เบื้องหลังจุดเริ่มต้นการแก้ปัญหาเศรษฐกิจไทย

การทีมผู้ส่งเสริมงานวิจัย ธปท. 

 

ความท้าทายทางเศรษฐกิจที่โลกกำลังเผชิญนั้น นับวันยิ่งซับซ้อนและทวีความรุนแรงมากขึ้น องค์ความรู้ใหม่ ๆ และข้อมูลเชิงลึกจึงมีส่วนสำคัญในการสนับสนุนงานด้านนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ให้เท่าทันกับความท้าทายได้อย่างมีประสิทธิภาพ BOT พระสยาม MAGAZINE ได้มีโอกาสพูดคุยกับตัวแทนผู้ที่รักในงานวิจัยและมีส่วนผลักดันงานวิจัยของ ธปท. และสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ ให้เป็นที่ยอมรับ โดยจะมาบอกเล่าถึงความสนใจด้านงานวิจัย และมุมมองในการผลักดันงานวิจัยให้ตอบโจทย์การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ


ดร.วราพงศ์ วงศ์วัชรา
รองผู้อำนวยการ ฝ่ายนโยบายการเงิน

 

 

"เหตุผลที่ทำให้ตัดสินใจมาร่วมงานกับ ธปท. เพราะอยากมีส่วนร่วมในการทำนโยบายที่ช่วยแก้ปัญหาปากท้องของคนไทยได้จริง ๆ ผมมองว่า งานวิจัยช่วยให้เราแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะมันคือกระบวนการหาคำตอบอย่างเป็นระบบ

 

"จุดประสงค์ในการทำวิจัยร่วมกับสถาบันวิจัยฯ ก็เพื่อยกระดับและสนับสนุนการดำเนินนโยบายของ ธปท. เป็นหลักอยู่แล้ว ผมขอยกตัวอย่าง งานวิจัยที่ผมนำเสนอในงานสัมมนาวิชาการ ธปท. ประจำปี 2559 เรื่องการสื่อสารนโยบายการเงินของธนาคารกลางต่าง ๆ ที่พบว่า การสื่อสารช่วยเพิ่มประสิทธิผลของนโยบายการเงินได้หลังจากได้เผยแพร่ผลงานวิจัยออกไป ทีมกลยุทธ์นโยบายการเงินจึงเริ่มปรับการสื่อสารให้ง่ายขึ้น ประชาชนทั่วไปก็เข้าใจได้มากขึ้น นี่คือประโยชน์ที่เอาไปปรับใช้ในงานได้จริง นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยอื่น ๆ อีกหลายชิ้นที่ถูกนำไปผลักดันให้เกิดประโยชน์เป็นรูปธรรม

 

"ตอนนี้ ธปท. กำลังริเริ่มโครงการ 3-year Research Program โดยเป็นการร่วมมือกันของหลายสายงาน มีจุดประสงค์ในการผลักดันการวิจัยเพื่อตอบโจทย์นโยบาย และผนวกให้กลายเป็นวัฒนธรรมการทำงาน ซึ่งผมรับหน้าที่เป็นโค้ชให้กับน้อง ๆ รุ่นใหม่ เพื่อถ่ายทอดทักษะและประสบการณ์ ผมเชื่อว่า องค์ความรู้ใหม่ ๆ จากโครงการนี้จะช่วยให้ ธปท. สามารถปรับตัวเพื่อรับมือกับความท้าทายจากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของระบบเศรษฐกิจการเงินในระยะ 3 ปีข้างหน้าได้"


ดร.นฎา วะสี
หัวหน้ากลุ่มงานวิจัย สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

 

 

"หลังจากเรียนจบปริญญาเอก ตัดสินใจเป็นนักวิจัยเพราะอยากเรียนรู้เครื่องมือเชิงเศรษฐมิติ (econometrics) และการทำแบบจำลองเชิงโครงสร้างเพิ่มเติม รวมถึงทักษะการเขียนโปรแกรม ช่วงนั้นได้มีโอกาสทำงานกับอาจารย์เก่ง ๆ หลายท่าน ได้เรียนรู้เทคนิคใหม่ ๆ และเห็นการนำงานวิชาการไปประกอบการทำนโยบายอย่างจริงจังในต่างประเทศ ทำให้งานวิจัยเป็นเรื่องสนุก จึงเป็นนักวิจัยและอาจารย์สายวิจัยที่ต่างประเทศมาโดยตลอด ก่อนที่จะมาร่วมงานกับสถาบันวิจัยฯ

 

"ก่อนหน้านี้คิดว่า ธปท. คงเน้นเรื่องงานวิจัยด้านนโยบายการเงินและเศรษฐศาสตร์มหภาคมากกว่า แต่พอได้มาคุยกับสถาบันวิจัยฯก็ทราบว่า ธปท. ได้ขยายขอบเขตงานวิจัยมามองเรื่องเสถียรภาพของเศรษฐกิจจากมุมกว้าง โดยรวมถึงเรื่องโครงสร้างตลาดแรงงานพฤติกรรมผู้บริโภค รวมถึงสนใจวิธีทางสถิติใหม่ ๆ ด้วย ทำให้มีโอกาสได้ทำงานที่ถนัด โดยสถาบันวิจัยฯ ก็มีการเผยแพร่งานวิจัยอย่างสม่ำเสมอ และส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้ทำนโยบายและนักวิชาการทั้งในและต่างประเทศ

 

"สำหรับน้อง ๆ ที่สนใจจะมาทำงานวิจัย คุณสมบัติของคนที่จะทำวิจัยได้ดี หลัก ๆ น่าจะเป็นสามข้อ ข้อแรก รู้จริงและซื่อสัตย์กับงาน พูดง่าย ๆ ก็คือ ไม่มั่ว ไม่สะเพร่า ข้อสอง คือ ต้องรับผิดชอบงานที่ดีไม่สามารถเกิดขึ้นได้รวดเร็ว จึงต้องไม่เบื่อง่าย และข้อสุดท้ายคือ พร้อมจะเรียนรู้เพิ่มเติมทั้งเชิงเทคนิคและขอบเขตการวิจัยความรู้ใหม่ ๆ และปัญหาใหม่ ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา การได้ทำงานที่ตัวเราเองเชื่อว่าดีและมีประโยชน์ ก็ทำให้สนุกกับงาน และเป็นการทำงานอย่างเคารพผู้อ่าน เพราะเชื่อว่าคนอ่านก็จะได้รับความรู้อะไรบ้างไม่มากก็น้อยหรือจุดประกายให้ตั้งคำถามต่อยอดได้"


ดร.พรรคธาดา ตรีรัตนพิทักษ์
ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ฝ่ายบริหารข้อมูลและดาต้าอนาไลติกส์

 

 

"ตั้งแต่เด็ก ผมหลงใหลนักสืบอย่าง แอร์กูล ปัวโร และเชอร์ล็อก โฮมส์มาก ซึ่งการเป็นนักวิจัยจริง ๆ แล้วก็คล้ายกับได้เป็นนักสืบ เราตั้งสมมติฐานขึ้นมา แล้วก็ตามเงื่อนงำไปทีละขั้นตอนให้ข้อมูลเป็นตัวเล่าเรื่อง บางทีก็มีเจอทางตันบ้าง แต่ตอนที่ 'ปริศนาทั้งหมดคลี่คลายแล้วนั้น' มันจะมีความรู้สึกอิ่มเอิบใจสุด ๆ

 

"ผมรู้สึกว่า ธปท. เป็นองค์กรที่ให้ความสำคัญกับการนำข้อมูลมาช่วยในการตัดสินใจเชิงนโยบายค่อนข้างมาก จึงอยากจะมีส่วนร่วมและเมื่อได้เข้ามาทำงานที่นี่ ก็รู้สึกเหมือนเป็นเด็กน้อยโชคดีที่ได้Golden Ticket ในเรื่อง Charlie and the Chocolate Factory เพราะไม่ว่าจะมองไปที่ไหนใน ธปท. ก็รู้สึกว่ามีข้อมูลให้เล่นเต็มไปหมด มีโจทย์หลายหลากที่สามารถเข้าไปช่วยเอาข้อมูลมาใช้ตอบปัญหา การได้มีส่วนร่วมในการนำเสนอข้อมูลอะไรบางอย่างจากงานของเรา แล้วช่วยให้ผู้บริหารสามารถนำเอาไปตัดสินใจเชิงนโยบายให้กับประเทศไทยได้ มันเป็นสิทธิพิเศษและความภูมิใจที่หาไม่ได้ง่าย ๆ จากการทำงานที่อื่น

 

"แน่นอนว่า สำนักดาต้าอนาไลติกส์อยากทำงานร่วมกับทุกฝ่ายงานใน ธปท. เพื่อนำข้อมูลมาใช้วิเคราะห์วิจัย ไม่ว่าจะเป็นการนำข้อมูลที่แต่ละฝ่ายงานมีอยู่มาร่วมกันวิจัย การเป็นที่ปรึกษาทางเทคนิคเฉพาะทาง หรือแม้แต่การหาข้อมูลใหม่ ๆ มาให้ผู้สนใจใน ธปท. ได้ใช้ ผมเชื่อว่ามีโจทย์วิจัยที่น่าสนใจซ่อนอยู่ในงานของทุกฝ่าย ซึ่งปีที่ผ่านมาโชคดีมากที่สำนักดาต้าอนาไลติกส์ ได้มีโอกาสทำงานวิจัยร่วมกับทางสถาบันวิจัยฯ เพราะการเผยแพร่งานวิจัยก็เป็นส่วนหนึ่งที่เราให้ความสำคัญและอยากมีส่วนร่วมให้มากขึ้น"


อณิยา ฉิมน้อย
ผู้วิเคราะห์อาวุโสฝ่ายนโยบายระบบการชำระเงิน

 

"เนื่องจากเป็นคนชอบคิด ชอบทำกิจกรรม ชอบริเริ่มทำอะไรใหม่ ๆประกอบกับที่มหาวิทยาลัยมีโอกาสมากมายให้ลองค้นคว้า เช่นการเขียนบทความแข่งขัน การทำงานวิจัยร่วมกับอาจารย์ ทำให้เชื่อว่า 'การเปลี่ยนแปลงทุกอย่าง สามารถเริ่มได้ที่ตัวเรา แต่สิ่งสำคัญคือเราต้องรู้จักเริ่มคิดก่อน คิดที่จะลอง คิดที่จะค้นคว้า คิดที่จะกล้าบอกความคิดของเรา ในฐานะคนรุ่นใหม่' ซึ่งการทำงานวิจัยก็ตอบโจทย์ความเชื่อในเรื่องนี้"งานวิจัยของ ธปท. เป็นส่วนสำคัญในการจัดทำนโยบายของประเทศซึ่งให้ความสำคัญกับการให้ข้อมูล (evidence-based policy) ตัวอย่างเช่น การศึกษางานวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมการชำระเงินของคนไทย ทำให้ ธปท. มีแนวทางส่งเสริมบริการการชำระเงินที่ตรงเป้าเข้าถึง และตอบโจทย์ประชาชนได้มากขึ้น อย่างบริการพร้อมเพย์และ QR code ซึ่งการศึกษาอย่างรอบด้านจะช่วยให้การผลักดันนโยบายงานวิจัยของสถาบันวิจัยฯ ทำให้เราพบว่างานวิจัยเป็นเรื่องใกล้ตัวและเรื่องที่เราเคยว่ายากเหล่านี้ หลายเรื่องมีความน่าสนใจและมีผลกระทบกับประชาชน ตัวอย่างเช่น งานวิจัยเรื่องเงินออม ที่พบว่าคนไทยยังออมน้อยและลดลงจนถึงวัยเกษียณอาจจะไม่มีเงินเก็บ

 

"งานวิจัยที่เป็นประโยชน์เหล่านี้เป็นสิ่งที่สถาบันวิจัยฯ ตั้งใจศึกษาและเผยแพร่มาตลอด 5 ปีที่ผ่านมา ทำให้วันนี้มองว่าสถาบันวิจัยฯ กลายเป็นสถาบันวิจัยเศรษฐกิจระดับแนวหน้าของประเทศที่มีเครือข่ายนักวิจัยกว้างขวางทั้งในและต่างประเทศและเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ที่สำคัญที่สุด สถาบันวิจัยฯ ได้ช่วยจุดประกายให้คนรุ่นใหม่อยากเป็นนักวิจัยมากขึ้น เหล่านี้เป็นเรื่องที่ดีกับประเทศไทยที่ยังขาดนักวิจัยอยู่มาก แม้งานสื่อสารจะเป็นเพียงส่วนเล็ก ๆ ที่ช่วยสนับสนุนความสำเร็จนี้ แต่เรายังคงต้องพัฒนารูปแบบการสื่อสารและงานวิจัยให้ตอบโจทย์ที่ท้าทายมากขึ้นต่อไป" เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสียอย่างครบถ้วน

 

