กุลยา ตันติเตมิท ผู้อำนวยการ สศค. "คลังสมอง" ของมาตรการเยียวยาแห่งรัฐ

กุลยา ตันติเตมิท

 

"เราไม่ทิ้งกัน" "เรารักกัน" "เราชนะ" "เราเที่ยวด้วยกัน" จนถึง "คนละครึ่ง" ช๊อปดีมีคืน" และ "ยิ่งใช้ยิ่งได้" เหล่านี้เป็นชื่อโครงการภายใต้มาตรการเยียวยาฟื้นฟูผู้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด 19 ที่รัฐบาลออกมาในช่วง 1 ปีกว่า หลายโครงการได้รับผลตอบรับดีจนสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้ตามคาด BOT พระสยาม MAGAZINE ฉบับนี้ จึงขอพามาพูดคุยกับ คุณกุลยา ตันติเตมิท ผู้อำนวยการ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) องค์กรคลังสมองแห่งชาติ (Think Tank) กับภารกิจในการออกแบบนโยบายและผลักดันมาตรการความช่วยเหลือต่าง ๆ เพื่อกู้เศรษฐกิจไทยและความเป็นอยู่ของประชาชนให้ครอบคลุมมากที่สุด เพื่อช่วยคนไทยให้ผ่านช่วงเวลาแห่งความลำบากนี้ไปด้วยกัน โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง

 

 

รัว "กระสุน" กระตุ้นเศรษฐกิจลด "COVID-19 Shock"

 


 

"ตั้งแต่เกิดการระบาดของโควิด 19 ระลอกแรก เมื่อต้นปี 2563 รัฐบาลก็พยายามลดผลกระทบต่อประชาชนและภาคธุรกิจด้วยหลากหลายมาตรการโดยแบ่งกว้าง ๆ เป็นมาตรการการคลัง มาตรการภาษี และมาตรการการเงินมาตรการทางการคลังเริ่มแรกคือ 'เราไม่ทิ้งกัน' โดยเราพยายามดูให้ครอบคลุมผู้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดรวมถึงกลุ่มผู้มีรายได้น้อยและกลุ่มเปราะบาง จากนั้นไม่นานก็มีชุดมาตรการตามออกมา เพื่อดูแลการลดภาระค่าครองชีพของประชาชน" คุณกุลยาเปิดประเด็น

         

สำหรับ "กระสุนทางการเงิน" นอกจากมาตรการที่ออกโดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) คุณกุลยาเล่าว่ามีหลายมาตรการการเงินที่ สศค. ร่วมกับ ธปท. ดึงกระทรวงการคลังมาช่วยขับเคลื่อนให้มาตรการช่วยเหลือเยียวยาสัมฤทธิ์ผลมากขึ้น เช่น มาตรการซอฟต์โลน มาตรการสินเชื่อฟื้นฟูฯ และมาตรการพักทรัพย์ พักหนี้ นอกจากนี้ ยังมีอีกหลายมาตรการที่ทำผ่านสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (SFIs) เพื่อบรรเทาภาระหนี้และเสริมสภาพคล่องให้กับลูกหนี้

         

"กระสุุนด้านภาษี" คือมาตรการบนหลักการ "เลื่อน - เร่ง - ลด - จูงใจ" ได้้แก่ "เลื่อน" การยื่นแบบชำระภาษีทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล "เร่ง" การคืนภาษี โดยเฉพาะภาษีมูลค่าเพิ่มให้กับผู้ประกอบการ "ลด" อัตราภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง รวมทั้ง "จูงใจ" ทางด้านภาษีให้แก่ผู้ประกอบการที่่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการควบคุมสถานการณโควิด 19 เช่นผู้ผลิตหน้ากากอนามัย ผู้นำเข้าเครื่องมือวินิจฉัยหรือรักษาโควิด 19 

 

ผู้ประกอบการ

 

ส่วนกระสุนการคลังเรียกได้ว่า เป็น "พระเอก" และเป็นมาตรการที่่ประชาชนให้้ความสนใจและการตอบรับอย่างสูง เพราะเป็นการ "เพิ่มเงินในกระเป๋า" ให้กับประชาชนโดยตรง โดยมีีทั้งแบบที่่รัฐเติมเงินให้้ใช้้จ่ายได้้เลย เช่น "เราชนะ" "เรารักกัน" และแบบที่่ประชาชนต้องร่วมจ่าย (co-pay) เช่น"คนละครึ่ง" "เราเที่ยวด้วยกัน" ซึ่งมาตรการ co-pay ออกมาในช่วงหลังที่่มีการผ่อนคลายล็อกดาวน์์และธุรกิจเริ่มกลับมา เพื่อกระตุ้นการบริโภคของภาคประชาชน

