ภาวะเศรษฐกิจการเงินภาคเหนือ

25 มกราคม 2566

xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx

xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx

แถลงข่าวภาวะเศรษฐกิจการเงินภาคเหนือ ไตรมาส 3 ปี 2565

xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx

สรุปสาระสำคัญ
  • เศรษฐกิจภาคเหนือ ปรับดีขึ้นจากไตรมาสก่อน  
  • ตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวต่อเนื่อง การท่องเที่ยวปรับดีขึ้นจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมโควิด-19 ทำให้มีการจัดกิจกรรมเพิ่มขึ้น รายได้เกษตรกรและผลผลิตอุตสาหกรรมยังคงขยายตัว ประกอบกับตลาดแรงงานทยอยฟื้นตัว เป็นปัจจัยสนับสนุนให้การบริโภคภาคเอกชนปรับดีขึ้น แม้มีแรงกดดันจากค่าครองชีพที่สูงขึ้น 

รายได้เกษตรกร ขยายตัวต่อเนื่อง

จากด้านราคาขยายตัวดี ตามราคาข้าวจากความต้องการส่งออก ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มีความต้องการใช้ในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ และปศุสัตว์ราคาปรับเพิ่มขึ้นตามต้นทุนการผลิต ด้านผลผลิตขยายตัวชะลอลง ตามผลผลิตสุกรที่หดตัว

 

ภาคอุตสาหกรรม ขยายตัว

จากหมวดอาหารที่ขยายตัวตามความต้องการของประเทศคู่ค้า หมวดเครื่องดื่มปรับดีขึ้นตามกิจกรรมภายในประเทศที่ทยอยฟื้นตัว หมวดชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ปรับดีขึ้นจากปัญหาด้านอุปทานคลี่คลายลงบ้าง ด้านเครื่องประดับและอัญมณีฟื้นตัวต่อเนื่อง

 

การท่องเที่ยว ขยายตัวต่อเนื่อง

นักท่องเที่ยวชาวไทยปรับดีขึ้น ตามการผ่อนคลายมาตรการควบคุม COVID-19 ส่งผลให้การเดินทางเพิ่มขึ้นทั้งทางบกและอากาศ โดยเฉพาะในช่วงวันหยุดยาว ด้านนักท่องเที่ยวต่างชาติปรับเพิ่มขึ้น หลังการเปิดประเทศเต็มรูปแบบ

 

การอุปโภคบริโภค ขยายตัวต่อเนื่อง

ตามการใช้จ่ายหมวดบริการที่ปรับดีขึ้นต่อเนื่องตามภาคท่องเที่ยว สินค้าอุปโภคบริโภคปรับดีขึ้นตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ทยอยกลับมา การใช้จ่ายเพื่อซื้อยานยนต์ขยายตัวดี จากกลุ่มผู้มีรายได้ประจำ และเกษตร ขณะที่ปัญหาขาดแคลนชิ้นส่วนยานยนต์ทยอยคลี่คลายต่อเนื่อง

 

การลงทุนภาคเอกชน หดตัวเล็กน้อย

จากการลงทุนก่อสร้างที่หดตัวตามพื้นที่ได้รับอนุญาตก่อสร้าง ประกอบกับ การนำเข้าสินค้าทุนของอุตสาหกรรมผลิตเพื่อส่งออกชะลอลง หลังเร่งนำเข้าไปมากแล้วในไตรมาสก่อน อย่างไรก็ดี การลงทุนซื้อรถยนต์เชิงพาณิชย์ขยายตัว จากความต้องการในธุรกิจขนส่ง และภาคเกษตร

 

การค้าผ่านด่านศุลกากร 

การส่งออก ชะลอลง ตามการส่งออกผลไม้ไปจีนกลับมาหดตัวในช่วงปลายฤดูกาล อย่างไรก็ดี การส่งออกไปเมียนมาขยายตัวในหลายหมวดสินค้า อาทิ หมวดอาหารและยา เคมีภัณฑ์ น้ำมันเชื้อเพลิง เสื้อผ้าและสิ่งทอ แต่ยังคงมีแรงกดดันจากเงินจัตเมียนมาที่อ่อนค่า การนำเข้า ชะลอลง ตามการนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากเมียนมาหลังเร่งนำเข้ามามากในช่วงก่อน อย่างไรก็ดี การนำเข้าผลไม้และผักจากจีน และไฟฟ้าจาก สปป.ลาว ขยายตัวมากขึ้น ตามความต้องการบริโภคในประเทศ

 

อัตราเงินเฟ้อ สูงขึ้น จากราคาอาหารสด ขณะที่ราคาพลังงานชะลอลง

 

ตลาดแรงงาน เพิ่มขึ้น จากจำนวนผู้ประกันตนมาตรา 33 และ
ความเชื่อมั่นผู้ประกอบอาชีพอิสระดีขึ้น

 

ธนาคารแห่งประเทศไทย
30 พฤศจิกายน 2565

 

ข้อมูลเพิ่มเติม : ส่วนเศรษฐกิจการเงิน 1-3 ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ
โทรศัพท์ : 0 5393 1158
E-mail : Pimchany@bot.or.th