"ที่ผ่านมาได้มีส่วนร่วมในการศึกษาข้อมูลการชำระเงิน ร่วมเขียนบทความวิจัยเรื่อง The Journey to Less-cash Society: Thailand's Payment System at a Crossroads และนำเสนอในงานสัมมนาวิชาการ ธปท. ประจำปี 2561 ซึ่งงานศึกษาวิจัยต่าง ๆ ที่ได้ทำในรั้วธปท. ทำให้เรามีโอกาสได้ร่วมงานกับพี่ ๆ น้อง ๆ ที่มีความสามารถจากหลายฝ่ายงาน ได้เปิดมุมมองใหม่ ๆ พร้อมกับแลกเปลี่ยนความรู้และเห็นความสำคัญของการทำวิจัยเพื่อประโยชน์ของประเทศอย่างแท้จริง"

 


มณีฉาย ไชยนุวัติ
รองผู้อำนวยการ ฝ่ายบริหารการสื่อสารองค์กร

 

"ตอนได้รับโจทย์จาก ดร.ปิติ ดิษยทัต (ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยฯในขณะนั้น) ที่ต้องการเผยแพร่งานวิจัยของสถาบันวิจัยฯผ่านสื่อมวลชนเพื่อให้สาธารณชนรู้จักมากขึ้น ยอมรับว่ามีความท้าทายสำหรับงานสื่อสารหลายประการ ประการแรกคือ งานวิจัยเป็นเรื่องเข้าใจยาก ประการที่สองคือ จะสื่อสารเรื่องที่ยากนี้ให้น่าสนใจได้อย่างไร ด้วยความที่งานวิจัยมีการใช้คำศัพท์ทางวิชาการอยู่มาก เนื้อหาค่อนข้างยาว และมักเป็นเรื่องที่ไม่อยู่ในความสนใจของคนทั่วไป จึงได้เสนอให้ปรับรูปแบบของการนำเสนอผ่านสื่อมวลชนทั้งหมด โดยให้มีการย่องานวิจัยให้สั้น กระชับใช้ภาษาที่ง่ายลง และเปลี่ยนเป็นเปิดโอกาสให้สื่อมวลชนใช้เวลาซักถามได้มากขึ้น ซึ่งรูปแบบที่ปรับปรุงใหม่นี้ ได้รับกระแสตอบรับที่ดี ทำให้สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะสื่อสารผ่านไลน์ เฟซบุ๊ค หรือเว็บไซต์ โดยสิ่งสำคัญคือต้องครอบคลุมเนื้อหาและคงความถูกต้องของงานวิจัยไว้อย่างสมบูรณ์ และประการสุดท้ายคือท่ามกลางโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว คนมีพฤติกรรมในการรับสารที่เปลี่ยนแปลงเช่นกัน เราจะปรับการสื่อสารให้เหมาะสมและเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการได้อย่างไร

 

"จากที่เคยมองว่า 'งานวิจัย' เป็นเรื่องไกลตัว คงมีแต่นักวิชาการเท่านั้นที่จะเข้าใจได้ แต่เมื่อได้มาสนับสนุนการสื่อสารงานวิจัยของสถาบันวิจัยฯ ทำให้เราพบว่างานวิจัยเป็นเรื่องใกล้ตัวและเรื่องที่เราเคยว่ายากเหล่านี้ หลายเรื่องมีความน่าสนใจและมีผลกระทบกับประชาชน ตัวอย่างเช่น งานวิจัยเรื่องเงินออม ที่พบว่าคนไทยยังออมน้อยและลดลงจนถึงวัยเกษียณอาจจะไม่มีเงินเก็บ

 

"งานวิจัยที่เป็นประโยชน์เหล่านี้เป็นสิ่งที่สถาบันวิจัยฯ ตั้งใจศึกษาและเผยแพร่มาตลอด 5 ปีที่ผ่านมา ทำให้วันนี้มองว่าสถาบันวิจัยฯ กลายเป็นสถาบันวิจัยเศรษฐกิจระดับแนวหน้าของประเทศที่มีเครือข่ายนักวิจัยกว้างขวางทั้งในและต่างประเทศและเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ที่สำคัญที่สุด สถาบันวิจัยฯ ได้ช่วยจุดประกายให้คนรุ่นใหม่อยากเป็นนักวิจัยมากขึ้น เหล่านี้เป็นเรื่องที่ดีกับประเทศไทยที่ยังขาดนักวิจัยอยู่มาก แม้งานสื่อสารจะเป็นเพียงส่วนเล็ก ๆ ที่ช่วยสนับสนุนความสำเร็จนี้ แต่เรายังคงต้องพัฒนารูปแบบการสื่อสารและงานวิจัยให้ตอบโจทย์ที่ท้าทายมากขึ้นต่อไป"

 

>> ดาวน์โหลด PDF Version
>> อ่าน e-Magazine