         

"ถ้าถามว่่าแต่่ละมาตรการเน้นจุดไหนมาตรการภาษีีและมาตรการการเงินเราเน้นเพิ่มสภาพคล่องให้้ประชาชนและธุรกิจ เพราะสภาวะเศรษฐกิจแบบนี้สภาพคล่องเป็นสิ่งจำเป็น ขณะที่่มาตรการการคลังเน้นให้้ความช่วยเหลือผู้้ที่่ เดือดร้อนอย่างครอบคลุม ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นคนส่วนใหญ่่ของประเทศเพราะวิกฤตครั้งนี้สร้างความลำบากให้กับทุกคน"

         

คุณกุลยาเชื่อว่าทุกโครงการที่่รัฐบาลระดมออกมาในช่วงปีที่แล้ว ทั้ง "เราไม่ทิ้งกัน" "เรารักกัน" "เราชนะ" ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่กลุ่มผู้มีรายได้น้อย ได้แก่ กลุ่มผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ กลุ่มเปราะบางหรือผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือ เป็นพิเศษกลุ่มเกษตรกร และกลุ่มผู้ประกันตนตามมาตราต่าง ๆ รวมเป็นประชากรมากกว่า 40 ล้านคน นอกจากนี้ ยังมีโครงการอย่าง "คนละครึ่ง" ที่เข้ามาช่วยลดภาระค่าครองชีพในแต่ละวัน และ "ช้อปดีมีคืน" ซึ่งประชาชนที่่มีกำลังซื้อสามารถเข้าร่วมโครงการได้ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจ

         

"การช่วยเหลือของรัฐบาลครอบคลุมเกือบทุกกลุ่มประชากรเป้าหมาย ซึ่งมาตรการต่าง ๆ ที่่ออกมาในปี 2563 ทั้งมาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด 19 มาตรการรักษาระดับการบริโภคภายในประเทศ รวมถึงมาตรการในช่วงคลายล็อกให้มีการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้ มีส่วนช่วยให้้ GDP ของปี 2563 ติดลบเพียง 6.1% ซึ่งหดตัว น้อยกว่าที่่หลายฝ่าย รวมถึง สศค. คาดไว้"

 

 

บทเรียนระลอกแรกกับพัฒนาการของมาตรการล่าสุด

 


 

ช่วงไตรมาส 3 - 4 ของปีี 2563 เศรษฐกิจไทยดูเหมือนกำลังจะเห็นสัญญาณฟื้นตัว แต่่แล้วก็ต้องสะดุดเมื่อเกิดการระบาดระลอก 2 ช่วงปลายปีี และหดตัวอย่างหนักเมื่อเกิดระลอก 3 ช่วงต้นปี 2564 ซึ่งรอบนี้ส่งผลกระทบรุนแรงเป็นวงกว้าง และยาวนานกว่าจะควบคุมได้้แต่่ด้วยประสบการณ์์ในการดำเนินมาตรการในระลอกแรก จึงทำให้้ สศค. สามารถดำเนินมาตรการเพื่อบรรเทาภาระให้้แก่่ผู้ได้รับผลกระทบจากการระบาดระลอกหลังได้้อย่างรวดเร็วและครอบคลุมมากขึ้น

         

"ด้วยความเร่งด่วนในการช่วยเหลือเยียวยา ทำให้้ 'เราไม่ทิ้งกัน' ที่ออกมาในช่วงแรกมีผู้ร้องเรียนค่อนข้างมาก เพราะฐานข้อมูลที่ใช้คัดกรองผู้มีสิทธิ์จากหลายหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องไม่มีการอัปเดต ทำให้ผู้ที่ได้รับผลกระทบบางคนไม่ถููกนับรวมในความช่วยเหลือ อีกทั้งข้อจำกัดที่ต้องลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ ทำให้กลุ่มที่ไม่มีสมาร์ทโฟน ไม่มีสัญญาณ อินเทอร์เน็ตและไม่มีทักษะดิจิทัลเข้าไม่ถึงความช่วยเหลือ

         

