รายงานการประเมินเสถียรภาพระบบการเงิน ประจำไตรมาส 3/2566

ภาพรวมระบบการเงิน

    ระบบการเงินไทยโดยรวมยังมีเสถียรภาพ แต่ความเสี่ยงด้านเสถียรภาพระบบการเงิน (Financial stability risk) ที่ควรติดตามในระยะต่อไป ได้แก่ (1) ความสามารถในการชำระหนี้ที่ลดลงของครัวเรือนและธุรกิจบางกลุ่มที่ยังเปราะบาง ทั้งนี้ สง.บริหารจัดการได้และจะไม่นำไปสู่หนี้เสียที่เพิ่มสูงแบบก้าวกระโดด (NPL cliff) (2) ภาคธุรกิจระดมทุนผ่านตลาดตราสารหนี้ด้วยต้นทุนที่สูงขึ้นและอาจระดมทุนได้ยากขึ้น อย่างไรก็ดี ปัจจุบันตลาดการเงินยังมีเสถียรภาพ การออกตราสารหนี้ใหม่โดยรวมยังคงทำได้ตามปกติ และ (3) ความสามารถในการทำกำไรและสภาพคล่องของ Non-bank บางรายลดลงจากต้นทุนที่สูงขึ้น อย่างไรก็ดี Non-bank ส่วนใหญ่ยังมี retained earnings เพียงพอที่จะรองรับความเสี่ยงได้

รายงานประจำไตรมาส 3 ปี 2566

2. ภาคธุรกิจ

- ธุรกิจขนาดใหญ่: มีความสามารถในการชำระหนี้ลดลงเล็กน้อย ขณะที่ความสามารถในการทำกำไรโดยรวมทรงตัว โดยภาคการผลิตปรับดีขึ้นเล็กน้อยใน sector ที่ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากต้นทุนวัตถุดิบที่ปรับลดลงและอุปสงค์ในประเทศที่ปรับดีขึ้น อาทิ เคมีภัณฑ์ สวนทางกับกำไรในภาคการผลิตอื่นๆ ขณะที่ ภาคบริการที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวได้รับผลกระทบจาก low season

- SMEs: ฐานะการเงินยังเปราะบางและสินเชื่อ SMEs หดตัวจากการทยอยชำระคืนหนี้ หลังเร่งขยายตัวต่อเนื่องเพื่อเสริมสภาพคล่องในช่วงโควิด โดยเฉพาะ sector ที่เกี่ยวข้องกับการค้าและการผลิต ซึ่งส่วนหนึ่งได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวช้า โดย ธพ. ยังให้ความช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง