โอกาสและความท้าทายในฐานะ Liaison Officer


การประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน ครั้งที่ 5 ในวันที่ 2-5 เมษายน 2562 ณ จังหวัดเชียงราย ภายใต้แนวคิด “ร่วมมือ ร่วมใจ ก้าวไกล ยั่งยืน” นอกเหนือ จากบทบาทของ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในการเป็นประธานธนาคารกลางอาเซียน ซึ่งต้องผลักดันการรวมตัวทางด้านเศรษฐกิจและการเงินแล้ว บทบาทการทำ.งานของ Liaison Officer (LO) บุคลากรที่ได้รับการคัดเลือกจากสายงานต่าง ๆ ใน ธปท. เพื่อทำ.หน้าที่เป็นตัวแทนต้อนรับ และดูแลอำ.นวยความสะดวกแขกผู้มีเกียรติจากประเทศสมาชิกในภูมิภาคอาเซียน ถือเป็นอีกหนึ่งโอกาสในการทำ.หน้าที่สำ.คัญ และเป็นประสบการณ์ที่น้อยคนจะได้รับเกียรติในการทำ.หน้าที่นี้ โดย LO ในครั้งนี้แบ่งเป็น 3 ฝ่ายด้วยกัน ได้แก่ LO Governor, LO ส่วนกลาง และ LO Spouse

 

ตัวแทนทีม LO Governor ได้แก่ เอม - จารีย์ ปิ่นทอง นักวิจัยอาวุโส สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ และปั๋ม - ปวีร์ ศิริมัย เศรษฐกร สำนักเศรษฐกิจด้านอุปทานและโครงสร้าง ตัวแทนทีม LO ส่วนกลาง ได้แก่ มี่ - ชนากานต์ ชัยมัง ผู้ตรวจสอบ ฝ่ายตรวจสอบเทคโนโลยีสารสนเทศ และกอล์ฟ - ชัยศิริ ตุ้มทอง ผู้วิเคราะห์ ฝ่ายเทคโนโลยีทางการเงิน และตัวแทนทีม LO Spouse ได้แก่ พริ้ม - พริ้มเพรา กิจพาณิชย์ เศรษฐกร ฝ่ายความร่วมมือระหว่างประเทศ และอ้อม - ญาณิศา สูตรเชี่ยวชาญ เลขานุการ ฝ่ายตรวจสอบ 1 ที่จะมาร่วมแบ่งปันมุมมอง และการเตรียมพร้อมในการทำหน้าที่ LO รวมถึงความท้าทายรอบด้านในการทำงานครั้งนี้

 


LO Governor


เอม - จารีย์ ปิ่นทอง นักวิจัยอาวุโส สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

 

รู้สึกเป็นเกียรติที่ได้รับความไว้วางใจให้ทำหน้าที่ LO Governor ในการประชุมที่สำคัญครั้งนี้ เพราะการดำเนินนโยบายและสร้างความร่วมมือระหว่างธนาคารกลางในครั้งนี้ จะนำไปสู่การผลักดันนโยบายและปฏิบัติจริงของภาคการเงินในภูมิภาค ซึ่งบทบาทของ LO มีส่วนสำคัญมากในการประสานงานอยู่เบื้องหลัง และทำให้งานในภาพรวมบรรลุผลสำเร็จได้ เจ้าหน้าที่ LO ต้องเป็น Team Player และสามารถคาดเดาปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น รวมถึงแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ และที่สำคัญจะต้องเตรียมตัวล่วงหน้า ทั้งความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับแขกที่ได้รับมอบหมายให้ดูแล ประเด็นต่าง ๆ ในการประชุม ตลอดจนรายละเอียดภาพรวมของกำหนดการและสถานที่สำคัญ


ปั๋ม - ปวีร์ ศิริมัย เศรษฐกร ฝ่ายนโยบายโครงสร้างเศรษฐกิจ

 