"เราตระหนักถึงปัญหา inclusion error และ exclusion error จึงมีการถอดบทเรียนโดยเปลี่ยนมาใช้ระบบคัดกรองแบบ negative list โดยดูจากฐานรายได้และสินทรัพย์ที่มีรวมถึงสวัสดิการที่มีรองรับ เช่น ต้องไม่เป็นข้าราชการ หรือมีรายได้ไม่ถึง 3 แสนบาทต่อปี เพื่อให้การคัดกรองเร็วขึ้น และการช่วยเหลือมีความครอบคลุมผู้ที่ควรได้รับและมีความเดือดร้อนมากกว่าโดยเปรียบเทียบ การร้องเรียนก็ลดลง"

         

สำหรับมาตรการลดค่าครองชีพและฟื้นฟูเศรษฐกิจที่จะเริ่มใช้ในช่วงเดือนกรกฎาคม - ธันวาคม 2564 เพื่อช่วยสนับสนุนเศรษฐกิจในช่วงครึ่งหลังของปี 2564 ประกอบด้วย (1) โครงการเยียวยาผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ครอบคลุมผู้มีรายได้น้อยที่ถือบัตรฯ 13.6 ล้านคน (2) โครงการเยียวยาผู้ต้องการความช่วยเหลือพิเศษครอบคลุมคนไทย 2.5 ล้านคน ทั้ง 2 โครงการจะได้รับเงินช่วยเหลือ 200 บาทต่อเดือน จนครบ 1,200 บาท (3) "คนละครึ่ง" เฟส 3 โดยรัฐจะสนับสนับสนุนวงเงินให้วันละไม่เกิน 150 บาท จนครบ 3,000 บาท กลุ่มเป้าหมายประมาณ 31 ล้านคน และ (4) "ยิ่งใช้ยิ่งได้" โครงการใหม่ที่มีจุดประสงค์์เพื่อกระตุ้นการบริโภคผ่านผู้มีกำลังซื้อและสนับสนุนผู้ประกอบการที่่อยู่่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) โดยรัฐจะสนับสนุน e - voucher เมื่อซื้อสินค้าและบริการกับผู้ประกอบการที่จด VAT โดยวงเงินใช้จ่ายที่นำมาคำนวณสิทธิ์สูงสุด 60,000 บาท และรับสิทธิ์ e - voucher สะสมสูงสุดไม่เกิน 7,000 บาทต่อคน ตลอดระยะเวลาโครงการ

 

คนละครึ่ง
มาตรการภาษี

 

"ทั้ง 4 โครงการนี้้ คาดว่ารัฐบาลจะต้องใช้้เม็ดเงิน 1.4 แสนล้านบาท แต่่จะกระตุ้นเม็ดเงินเข้าสู่่ระบบเศรษฐกิจได้้ถึงประมาณ 4.7 แสนล้านบาท ครอบคลุมประชากรกลุ่มเป้าหมาย 51 ล้านคน มาตรการชุดนี้เราดีีไซน์เพื่อให้้ครอบคลุมทุกกลุ่มคนจริง ๆ เพราะประชากรไทยที่่ถือสัญชาติิไทยมีี 65 ล้านคนหักประชากรอายุุต่ำกว่า 18 ปี จำนวน 14 ล้านคน นอกจากนี้ ยังครอบคลุมผู้ประกอบการตั้งแต่่หาบเร่่แผงลอยไปถึงห้างร้านขนาดใหญ่่คิดว่าครอบคลุมมากที่่สุดแล้วในการช่วยเพิ่มกำลังซื้อให้้ประชาชนทุกกลุ่ม และกระตุ้นการบริโภคให้้กลับมาในครึ่งหลังของปีนี้"

 

 

เยียวยาระยะสั้น ควบคู่ฟื้นฟูเศรษฐกิจไทยระยะยาว

 


 

คุณกุลยาเล่าว่า หากไม่่เกิดการระบาดระลอกที่่ 2 และ 3 มาตรการของรัฐบาลตามที่่วางแผนไว้้จะมุ่งเป้าไปที่่การกระตุ้นการลงทุุนภาคเอกชนเพื่อฟื้นฟููเศรษฐกิิจ ควบคู่่ไปกับมาตรการยกระดับโครงสร้างเศรษฐกิจ ไทย เพื่อการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน และเพิ่มความสามารถในการทำมาตรการการคลังในระยะยาว แต่่หลังการระบาดระลอก 3 มาตรการฟื้นฟูในระยะยาวอาจสะดุดไปบ้าง เพราะต้องแบ่่งงบประมาณในส่วนนี้เพื่อมาบรรเทาผลกระทบให้้กับประชาชน

 

กุลยา ตันติเตมิท
วิกฤติ

 

