หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง วันเฉลิมพระชนมพรรษา ฯ

การเผยแพร่ผลงานครูในโครงการหรือตามความร่วมมือต่าง ๆ

ชื่อกิจกรรม : หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง วันเฉลิมพระชนมพรรษา ฯ

 

ชื่อครู/หน่วยงาน : นางสาวพรยมล มีสุข / มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

 

ชื่อโรงเรียนที่สอนหรือฝึกสอน : โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 33 (บ้านทุ่งพร้าว)

 

ภาคการศึกษาและปีการศึกษาที่ใช้สอน/ทำกิจกรรม : ภาคการเรียนที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2566

 

ระดับชั้น : อนุบาล 1

 

รูปแบบการนำไปใช้ : 

สอดแทรกในรายวิชา - หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง วันเฉลิมพระชนมพรรษา ฯ

 

วัตถุประสงค์การเรียนรู้ :

1. หยุดยืนเมื่อได้ยินเพลงสรรเสริญพระบารมี        

2. เด็กรู้จักจำนวนของเงิน

3. สนทนาโต้ตอบระหว่างทำกิจกรรมได้

4. รู้จักประโยชน์ของเงิน

 

สมรรถนะทางการเงิน (Financial competency) :

FK1. รู้ว่าเหรียญและธนบัตรที่ลักษณะต่างกันมีค่าต่างกัน (อนุบาล)

FK4. รู้ว่าเงินสามารถใช้ซื้อสิ่งของได้ (อนุบาล)

FK6. ตระหนักว่าสิ่งต่าง ๆ เช่น เงิน สามารถเก็บไว้ใช้ในอนาคตได้ไม่จำเป็นต้องใช้ทั้งหมดตอนนี้ (อนุบาล)

FK7. รู้ว่าจะเก็บรักษาสิ่งของ เช่น เก็บของเล่นให้เข้าที่ เก็บเงินในประปุกและวางไว้ในที่ปลอดภัย (อนุบาล)

FK10. รู้วิธีติดตามและดูแลสิ่งต่าง ๆ ที่เก็บไว้ใช้ในอนาคต เช่น ติดตามเงินที่ฝากไว้กับคุณครู (อนุบาล)

 

ตัวชี้วัด สพฐ. ถ้ามี :

 

กลุ่มสาระการเรียนรู้

 

 

ตัวชี้วัดระหว่างทาง

 

ตัวชี้วัดปลายทาง

-

-

-

กระบวนการจัดการเรียนรู้หรือขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม :

ขั้นนำ

เด็กฟังเพลงสรรเสริญพระบารมี 1 รอบ

 

ขั้นสอน

1. ครูบอกชื่อเพลงสรรเสริญพระบารมีเล่าให้เด็กฟังว่าเป็นเพลงที่ใช้ในการถวายความเคารพ

ต่อพระมหากษัตริย์และสิ่งที่ควรปฏิบัติเมื่อได้ยินเพลงสรรเสริญพระบารมี

2. ครูสอนเกี่ยวกับเหรียญและธนบัตรโดยใช้คำถาม ดังนี้

        - เด็กรู้จักเหรียญและธนบัตรอะไรบ้าง

        - เงินที่เด็กใช้อยู่ทุกวันสามารถซื้ออะไรได้บ้าง

        - การเก็บเงินไว้เป็นเวลานานจะทำให้เงินฉีกหรือขาดไหม

        - เด็กฝากเงินไว้ที่ไหนได้บ้างเวลาเด็กออมเงิน   

        - เด็กสามารถถามครูได้ว่าเงินที่ฝากไว้มีจำนวนเท่าไหร่                                          

3. ครูและเด็กยืนตรงร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีพร้อมกัน

 

ขั้นสรุป

1. ครูสรุปกิจกรรมเกี่ยวกับเหรียญและธนบัตรให้เด็กฟังอีก 1 รอบ โดยมีเหรียญและธนบัตร ดังนี้

          - เหรียญ 1 บาท

          - เหรียญ 2 บาท

          - เหรียญ 5 บาท

          - เหรียญ 10 บาท

          - ธนบัตร 20 บาท

          - ธนบัตร 50 บาท

          - ธนบัตร 100 บาท

2. เงินที่ใช้ทุกวันสามารถซื้อของได้มากมาย เช่น

          - รองเท้า

          - เสื้อผ้า

3. เวลาเด็กออมเงินสามารถออมเงินและฝากไว้ที่ธนาคารได้

 

การประเมินและการวัดผลการเรียนรู้ :

1. สังเกตการหยุดยืนเมื่อได้ยินเพลง สรรเสริญพระบารมี

2. สังเกตเด็กรู้จักจำนวนเงิน

3. สังเกตการสนทนาโต้ตอบได้

4. สังเกตการรู้จักประโยชน์ของเงิน