันจะมีผลผลิตมากขึ้นเรื่อย ๆ จึงเป็นความท้าทายต่อความสามารถในการแข่งขันของไทยอย่างมาก บทความนี้จึงอยากเชิญชวนผู้อ่านร่วมเปิดมุมมองต่อสถานการณ์อุตสาหกรรมยางพาราไทยทั้งปัจจุบันและอนาคต รวมถึงสิ่งที่ไทยควรพัฒนาเพื่อให้อุตสาหกรรมยางพาราไทยยังมีบทบาทสำคัญในเวทีโลกต่อไป
4 ประเทศที่เป็นผู้ผลิตยางพาราหลักของโลก ได้แก่ 1) ไทย 2) อินโดนีเซีย 3) สาธารณรัฐโกตดิวัวร์ (Cote d’Ivoire) และ 4) เวียดนาม มีปริมาณผลผลิตยางพารารวมกันถึง 71% โดยไทยเป็นผู้ผลิตอันดับ 1 มานาน ขณะที่ Cote d’Ivoire กลายเป็นผู้ผลิตอันดับ 3 ของโลกในปี 66 เป็นปีแรก แทนเวียดนาม (รูปที่ 1)
ยางแปรรูปขั้นกลางมีมูลค่าส่งออก 8% ของสินค้ายางทั้งหมดของโลก ส่วนใหญ่ คือ ยางแท่ง 51% และยางผสม 29% ซึ่งเป็นวัตถุดิบเพื่อผลิตยางล้อเป็นหลัก ขณะที่น้ำยางข้นมีสัดส่วน 9% เป็นวัตถุดิบในการผลิตถุงมือยางธรรมชาติเป็นหลัก ทั้งนี้ ผู้ส่งออก 76% คือ ผู้ผลิตยางพาราหลักทั้ง 4 ประเทศ นำโดยไทยที่พึ่งพาการส่งออกหลักมากกว่า 1 ประเภท ขณะที่คู่แข่งพึ่งพาสินค้าประเภทเดียวมากกว่า 50% โดยอินโดนีเซีย และ Cote d’Ivoire ส่งออกยางแท่ง เวียดนามส่งออกยางผสมเป็นหลัก ทั้งนี้ จีนเป็นตลาดส่งออกหลักของทั้งไทย Cote d’Ivoire และ เวียดนาม (รูปที่ 2)
ยางแปรรูปขั้นปลายมีมูลค่าส่งออก 92% ของสินค้ายางทั้งหมดของโลก ส่วนใหญ่เป็นยางล้อ 50% มีผู้ส่งออกหลัก คือ ยุโรป และจีน มีผู้ซื้อหลัก คือ ยุโรป และสหรัฐฯ นอกจากนี้ ถุงมือยางเป็นสินค้าส่งออกสำคัญหนึ่งของสินค้ายางแปรรูปที่มีมาเลเซียเป็นเจ้าตลาดถุงมือยางของโลก มีการส่งออกถึง 62% ของมูลค่าส่งออกยางแปรรูปขั้นปลายของมาเลเซีย (รูปที่ 3)
แม้ไทยจะเป็นเจ้าตลาดในการผลิตยางผสม น้ำยางข้น และยางแผ่นรมควัน แต่ 10 ปีที่ผ่านมาไทยเผชิญความท้าทายหลายด้าน จนความสามารถในการแข่งขันของยางพาราแปรรูปลดลงในเกือบทุกสินค้า สะท้อนจากส่วนแบ่งการส่งออกในตลาดโลกที่ลดลง โดยไทยเสียส่วนแบ่งการส่งออกน้ำยางข้น และยางผสมให้เวียดนาม และส่วนแบ่งการส่งออกยางแท่งให้ Cote d’Ivoire (รูปที่ 5)
สินค้าคู่แข่ง: ยางแท่ง
สินค้าคู่แข่ง: ยางผสม และ น้ำยางข้น
สินค้าคู่แข่ง: ยางแท่ง
การใช้ยางธรรมชาติของโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทั้งจากสินค้ายางล้อ และไม่ใช่ยางล้อ โดยในปี 67-70 เติบโตสูง โดยเฉพาะสินค้าที่ไม่ใช่ยางล้อ ส่วนยางล้อขยายตัวเฉลี่ย 2% ต่อปี (รูปที่ 10) จึงยังเป็นโอกาสที่ไทยจะผลิตสินค้ายางขั้นปลายเพื่อตอบสนองความต้องการที่ยังมีต่อเนื่องในตลาดโลก เพื่อเพิ่มมูลค่าการผลิตยางพาราและลดความเสี่ยงจากการแข่งขันการผลิตสินค้ายางขั้นกลางได้ โดยใช้โอกาสจาก 2 ด้าน ดังนี้
“บทความนี้เป็นข้อคิดเห็นส่วนบุคคล ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับข้อคิดเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทย”