หนี้เรื้อรัง

Persistent Debt หรือ PD

หนี้เรื้อรัง หมายถึง หนี้สินที่ลูกหนี้จ่ายชำระมาเป็นระยะเวลานาน จนกลายเป็นภาระหนักอกที่ต้องแบกรับอย่างต่อเนื่องโดยยังไม่สามารถปิดจบหนี้ได้

 

     โดยเงินที่จ่ายหนี้ไปถูกนำไปชำระในส่วนของดอกเบี้ยมากกว่าเงินต้น เกณฑ์การให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ที่มีปัญหาหนี้เรื้อรัง (persistent debt: PD) ภายใต้ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่ สกช. 7/2566 เรื่อง การให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม (responsible lending) มีผลบังคับใช้กับผู้ให้บริการทางการเงินเมื่อวันที่ 1 เม.ย. 67 โดยผู้ให้บริการทางการเงินต้องแจ้งเตือนลูกหนี้เรื้อรังและเสนอทางเลือกปิดจบหนี้เรื้อรังให้แก่กลุ่มเรื้อรัง (severe PD) ที่มีการจ่ายดอกเบี้ยรวมมากกว่าชำระเงินต้นรวมในช่วงย้อนหลัง 5 ปี เพื่อที่กลุ่มนี้จะมีทางเลือกในการพิจารณาว่าจะสมัครเข้าร่วม (opt-in) โครงการปิดจบหนี้เรื้อรังหรือไม่

ลูกหนี้แบบใด ที่เข้าข่าย “หนี้เรื้อรัง” ตามตามเกณฑ์ ธปท.

     1. มีสินเชื่อภายใต้การกำกับของ ธปท. คือ แบงก์ และ non-bank ที่มีเงื่อนไขการชำระคืนไม่เป็นงวด โดยมักจะมีเกิดกับลูกหนี้ที่จ่ายขั้นต่ำหรือจ่ายเพียงดอกเบี้ย และยังเบิกใช้วงเงินคงเหลือได้อย่างต่อเนื่องโดยไม่กำหนดระยะเวลาปิดจบหนี้ (ไม่รวมสินเชื่อที่มีทะเบียนรถเป็นประกัน และสินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัลและบัตรเครดิต ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีโอกาสจะเป็นหนี้เรื้อรังน้อยกว่า)

     2. ยังไม่เป็นหนี้เสีย (NPL)

     3. จ่ายดอกเบี้ยรวมมากกว่าเงินต้นรวม เป็นระยะเวลานาน (3 ปีขึ้นไป)

ลูกหนี้เรื้อรังมีกี่แบบและแต่ละแบบจะได้รับการแจ้งเตือนเพื่อหาทางปิดจบหนี้ร่วมกับเจ้าหนี้ได้อย่างไร

 

     1. ลูกหนี้เริ่มเรื้อรัง (general PD) – จ่ายดอกเบี้ยรวมมากกว่าเงินต้นรวมมาแล้ว 3 ปีแต่ไม่เกิน 5 ปี โดยจะได้รับการแจ้งเตือนจากเจ้าหนี้อย่างน้อย 1 ช่องทาง

     2. ลูกหนี้เรื้อรัง (severe PD) – จ่ายดอกเบี้ยรวมมากกว่าเงินต้นรวมในช่วงย้อนหลัง 5 ปี โดยจะได้รับการแจ้งเตือนจากเจ้าหนี้อย่างน้อย 2 ช่องทาง

persistent debt

เราสามารถจัดการหนี้เรื้อรังอย่างไรได้บ้าง  

 

     1. ลูกหนี้เริ่มเรื้อรัง (general PD) – สามารถติดต่อเจ้าหนี้หากต้องการขอปรับโครงสร้างหนี้ โดยเจ้าหนี้จะต้องให้ความช่วยเหลือที่เหมาะสมเป็นรายกรณี

     2. ลูกหนี้เรื้อรัง (severe PD) –ได้รับข้อเสนอแนวทางปิดจบหนี้ ซึ่งลูกหนี้สามารถพิจารณาว่าจะสมัครเข้าร่วมมาตรการปิดจบหนี้เรื้อรังหรือไม่

 

 

 

บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

 

•  การปิดจบหนี้เรื้อรัง … ทางเลือกที่รออยู่

https://www.bot.or.th/th/research-and-publications/articles-and-publications/articles/article-2024Apr2.html

 

•  Media Briefing แบงก์ชาติชวนคุย #แก้หนี้ยั่งยืน Ep.2 ทางเลือกปิดจบหนี้เรื้อรัง https://www.bot.or.th/th/news-and-media/news/news-20240313.html

 

•  ปูทางสู่การแก้หนี้อย่างยั่งยืน

https://www.bot.or.th/th/research-and-publications/articles-and-publications/articles/prachachat-chayawadee-Feb24.html