โครงการเหรียญสร้างอาชีพ

การเผยแพร่ผลงานครูในโครงการหรือตามความร่วมมือต่าง ๆ

ชื่อกิจกรรม : โครงการเหรียญสร้างอาชีพ

 

ชื่อครู/หน่วยงาน :

1. นางสาวเกศราพร ฟองน้อย / มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

2. นางสาวธนวรรณ ต๊ะแก้ว / มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

 

ชื่อโรงเรียนที่สอนหรือฝึกสอน : โรงเรียนชุมชนบ้านทุ่ง

 

ภาคการศึกษาและปีการศึกษาที่ใช้สอน/ทำกิจกรรม : กรกฎาคม – กันยายน พ.ศ. 2566

 

ระดับชั้น : ประถมศึกษาปีที่ 5 – 6

 

รูปแบบการนำไปใช้ : 

กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (ชุมนุม / ชมรม / ค่าย / ชั่วโมงแนะแนว) - โครงการอบรมให้ความรู้แก่นักเรียน

 

วัตถุประสงค์การเรียนรู้ :

1. เพื่อให้นักเรียนรู้วิธีวางแผนการออมเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย

2. เพื่อให้นักเรียนสามารถจัดสรรเงินออมให้ได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

 

สมรรถนะทางการเงิน (Financial competency) :

FB5. ออมเงินเป็นประจำ (ป. ต้น)

FK35. รู้วิธีออมเงินเพื่อบรรลุเป้าหมายทางการเงินระยะสั้น (ป. ปลาย)

FB11. ดูแลและติดตามการใช้จ่าย (ป. ปลาย)

 

ตัวชี้วัด สพฐ. ถ้ามี : 

 

ตัวชี้วัดระหว่างทาง

 

 

ตัวชี้วัดปลายทาง

 

ง 2.1 ม.2/1 อธิบายการเสริมสร้างประสบการณ์อาชีพ       

 

ง 2.1 ม.2/3 มีทักษะพื้นฐาน ที่จำเป็นสำหรับการประกอบอาชีพที่สนใจ

 

 

กระบวนการจัดการเรียนรู้หรือขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม :

1.  ครูเล่าโครงการเหรียญสร้างอาชีพให้นักเรียนฟังว่า เป็นโครงการที่ให้นักเรียนออมเงินเพื่อนำมาทำเหรียญโปรยทานขาย

 

2.  ครูชวนนักเรียนกำหนดเป้าหมายการออม (จำนวนเงิน) และแจกตารางออมเงินให้แก่นักเรียน พร้อมทั้งอธิบายวิธีการใช้งาน

 

3.  ให้นักเรียนออมเงินเป็นระยะเวลา 1 เดือน และครูติดตามการออมเงินของนักเรียน ดังนี้

  • สังเกตพฤติกรรมการออม โดยการสอบถามนักเรียนเป็นประจำและสม่ำเสมอ เพื่อกระตุ้นการออม
  • ตรวจตารางออมเงินทุกวันจันทร์และวันศุกร์ โดยให้นักเรียนนำแบบบันทึกการออมเงิน พร้อมทั้งนำเงินในกระปุกมาให้ครูตรวจสอบ

 

4.  ครูเตรียมอุปกรณ์ที่จะใช้สำหรับอบรมการทำเหรียญโปรยทานและบรรจุภัณฑ์

 

5.  เมื่อนักเรียนออมเงินได้ครบตามเป้าหมาย ครูสอนการทำเหรียญโปรยทานรูปแบบต่าง ๆ และวิธีการใช้อุปกรณ์สำหรับการพับเหรียญโปรยทาน

 

6.  ครูให้นักเรียนทำเหรียญโปรยทานรูปแบบต่าง ๆ และตรวจสอบความสมบูรณ์

 

7.  ครูบรรยายเรื่องการขายและการตลาด โดยเริ่มจากบรรจุภัณฑ์เหรียญโปรยทาน การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า และการสร้างการตลาดผ่านสื่อต่าง ๆ เช่น Facebook TikTok รวมไปถึงหลักการคิดกำไร-ขาดทุน

 

8.  ครูให้เวลานักเรียนทำเหรียญโปรยทานเป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์ และก่อนจะนำสินค้าไปขาย ครูต้องตรวจสอบสมบูรณ์ของสินค้าและการบรรจุภัณฑ์ทุกครั้งเพื่อให้สินค้ามีมาตรฐานมากที่สุดก่อนนำไปขาย

 

การประเมินและการวัดผลการเรียนรู้ :

1. การสังเกตพฤติกรรมการออมเงิน

ครูสังเกตพฤติกรรมการออมของนักเรียนโดยการสอบถามและสัมภาษณ์นักเรียนเป็นประจำและสม่ำเสมอ เพื่อให้นักเรียนมีความกระตือรือร้นและมีวินัยในการออม

 

2. การตรวจแบบบันทึกการออมเงิน

ครูกำหนดการตรวจแบบบันทึกการออมเงินของนักเรียน โดยให้นักเรียนนำแบบบันทึกการออมเงินพร้อมทั้งนำเงินในกระปุกมาให้ครูตรวจสอบในวันจันทร์และวันศุกร์ของทุก ๆ สัปดาห์

 

3. การสังเกตและตรวจสอบความสมบูรณ์ของสินค้า การบรรจุภัณฑ์ และการจำหน่ายสินค้า

ก่อนการนำสินค้าไปขาย ครูต้องตรวจสอบสมบูรณ์ของสินค้าและการบรรจุภัณฑ์ทุกครั้งเพื่อให้สินค้ามีมาตรฐานมากที่สุดก่อนนำไปขาย