ภาวะเศรษฐกิจการเงินภาคเหนือ

25 มกราคม 2566

xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx

xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx

แถลงข่าวภาวะเศรษฐกิจการเงินภาคเหนือ เดือนกรกฎาคม 2565

xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx

สรุปสาระสำคัญ
  • เศรษฐกิจภาคเหนือ ปรับดีขึ้นจากเดือนก่อน
  • ตามการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวหลังจากผ่อนคลายมาตรการควบคุม COVID 19 เพิ่มเติมและช่วงวันหยุดยาว ส่งผลดีให้การใช้จ่ายหมวดบริการและสินค้าอุปโภคบริโภคขยายตัวต่อเนื่อง แม้จะยังมีแรงกดดันจากค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้นสูง
  • สำหรับการผลิตอุตสาหกรรมและการลงทุนชะลอลง

รายได้เกษตรกร ขยายตัวมากขึัน

ตามราคาปศุสัตว์ ทั้งเนื้อสุกร ไก่ และไข่ไก่ที่ปรับเพิ่มขึ้นตามต้นทุน ราคาข้าวเพิ่มขึ้นตามความต้องการส่งออก ด้านผลผลิตขยายตัวชะลอลง ตามผลผลิตสุกรที่หดตัว

 

ภาคอุตสาหกรรม ชะลอลง

จากหมวดเครื่องดื่มที่กลับมาหดตัว หลังผลิตไปมากในเดือนก่อน และหมวดชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่หดตัว ตามคำสั่งซื้อคู่ค้าชะลอลงจากสต็อคที่ยังสูง สาหรับเครื่องประดับและอัญมณีฟื้นตัวต่อเนื่อง ตามความต้องการในต่างประเทศที่ทยอยปรับดีขึ้น

 

การท่องเที่ยว ขยายตัวต่อเนื่อง

ทั้งนักท่องเที่ยวไทยจากช่วงวันหยุดยาว การผ่อนคลายมาตรการควบคุมเพิ่มเติมและโครงการเราเที่ยวด้วยกันเฟส 4 ส่วนต่อขยาย สะท้อนจากอัตราการเข้าพัก และการเดินทางที่ขยายตัว ประกอบกับนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ทยอยเพิ่มขึ้นหลังเปิดประเทศเต็มรูปแบบและการเปิดเส้นทางบินตรงจากเกาหลี

 

การอุปโภคบริโภค ขยายตัว

จากการใช้จ่ายหมวดบริการที่ขยายตัวต่อเนื่องขณะที่สินค้าอุปโภคบริโภคขยายตัวตามกิจกรรมเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว แต่ยังมีแรงกดดันจากราคาสินค้าที่ปรับสูงขึ้นต่อเนื่อง ด้านการใช้จ่ายในหมวดยานยนต์ลดลง จากปัญหาขาดรถส่งมอบ

 

การลงทุนภาคเอกชน ชะลอลง

ตามการลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักรและยานยนต์ หลังเร่งไปในช่วงก่อนหน้า และการลงทุนซื้อรถยนต์ชะลอลง ด้านการลงทุนก่อสร้างขยายตัวต่อเนื่อง สะท้อนจากพื้นที่ได้รับอนุญาตก่อสร้างที่อยู่อาศัยที่เพิ่มขึ้น

 

การค้าผ่านด่านศุลกากร 

การส่งออก ชะลอลง ตามการส่งออกผลไม้ไปจีนกลับมาหดตัว ทั้งมังคุดและทุเรียนที่เข้าสู่ช่วงปลายฤดู อย่างไรก็ดี การส่งออกไปเมียนมาขยายตัวต่อเนื่อง ในกลุ่มสินค้าปิโตรเลียม เคมีภัณฑ์ ตามสถานการณ์ความไม่สงบ และการแพร่ระบาด COVID 19 มีทิศทางที่ดีขึ้น การนำเข้า ชะลอลง ตามการนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากเมียนมากลับมาหดตัวหลังเร่งไปในช่วงก่อน ขณะที่การนำเข้าผักและผลไม้จากจีนขยายตัว ตามความต้องการบริโภคในประเทศที่มีต่อเนื่อง 

 

อัตราเงินเฟ้อ ทรงตัว จากราคาอาหารสดที่เพิ่มขึ้น ขณะที่พลังงานชะลอลง

 

ตลาดแรงงาน ทรงตัว ตามจำนวนผู้ประกันตน ในระบบประกันสังคม (ม.33 ) ที่ใกล้เคียงเดือนก่อน

 

ธนาคารแห่งประเทศไทย
31 สิงหาคม 2565

 

ข้อมูลเพิ่มเติม : ส่วนเศรษฐกิจการเงิน 1-3 ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ
โทรศัพท์ : 0 5393 1158
E-mail : Pimchany@bot.or.th