สัมมนาวิชาการสัญจร สำนักงานเหนือ ประจำปี 2567

“10 ปี การค้าชายแดนกับความสำคัญต่อพัฒนาการเศรษฐกิจภูมิภาค”

ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ (ธปท.) และสำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (มฟล.) ได้จัดงานสัมมนาวิชาการสัญจร ประจำปี 2567 ในหัวข้อ “10 ปี การค้าชายแดนกับความสำคัญต่อพัฒนาการเศรษฐกิจภูมิภาค” ในวันพฤหัสบดีที่ 30 พฤษภาคม 2567 เวลา 09.00-13.30 น. ณ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย โดยมีผู้เข้าร่วมการสัมมนาจากหน่วยงานและองค์กรภาคเอกชน ภาครัฐ และภาคธุรกิจ ในจังหวัดเชียงราย 

กำหนดการ 

2567-semina-schedule-new

 

งานสัมมนาแบ่งเป็น 2 ช่วง

 

 

ช่วงที่ 1 “ชวนคิด”

 

โดยวิทยากรจาก ธปท. และ มฟล.  นำเสนอข้อมูลและมุมมองเชิงวิชาการในหัวข้อ “10 ปี การค้าชายแดนกับความสำคัญต่อพัฒนาการเศรษฐกิจภูมิภาค: อดีตที่ผ่านไปกับความท้าทายใหม่ที่กำลังจะมา” สรุปประเด็นสำคัญได้ดังนี้

 

เศรษฐกิจภาคเหนือเติบโตต่อเนื่อง แม้ชะลอลงในช่วง 10 ปีล่าสุด เช่นเดียวกับเศรษฐกิจในจังหวัดชายแดนสำคัญของภาคเหนือคือตากและเชียงราย ซึ่งทั้ง 2 จังหวัดขับเคลื่อนโดยภาคเกษตร การผลิตและการค้า มากกว่าร้อยละ 50 แต่เชียงรายมีภาคการท่องเที่ยวเข้ามาเสริม ทำให้เห็นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจเชียงรายหลังโควิด-19 ชัดเจนกว่า

 

การค้าชายแดนภาคเหนือ ในช่วง 10 ปี มีทิศทางเติบโต โดยกว่าร้อยละ 87 ของมูลค่าการค้าอยู่ในพื้นที่จังหวัดตากและเชียงราย แต่ประโยชน์ต่อพื้นที่มีไม่มากนัก สะท้อนจากมูลค่าการส่งออกและนำเข้าทางด่านศุลกากรในภาคเหนือ ส่วนใหญ่เป็นของผู้ประกอบการจากส่วนกลาง เนื่องจากส่วนใหญ่สินค้าส่งออกไม่ได้ผลิตในพื้นที่ และวัตถุดิบนำเข้าก็ไม่ได้นำมาผลิตเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มในพื้นที่ ส่งผลให้การเติบโตของมูลค่าการค้าชายแดนทุกร้อยละ 1 มีผลต่อการเติบโตของเศรษฐกิจในพื้นที่ไม่ถึงร้อยละ 0.5

 

โอกาสและความท้าทายในระยะต่อไป ใช้ประโยชน์และต่อยอดจากสิ่งที่มี รวมถึงหาโอกาสที่จะช่วยสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจพื้นที่ชายแดนอย่างยั่งยืน อาทิ ภาครัฐ มีการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน มีศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้าอำเภอเชียงของ รถไฟทางคู่สายเด่นชัย-เชียงของ และการปรับปรุงเส้นทางถนนเพิ่มเติมในภาคเหนือ ภาคเอกชน มีการลงทุนในภาคบริการเชิงการแพทย์และสุขภาพ ที่น่าจะเป็นเครื่องยนต์ใหม่ในการขับเคลื่อนพื้นที่เศรษฐกิจพื้นที่ชายแดนเพิ่มเติมจากภาคการค้า รวมถึงกิจกรรมเศรษฐกิจอื่นที่เกิดขึ้นตามศักยภาพแต่ละพื้นที่ เช่นศูนย์กระจายสินค้า 

quote-semina-67-1

ช่วงที่ 2 “ชวนคุย”

 

แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ประสบการณ์ และมุมมองต่อการพัฒนาเศรษฐกิจชายแดน 3 ประเด็น ได้แก่ ข้อจำกัด/อุปสรรค แนวทางการปลดล็อก และความท้าทาย/โอกาส ใน 4 มิติ ได้แก่ 1) การค้าชายแดน 2) เศรษฐกิจ การลงทุนและความเป็นเมือง 3) โลจิสติกส์และโซ่อุปทาน และ 4) การท่องเที่ยวเชิงการแพทย์และสุขภาพ 

quote-semina-67-2

  

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

ส่วนเศรษฐกิจการเงิน 1-3 ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ

0 5393 1166

งานเศรษฐกิจสำนักงานภาคเหนือ