รู้สึกภูมิใจที่ได้รับเลือกเป็น LO สำหรับการประชุมครั้งนี้ โดยเฉพาะวาระที่ประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพ จึงเป็นโอกาสสำคัญที่ประเทศไทยและ ธปท. จะแสดงศักยภาพและความเป็นมืออาชีพ ทั้งสำหรับผู้บริหารในการประชุม และสำหรับ LO Governor ที่มีหน้าที่หลักคือทำให้การประชุมครั้งนี้ผ่านไปอย่างราบรื่น เราต้องมีการเตรียมความพร้อมตั้งแต่การศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการประชุม กำหนดการ รวมถึงรายละเอียดของสถานที่จัดการประชุม และที่สำคัญคือ ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลสำคัญ (VIP) เพื่อให้เราสามารถดูแลได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ LO ที่ดีต้องมีไหวพริบและสามารถจัดการกับปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี ต้องมีสติตลอดเวลา ที่สำคัญ
การศึกษาข้อมูลที่จำเป็นจะช่วยลดความผิดพลาดได้ หรือหากเกิดปัญหาอะไรก็จะสามารถจัดการได้ดีกว่า และผมเชื่อว่าการมีโอกาสได้สังเกตการณ์การทำหน้าที่ของผู้บริหาร ธปท. ในเวทีระดับชาติในครั้งนี้จะช่วยเปิดมุมมองทางความคิดของผมให้กว้างขึ้น และสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการทำงานในด้านต่าง ๆ ต่อไปในอนาคต

 

 

 


LO ส่วนกลาง


มี่ - ชนากานต์ ชัยมัง ผู้ตรวจสอบ ฝ่ายตรวจสอบเทคโนโลยีสารสนเทศ

 

หน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย คือเป็น LO ทีมกลาง ซึ่งต้องพร้อมช่วยเหลือเพื่อน ๆ LO ท่านอื่น จึงเป็นฝ่ายที่จำเป็นต้องมีความแม่นยำเรื่องข้อมูลของงาน เช่น สถานที่ คิวงานและข้อมูลเบื้องต้นของ VIP ในภาพรวม และต้องเตรียมร่างกาย จิตใจให้พร้อมอยู่เสมอ เพราะคุณสมบัติของ LO ที่ดี นอกจากจะต้องมี Service Mind หรือใจที่ยินดี ให้บริการ และการมีภาพลักษณ์และการวางตัวที่เหมาะสมแล้ว ผู้ที่ทำหน้าที่ LO ยังต้องมีความเข้มแข็งโดยเฉพาะในเรื่องของจิตใจ ไม่ว่าจะเผชิญกับปัญหาใด ๆ ต้องพร้อมรับมือและปรับเปลี่ยนแก้ไขสถานการณ์อยู่เสมอส่วนตัวรู้สึกดีใจและรู้สึกขอบคุณพี่ๆที่มอบโอกาสให้ เชื่อว่าจะเป็นประสบการณ์ที่ดีให้ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ สร้างแรงบันดาลใจและจะตั้งใจทำหน้าที่นี้ให้ดีที่สุด


กอล์ฟ - ชัยศิริ ตุ้มทอง ผู้วิเคราะห์ ฝ่ายเทคโนโลยีทางการเงิน

 

ผมไม่เคยคิดมาก่อนว่าจะได้เข้ามามีส่วนร่วมในงานประชุมระดับนานาชาติ ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางจากประเทศสมาชิกใน ASEAN เข้าร่วมการประชุมด้วย จึงรู้สึกดีใจมากที่ได้รับโอกาสในครั้งนี้ การเป็น LO ฟังดูเหมือนเป็นงานง่าย ๆ แต่ความจริงแล้วมีความท้าทาย ถึงขั้นที่อาจส่งผลกระทบต่อความสำเร็จของการประชุมได้ ดังนั้น LO ทุกคนจึงต้องมีการเตรียมตัวในหลายด้าน ทั้งการศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องและ ติดตามแผนการจัดงานประชุมทั้งหมดอย่างละเอียด เพื่อที่จะสามารถให้ข้อมูลกับแขกได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ รวมถึงการฝึกมารยาทและทำความเข้าใจเกี่ยวกับการทำหน้าที่การเป็น LO ที่ดี ซึ่งพวกเราก็ได้รับเกียรติจากผู้แทนจากกรมพิธีการทูต กระทรวงการต่างประเทศ มาให้ความรู้ในเรื่องนี้ด้วย ตัวผมเองมองว่าคุณสมบัติที่สำคัญสำหรับการเป็น LO ที่ดี คือการมีใจรักการให้บริการและมีอัธยาศัยที่ดี ในฐานะเจ้าของบ้าน หากเราดูแลและช่วยเหลือแขกด้วยความเต็มใจและเข้าใจแล้ว แขกของเราย่อมประทับใจและมีความสุขกับการมาเยือนในครั้งนี้ นอกจากนี้ ยังช่วยให้การประชุมดำเนินไปได้อย่างราบรื่นด้วย ผมเชื่อว่าประสบการณ์ที่ได้จากการเป็น LO จะช่วยพัฒนาตัวเองในหลายด้าน ทั้งการปฏิสัมพันธ์กับผู้ใหญ่ และการรับมือกับสถานการณ์ที่ไม่คาดคิด

