การใช้ Digital เพื่อการใช้จ่ายนั้นแสนจะดี VS Digital นั่นแหละตัวดีมีปัญหา

การเผยแพร่ผลงานครูในโครงการหรือตามความร่วมมือต่าง ๆ

ชื่อกิจกรรม : การใช้ Digital เพื่อการใช้จ่ายนั้นแสนจะดี VS Digital นั่นแหละตัวดีมีปัญหา

 

ชื่อครู/หน่วยงาน : อ.วีรพล แก้วพันธ์อ่ำ และ อ.ธีรภาพ แซ่เชี่ย ผลงานภายใต้ความร่วมมือระหว่างธนาคาร
แห่งประเทศไทยและโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

 

ชื่อโรงเรียนที่สอนหรือฝึกสอน : โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

 

ภาคการศึกษาและปีการศึกษาที่ใช้สอน/ทำกิจกรรม : ภาคการเรียนที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2566

 

ระดับชั้น : มัธยมศึกษาปีที่ 5

 

รูปแบบการนำไปใช้ : 

รายวิชาเฉพาะ - วิชารู้ทันการเงิน

 

วัตถุประสงค์การเรียนรู้ :

เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินแบบออนไลน์ สามารถวิเคราะห์ข้อดีและตระหนักถึงข้อจำกัดของผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินแบบออนไลน์ได้

 

สมรรถนะทางการเงิน (Financial competency) :

สมรรถนะหลัก

FK40. รู้จักบริการทางการเงินแบบออนไลน์เช่น Mobile Banking e-money (ม. ต้น)

FK45. รู้ว่าสามารถชำระค่าสินค้าและบริการได้หลายวิธี (ม. ต้น)

FK57. รู้ถึงความเสี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินทั้งแบบ online และ offline (ม. ต้น)

FK69. รู้ว่ามีผลิตภัณฑ์หรือบริการทางการเงินที่หลากหลาย ทั้ง online และ offline ซึ่งสามารถเลือกใช้บริการได้จากผู้ให้บริการหลายแห่ง (ม. ต้น)

FK111. รู้จักความเสี่ยงของผลิตภัณฑ์หรือบริการทางการเงินที่ใช้อยู่ เช่น บัญชีเงินฝาก Mobile Banking (ม. ปลาย)

 

สมรรถนะเสริม

FK41. รู้วิธีการโอนเงินได้อย่างปลอดภัย (ม. ต้น)

FK62. รู้วิธีรักษาความปลอดภัยในการใช้บริการทางการเงิน เช่น รักษารหัสผ่าน (ม. ต้น)

FK63. เข้าใจว่าการยืนยันตัวตนก่อนทำธุรกรรมทางการเงิน เช่น จ่ายเงิน โอนเงิน จะช่วยป้องกันภัยทางการเงิน (ม. ต้น)

FK65. รู้ว่าการคุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน จะคุ้มครองผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงิน ทั้งแบบทั่วไปและแบบออนไลน์ (ม. ต้น)

 

ตัวชี้วัด สพฐ. ถ้ามี :

 

กลุ่มสาระการเรียนรู้

 

 

ตัวชี้วัดระหว่างทาง

 

ตัวชี้วัดปลายทาง

 

-

 

 

-

 

-

กระบวนการจัดการเรียนรู้หรือขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม :

1.  ผู้สอนสร้างการเรียนรู้ร่วมกันโดยแบ่งผู้เรียนในชั้นเรียนออกเป็น 2 กลุ่มเพื่อระดมข้อมูลและแสดงเหตุผลเพื่อใช้ในการโต้แย้ง แต่ละกลุ่มได้รับประเด็น ดังนี้ 

ให้แต่ละกลุ่มใช้ในการโต้แย้งเชิงเหตุผล

  • การใช้ Digital เพื่อการใช้จ่ายนั้นแสนดี
  • Digital นั่นแหละตัวดีมีปัญหา

 

2.  ผู้สอนให้เวลาผู้เรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันศึกษาและรวบรวมประเด็นสำคัญต่าง ๆ 20 นาที โดยกำหนดประเด็นพื้นฐานเพื่อการศึกษาไว้ ดังนี้

  • Digital ดีอย่างไร ? กับ Digital ที่ควรต้องระวังอะไร ?
  • สถานการณ์ตัวอย่าง
  • ประสบการณ์ที่เคยพบ

จากนั้นแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนรอบละ 1 คน สลับกันออกมา เพื่อออกมาแสดงทัศนะโต้แย้ง 3 รอบ

 

3.  ชวนผู้เรียนทั้งสองกลุ่มร่วมกันสรุปกิจกรรม เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลของแต่ละกลุ่มว่า ผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินแบบออนไลน์มีประโยชน์และข้อควรระวังอะไรบ้าง

 

4.  ผู้สอนชวนผู้เรียนถอดบทเรียน เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้สอนในการออกแบบการเรียนรู้ในคาบเรียนต่อไป

  • ทำกิจกรรมนี้แล้วเป็นอย่างไรบ้าง ?
  • ข้อค้นพบใหม่ที่เกิดขึ้นกับตนเอง ?
  • สิ่งที่อยากให้ครูช่วยเหลือในคาบเรียนนี้ ?

 

การประเมินและการวัดผลการเรียนรู้ :

1.  ประเมินผลการเรียนรู้จากการอภิปรายโต้แย้งเชิงเหตุผล

2.  สังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนในการคิดวิเคราะห์และการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันของผู้เรียน