"เมื่อมีีการระบาดขึ้นมาอีก การดำเนินมาตรการเยียวยาก็็จะเป็นทางเลือกแรก เพื่อประคับประคองการดำรงชีพของประชาชนเราก็หวังว่าจะไม่่มีีระลอกใหม่อีก เพื่อที่่จากนี้ไปเราจะได้้เดินหน้ามาตรการเร่งการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจให้้เต็มที่่ โดยมาตรการระยะต่อไปคงเน้นกระตุ้นการกิจกรรมทางเศรษฐกิจซึ่งมีีทั้งที่่เคยใช้้แล้วเห็นผลอย่าง 'คนละครึ่ง' และมาตรการใหม่่ เช่น 'ยิ่งใช้้ยิ่งได้้' เพื่อกระตุ้นการบริโภคระยะสั้นอย่างรวดเร็ว"

         

สำหรับการฟื้นฟูเศรษฐกิจในระยะปานกลางและระยะยาว คุณกุลยามองว่า แนวทางการฟื้นฟูเศรษฐกิจไทยในระยะข้างหน้ายังมีีความท้าทายในเรื่องของการควบคุมการระบาดของโควิด 19 ที่่ยังต้องติิดตามอย่างใกล้้ชิดรวมถึงความสำเร็จในการกระจายการฉีดวัคซีนอย่างทั่วถึง เพื่อให้้กิจกรรมทางเศรษฐกิจกลับมาอยู่่ในสภาวะปกติิ หลังจากนั้นจงสร้างแรงจูงใจให้้ภาคการผลิตหันมาพัฒนาสินค้าและบริการที่่รองรับความต้องการของตลาดที่เปลี่ยนไป เหมาะสมกับสังคมหลังสถานการณ์์โควิด 19 คลี่่คลายบนฐานวิถีชีวิตใหม่่ (new normal) สนับสนุนการลงทุนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน รวมถึงปรับโครงสร้างเศรษฐกิจไทยให้้เกิดสมดุลในการพึ่งพาระหว่างเม็ดเงินการท่องเที่ยวจากต่างชาติิกับการใช้้จ่ายภายในประเทศ

         

"นอกจากต้องแก้้ปัญหาเร่งด่วนเฉพาะหน้า สศค. ก็็ยังต้องมองไปข้างหน้า วิกฤตครั้งนี้ทำให้้เห็นว่าช่วงที่่เศรษฐกิจเดินไม่่ได้้หรือมีีข้อจำกัด มาตรการการคลังมีีบทบาทสำคัญ โดยเฉพาะการบรรเทาผลกระทบทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม แต่่การจะมีีภาระการคลัง โดยที่่ฐานะการคลังยังมั่นคงอยู่่ได้้เราจำเป็นต้องเพิ่มประสิทธิิภาพในการจัดเก็บและปฏิรูปโครงสร้างภาษีี รวมถึงพัฒนาการบริหารจัดการทรัพย์์สินของรัฐอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้้เกิดความยังยืนทางการคลังในการรองรับภาระรายจ่ายที่่จะเกิดขึ้นในอนาคต"

         

ผู้้อำนวยการ สศค. กล่าวว่า การปฏิรูปภาษีี (Reform) เป็นหนึ่งใน "3R" ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญที่่ช่วยลดความเสี่ยงทางการคลังในระยะปานกลางและระยะยาว ถัดมาคือ Reshape ได้้แก่่ การจัดสรรงบประมาณลงทุน โดยเฉพาะโครงการที่่ก่อให้้เกิดการกระจายความเจริญไปยังภูมิภาค สนับสนุนโครงการที่่ก่อให้้เกิดการใช้้จ่ายในระดับพื้นที่่และปรับลดรายจ่ายที่่ไม่่จำเป็น และ Resilience ซึ่งได้้แก่่ การบริหารหนี้สาธารณะให้้มีีความเสี่ยงต่ำภายใต้้ต้นทุนที่่เหมาะสม เพื่อเพิ่มความสามารถในการรองรับสถานการณ์์ที่่ไม่่คาดคิดได้้ดีียิ่งขึ้น

 

 

ท้าทายที่สุดในชีวิตการทำงาน

 


 

คุณกุลยายอมรับว่า การทำหน้าที่่ผู้้อำนวยการ สศค. หน่วยงานสำคัญที่่ทำหน้าที่่เสนอแนะและออกแบบนโยบายสำคัญของประเทศ ทั้งนโยบายการเงิน นโยบายการคลัง นโยบายภาษีี นโยบายต่างประเทศ นโยบาย การลงทุน ฯลฯ โดยที่่ผ่านมา งานหลักมักเป็นการออกแบบนโยบายในเชิงวิชาการ แต่่การออกแบบนโยบายภายใต้้วิกฤต โดยเฉพาะวิกฤต โควิด 19 ที่่มีีผลกระทบที่รุนแรง กินวงกว้าง และกินระยะเวลานาน อีกทั้งยังมีีปัญหาเฉพาะหน้าที่่ต้องแก้้ไขเร่งด่วนอยู่่ตลอดเวลา จึงถือเป็นช่วงเวลาที่่ท้าทายที่่สุดในชีวิตการทำงานของเธอแล้ว

 

ผู้ประกอบการ

 

"วิกฤตครั้งนี้กระทบทุกภาคส่วนและทุกคนเลยก็็ว่าได้้ เมื่อคนที่่ถููกกระทบมีีอยู่่เป็นวงกว้างรัฐบาลจำเป็นต้องเร่งดู แลให้้ทั่วถึงทุกกลุ่ม สิ่งที่่ท้าทายในการทำงานคือ ทำอย่างไรให้้นโยบายที่่ออกมาทำได้้เร็ว ครอบคลุมผู้้ที่่ควรได้้รับความช่วยเหลือ เข้าใจง่าย และถูกต้องมากที่่สุดที่่สำคัญคือต้องไม่่ละเลยความสมดุลของเศรษฐกิจในระยะปานกลาง และระยะยาว นอกจากนี้ การที่่ สศค. เป็นหน่วยงานที่มีีข้าราชการอยู่่ไม่่เกิน 300 คน ทำหน้าที่่ออกแบบนโยบาย  แต่่ภายใต้้วิกฤตโควิด 19 เราต้องมาปฏิบัติิด้วย แถมยังต้องทำงานแข่งกับเวลาเพราะมีีคนเดือดร้อนจำนวนมาก นี่่จึงเป็นอีกความท้าทายสำคัญ"

         

ผู้้อำนวยการ สศค. ย้ำว่า  ภายใต้้สถานการณ์์การแพร่่ระบาดของโควิด 19 การดำเนินมาตรการด้านเศรษฐกิจควบคู่่ไปกับมาตรการด้านสาธารณสุขมีความสำคัญอย่างมากในภารกิจการประคับประคองเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ของประชาชน

         

"ถ้าภายในปีนี้ รัฐบาลกระจายการฉีดวัคซีนได้ทั่วประเทศ เราก็ค่อนข้างมั่นใจว่า เศรษฐกิจปีหน้าจะกลับมาในทิศทางที่ดีขึ้นได้ เพราะการท่องเที่ยวจากต่างชาติน่าจะเริ่มกลับมาอย่างน้อย 50% เพราะตอนนี้รัฐบาลก็ได้เริ่่มทำภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์เป็นจังหวัดต้นแบบในการเปิดรับการท่องเที่ยวจากต่างประเทศ ถ้าทุกอย่างราบรื่นก็จะขยายผลไปจังหวัดอื่นที่เป็นเมืองท่องเที่ยวสำคัญ ฉะนั้นปีหน้าเราก็น่าจะเริ่มคาดหวังการเติบโตทางเศรษฐกิจจากการท่องเที่ยวได้บ้าง"

         

คุณกุลยาฝากบทเรียนสำคัญที่เธอได้รับจากการทำงานภายใต้สถานการณ์โควิด 19 คือ "ฐานข้อมูล" ที่อัปเดตและสามารถเชื่อมโยงกับหน่วยงานอื่นได้ ถือเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมากในการวิิเคราะห์และออกแบบนโยบายเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในช่วงวิกฤต ยิ่งข้อมูลมีความลึกและมีพลวัตการให้ความช่วยเหลือก็จะยิ่งถูกต้อง รวดเร็ว และครอบคลุม

         

"ฐานข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญที่แต่ละหน่วยงานภาครัฐจะต้องออกแบบระบบการจัดเก็บให้ดี และต้องมองภาพระยะยาว เพื่อที่ในอนาคต หากเกิดวิกฤตเราจะสามารถจำแนกความ ช่วยเหลือตามกลุ่มเป้าหมายได้อย่างเหมาะสม ถูกต้อง และรวดเร็วในการหยิบข้อมูลออกมาดำเนินโยบายหรือมาตรการ โดยไม่ต้องมีใครถูกทิ้งไว้ข้างหลัง"