 

 

 

 

LO Spouse

 

พริ้ม - พริ้มเพรา กิจพาณิชย์ เศรษฐกร ฝ่ายความร่วมมือระหว่างประเทศ

 

ที่ผ่านมาได้รับโอกาสปฏิบัติหน้าที่เป็น LO ให้กับผู้ว่าการธนาคารกลางในภูมิภาคและแขกของธนาคารหลายครั้ง ทุกครั้งเราจะได้เรียนรู้และได้ประสบการณ์ใหม่ ๆ จากการสนทนากับแขกและจากการทำงานที่ต้องใช้ทักษะหลากหลายทั้งศาสตร์และศิลป์ อาทิ การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า การคาดการณ์และวางแผนล่วงหน้า การสังเกต
และรู้จักจังหวะเวลาที่เหมาะสมซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องอาศัยประสบการณ์ ในฐานะ LO การทำการบ้านล่วงหน้าเป็นการเตรียมพร้อมที่สำคัญ โดย LO ควรจะ ‘รู้เขารู้เรา’ และ ‘รู้รอบ’ กล่าวคือ ศึกษาข้อมูลที่แขกอาจสนใจและสอบถาม นอกเหนือไปจากประเด็นเกี่ยวกับแขกและการประชุม เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับ ธปท. สถานการณ์เศรษฐกิจ
การเมือง และข้อมูลรอบตัวทั่วไป เป็นต้น เพื่อสร้างความประทับใจและอำนวยความสะดวกให้กับแขกได้อย่างดีที่สุด

 

อ้อม - ญาณิศา สูตรเชี่ยวชาญ เลขานุการ ฝ่ายตรวจสอบ 1

 

รู้สึกดีใจและเป็นเกียรติมากที่ได้มีโอกาสทำหน้าที่นี้ ซึ่งเป็นการสร้างประสบการณ์และเปิดมุมมองใหม่ให้กับตัวเอง ได้พบปะผู้คน หลายเชื้อชาติ รวมถึงผู้บริหารระดับสูงของแต่ละประเทศ อีกทั้ง ยังเป็นการฝึกทักษะภาษาได้ดีอีกด้วย การเตรียมตัวสำหรับหน้าที่ LO Spouse เน้นที่การศึกษาวิธีการปฏิบัติตัว การพูด การวางตัวให้เหมาะสม เพื่อให้ดูมีความเป็นมืออาชีพและไม่ให้เกิดข้อผิดพลาด และควรมีการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลที่เราต้องดูแลในรายละเอียดส่วนตัวเบื้องต้น เช่น รูปถ่าย ชื่อจริง อาหารที่ชอบ อาหารที่แพ้ แพ้ยาอะไรหรือไม่ รวมถึงการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยว ประวัติของสถานที่สำคัญต่าง ๆ ร้านอาหารแนะนำโดยรอบ เป็นต้น ซึ่งนอกจากจะต้องเตรียมข้อมูล เหล่านี้แล้ว เราควรมีการดูแลตัวเองเช่นกัน นั่นก็คือ ควรพักผ่อนให้เพียงพอเพื่อพร้อมปฏิบัติหน้าที่ในแต่ละวัน และสิ่งที่สำคัญมากคือ การมีไหวพริบและการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่ดี เพราะเราจะต้องเผชิญหน้าอยู่กับสถานการณ์จริงที่อะไรก็สามารถเกิดขึ้นได้ นอกจากนี้ เราควรมีสติ “มีความตื่นตัวแต่ไม่ตื่นตูม” อยู่ตลอดเวลา นั่นหมายความว่า เราจะต้องมีความละเอียดรอบคอบและมีความคล่องแคล่ว ว่องไวในการทำงาน รวมถึงต้องมีการสื่อสารที่ดี สื่อความได้ชัดเจน จับประเด็นได้ตรงจุด เพื่อให้งานเป็นไปได้อย่างราบรื่น