ปาฐกถาพิเศษ

หัวข้อ “ก้าวต่อไปของเศรษฐกิจการเงินไทย”

 

โดย

 

นางอลิศรา มหาสันทนะ

รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพการเงิน

 

 

 

ก้าวต่อไปของเศรษฐกิจการเงินไทย

 

ภาพของเศรษฐกิจการเงินภายใต้โลกใหม่ที่การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเร็ว มีความไม่แน่นอนสูง มีความเสี่ยงใหม่ ๆ ที่เราไม่คุ้นชิน คาดเดาได้ยาก และประเมินผลกระทบได้ยาก หากจะทำให้เศรษฐกิจไทยในระยะต่อไปมีการเจริญเติบโตที่ยั่งยืน ต้องมี resilience 

 

องค์ประกอบของ resilience และการดำเนินนโยบายของ ธปท. 

 

1. มีเสถียรภาพ (stability) ปัจจุบันเศรษฐกิจโลกเสี่ยงสูงขึ้น ส่วนเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวได้ต่อเนื่อง การรักษาเสถียรภาพจึงเป็นหัวใจของการทำนโยบาย คือการปรับดอกเบี้ยนโยบายกลับสู่ระดับปกติ เพื่อให้เศรษฐกิจโตสอดคล้องกับศักยภาพ และให้สถาบันการเงินกลับมาใช้เกณฑ์ปกติ จากที่ได้ผ่อนปรนให้ในช่วงโควิด-19

 

2. มีภูมิคุ้มกัน (buffer) และมีทางเลือกอื่น ๆ (option) เพื่อช่วยกระจายความเสี่ยง และรองรับ shock หมายถึง ฐานะการเงินของภาคส่วนต่าง ๆ เช่น ครัวเรือน ธุรกิจ สถาบันการเงิน ภาครัฐ เข้มแข็ง เพื่อไว้รองรับ shock ที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น ธปท. เร่งแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนอย่างยั่งยืน ครบวงจรหนี้ ส่วนทางเลือกอื่น ๆ ไว้ใช้ทดแทน เช่น หากระบบ payment หลักเกิดปัญหา สามารถใช้ระบบทางเลือกอื่นได้ โดย ธปท. มีการศึกษาและพัฒนาระบบ cross border payment เชื่อมโยงระบบ retail payment กับประเทศในภูมิภาคเพื่อเป็นทางเลือก

 

3. เติบโตจากโอกาสใหม่ (digital & transition) ถ้าเติบโตแบบในอดีต หรือพึ่งเครื่องยนต์เศรษฐกิจแบบเก่า เศรษฐกิจไทยจะโตได้ไม่ทั่วถึง ไม่ยั่งยืน กำไรกระจุกตัวอยู่ในบริษัทใหญ่ การใช้เทคโนโลยี digital จะช่วยเพิ่มโอกาสใหม่ ๆ ทางธุรกิจ หรือเพิ่มการเข้าถึงบริการทางการเงิน เช่น ประชาชนและธุรกิจสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลของตน หรือ digital footprint ที่อยู่กับผู้ให้บริการต่าง ๆ ก้าวต่อไปของภาคเหนือ ต้องรู้จุดอ่อน เติมจุดแข็ง เพื่อยกระดับเศรษฐกิจในพื้นที่ภาคเหนือ 

 

 

  • “ภาพของเศรษฐกิจการเงินภายใต้โลกใหม่ที่การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเร็ว มีความไม่แน่นอนสูง มีความเสี่ยงใหม่ ๆ ที่เราไม่คุ้นชิน คาดเดาได้ยาก และประเมินผลกระทบได้ยาก หากจะทำให้เศรษฐกิจไทยในระยะต่อไปมีการเจริญเติบโตที่ยั่งยืน ต้องมี resilience”

อลิศรา มหาสันทนะ
รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพการเงิน
ธนาคารแห่งประเทศไทย

2566-minisym-gov1

10 ปีที่ผ่านมา ภาคเหนือมีการเติบโตที่ชะลอลง

 

  • “รู้จุดอ่อน” ปัจจัยสำคัญที่มีผลให้เศรษฐกิจภาคเหนือขยายตัวชะลอลง คือ (1) การพึ่งพาภาคการเกษตร ซึ่งเป็นภาคที่เผชิญความผันผวนสูง (2) ภาคอุตสาหกรรมยังเป็นแบบเก่า ไม่มีอุตสาหกรรมที่สร้างรายได้มูลค่าสูงเกิดขึ้นใหม่ ส่วนใหญ่ยังเป็นอุตสาหกรรมแปรรูปเกษตร และ (3) ผลบวกจากภาคการท่องเที่ยวและบริการที่ยังไม่ฟื้นตัวกลับมาเท่าในอดีต แม้เศรษฐกิจระยะหลังถูกขับเคลื่อนด้วยภาคบริการมากขึ้นแต่ยังกระจุกตัวอยู่เพียงไม่กี่จังหวัด

  • การ “ยกระดับ” และพัฒนาเศรษฐกิจเหนือในระยะต่อไป ควรมุ่งไปในทิศทางที่สอดคล้องและตอบโจทย์โลกใหม่ โดยเฉพาะกระแสดิจิทัล (Digital) และกระแสความยั่งยืน (Sustainability) อุตสาหกรรมใหม่ ที่ตอบโจทย์เศรษฐกิจหมุนเวียนและเศรษฐกิจสีเขียว เพื่อมุ่งเป้าหมายสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน โดยใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมเป็นตัวขับเคลื่อน โดยสร้างมูลค่าเพิ่มผ่านการยกระดับและเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจฐานราก

  • การท่องเที่ยวมูลค่าสูงอย่างยั่งยืน ซึ่งรวมถึงการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ (Creative Tourism) จากพฤติกรรมนักท่องเที่ยวทั่วโลกที่ต้องการเรียนรู้วัฒนธรรมท้องถิ่นมากขึ้น และการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Wellness Tourism)

  • เพื่อเข้าถึงสินเชื่อได้ง่ายขึ้น โดย ธปท. สนับสนุนโดยการพัฒนา infrastructure สำหรับ digital payment สนับสนุนเการเปิดเผยข้อมูลในการ และเปิดกว้างการแข่งขัน โดยเฉพาะด้าน FinTech นอกจากนี้ ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมเป็นโอกาสให้ธุรกิจได้ประโยชน์มากขึ้น เช่น เกษตรอินทรีย์ ที่สามารถขยายตลาดไปยังผู้บริโภคที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม หรือการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่จะได้รับความนิยมมากขึ้น โดยได้วางรากฐาน 5 building blocks เช่น taxonomy ภาคพลังงาน ขนส่ง และกำหนด standard practice ให้สถาบันการเงินแล้ว

  • บทบาทของธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ (ธปท.สภน.) ที่มีส่วนผลักดันเศรษฐกิจภูมิภาคและตอบโจทย์พื้นที่ ที่สำคัญ คือ

          1. สะท้อนข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็นของภาคธุรกิจในพื้นที่จากการพบปะหารือผู้ประกอบการ สู่การดำเนินนโยบายการเงิน และนโยบายด้านเศรษฐกิจ
 

          2. ให้ข้อมูลเศรษฐกิจแก่ประชาชนและภาคธุรกิจ เพื่อให้ภาพพัฒนาการเศรษฐกิจที่ชัดเจน สามารถนำไปวิเคราะห์ และมองไปข้างหน้าเพื่อวางแผนได้ รวมทั้งพยายามตอบโจทย์การพัฒนาพื้นที่ในประเด็นต่าง ๆ
 

          3. ขับเคลื่อนนโยบายและมาตรการของ ธปท. สู่การปฏิบัติ ผ่านการร่วมมือกัน (collaboration) ระหว่าง ธปท.สภน. กับทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการศึกษา และภาคประชาชน เพื่อขับเคลื่อนนโยบายผ่านกลุ่มเป้าหมายต่างๆ ให้ได้รับประโยชน์ในเชิงลึกและเป็นวงกว้างมากขึ้น

2566-minisym-gov2