การแก้ไขหนี้เช่าซื้อ
หนี้เช่าซื้อเกิดจากการที่ "ผู้ให้เช่าซื้อ" ชำระเงินค่าพาหนะประเภทต่าง ๆ เช่น รถยนต์ รถจักรยานยนต์ รถตู้ รถใช้งานเพื่อการเกษตร (รถไถ) รถมินิบัส ให้แก่บริษัทผู้ผลิต หรือผู้จำหน่ายรถทั้งจำนวน โดย "ผู้เช่าซื้อ" จะทำสัญญาผ่อนชำระเงินคืนให้แก่ "ผู้ให้เช่าซื้อ" เป็นงวดรายเดือน ในสัญญาเช่าซื้อจะระบุข้อตกลงต่าง ๆ เงินต้นและดอกเบี้ย รวมทั้งจำนวนงวดที่ลูกหนี้ต้องจ่าย ผู้ให้เช่าซื้อจะมีชื่อกรรมสิทธิ์เป็นเจ้าของรถ ขณะที่ลูกหนี้เป็นผู้เช่าซื้อหรือผู้ครอบครอง จนกว่าลูกหนี้จะผ่อนชำระครบตามสัญญา กรรมสิทธิ์จึงจะโอนมายังลูกหนี้ หากลูกหนี้เช่าซื้อไม่ผ่อนชำระค่างวดติดต่อกัน 3 งวด เจ้าหนี้สามารถยึดรถเพื่อบังคับขายทอดตลาด
1. กรณีที่ลูกหนี้ไม่สามารถจ่ายชำระค่างวด ควรรีบติดต่อเจ้าหนี้ผู้ให้เช่าซื้อ เพื่อขอพักชำระหรือลดค่างวดชั่วคราว โดยลูกหนี้ต้องแจ้งให้เจ้าหนี้ทราบถึงผลกระทบด้านรายได้ พร้อมทั้งให้ข้อมูลหรือเอกสารประกอบการพิจารณา (ถ้ามี) นอกจากนี้ ลูกหนี้ควรศึกษามาตรการช่วยเหลือของเจ้าหนี้ ให้ความร่วมมือในการเจรจา และแจ้งให้ผู้ค้ำประกันทราบ หลังจากการปรับเงื่อนไขการผ่อนชำระค่างวดแล้ว และ/หรือปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ลูกหนี้ควรปฏิบัติตามเงื่อนไขใหม่ที่ตกลงไว้ รักษาสภาพรถ ไม่นำไปจำนำ ไม่ส่งคืนรถโดยไม่รับรู้ทั้งสองฝ่าย และไม่ก่อหนี้เพิ่มเติม
2. แนวทางการปรับโครงสร้างหนี้
แนวทางการปรับโครงสร้างหนี้ | คำแนะนำ |
1. การปิดบัญชีก่อนกำหนด | - ลูกหนี้ปกติจะได้รับส่วนลดดอกเบี้ยที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระ - ลูกหนี้ค้างชำระอาจมีค่าปรับและค่าติดตามด้วย |
2. การโอนสิทธิให้บุคคลอื่น ผ่อนต่อ | - ถ้าเป็นลูกหนี้ค้างชำระ ต้องชำระค่างวดที่ค้างให้เป็นปกติก่อน |
3. การขอเปลี่ยนสัญญา (refinance) | - ลูกหนี้ควรศึกษาเงื่อนไขของเจ้าหนี้ และคำนวณว่าสินเชื่อใหม่ที่ดอกเบี้ยต่ำกว่าคุ้มค่าหรือไม่ |
4. การพักชำระค่างวด | - เหมาะกับลูกหนี้ที่รายได้ลดลงชั่วคราว และคาดว่ารายได้จะกลับมาเท่าเดิมเมื่อสถานการณ์เป็นปกติ |
5. การขยายเวลา/ลดค่างวด | - เหมาะกับลูกหนี้ที่รายได้ลดลงอย่างชัดเจนในระยะยาว หรืออาจต้องใช้เวลาปรับตัวนาน |
6. การรวมกับสินเชื่อบ้านภายใต้กลุ่มผู้ให้บริการ ทางการเงินเดียวกัน | - ลดภาระการผ่อนชำระรายเดือน - ช่วยลดดอกเบี้ย และขยายระยะเวลาการผ่อนชำระ |
7. การคืนรถ | - ไม่โดนฟ้องร้อง - หากมีหนี้ส่วนต่าง อาจเจรจาขอผ่อนชำระ หรือจ่ายชำระทั้งจำนวนเพื่อปิดหนี้ทันที |
3. ข้อแนะนำทางเลือกของลูกหนี้
สถานะลูกหนี้ | คำแนะนำ | ประโยชน์ที่ได้รับ |
ลูกหนี้ปกติ (ค้างชำระไม่เกิน 90 วัน) |
|
|
ลูกหนี้ที่เป็น NPL |
|
|
4. ศึกษามาตรการช่วยเหลือของสถาบันการเงิน : เจ้าหนี้สถาบันการเงินได้ออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยตามแนวทางที่ ธปท. กำหนด ในรูปแบบและเงื่อนไขที่แตกต่างกัน ลูกหนี้สามารถศึกษามาตรการของสถาบันการเงินแต่ละแห่งได้ทางเว็บไซต์ หรือ call center ของสถาบันการเงินนั้น ๆ และทางเว็บไซต์ COVID-19 ของ ธปท. ตาม link