ภาวะเศรษฐกิจการเงินภาคเหนือ

25 มกราคม 2566

xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx

xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx

แถลงข่าวภาวะเศรษฐกิจการเงินภาคเหนือ ปี 2565

xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx

สรุปสาระสำคัญ
  • เศรษฐกิจภาคเหนือ ขยายตัวจากปีก่อน 
  • จากสถานการณ์ COVID-19 คลี่คลายลง มาตรการควบคุมโรคผ่อนคลายเป็นลำดับ รวมถึงการเปิดประเทศ ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวทยอยฟื้นตัว
  • ประกอบกับตลาดแรงงานและรายได้ภาคเกษตรปรับดีขึ้น ช่วยให้ความเชื่อมั่นและการบริโภคฟื้นตัว แม้มีแรงกดดันจากค่าครองชีพที่สูงขึ้น 

รายได้เกษตรกร ขยายตัว

จากด้านราคาปรับดีขึ้น ทั้งราคาข้าวและมันสำปะหลังตามความต้องการส่งออก ข้าวโพดตามความต้องการใช้ในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ อ้อยโรงงานตามราคาน้ำตาลในตลาดโลก และปศุสัตว์ตามต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ด้านผลผลิตขยายตัว จากข้าวนาปีและนาปรัง อ้อยโรงงาน มันสำปะหลัง และลำไย เพราะปริมาณฝนดี และสภาพอากาศเอื้ออำนวย

 

ภาคอุตสาหกรรม ขยายตัว

หมวดอาหารกลับมาขยายตัวมากขึ้นจากทั้งอุปสงค์ต่างประเทศและในประเทศ รวมทั้งการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ปรับดีขึ้นหลัง COVID-19 คลี่คลาย อย่างไรก็ตาม การผลิตส่งออกหมวดชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และสินค้าฟุ่มเฟือย อาทิ เสื้อผ้า เฟอร์นิเจอร์ หดตัวเล็กน้อยตามเศรษฐกิจโลกที่เริ่มชะลอตัว

 

การท่องเที่ยว ขยายตัว

ตามนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เพิ่มขึ้น จากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมโรคอย่างต่อเนื่อง อานิสงส์จากมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว รวมถึงการกลับมาจัดกิจกรรมและเทศกาลในช่วงไตรมาสสุดท้าย ด้านนักท่องเที่ยวต่างชาติทยอยฟื้นตัวหลังการเปิดประเทศเต็มรูปแบบ แต่ยังอยู่ในระดับต่ำ

 

การอุปโภคบริโภค ขยายตัว

ตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจและความเชื่อมั่นที่ปรับดีขึ้น ทำให้การใช้จ่ายในหมวดบริการและสินค้าในชีวิตประจำวันปรับดีขึ้น แม้มีแรงกดดันจากค่าครองชีพที่สูงขึ้น ประกอบกับหมวดยานยนต์ขยายตัวจากปัญหาขาดแคลนรถยนต์ส่งมอบมีทิศทางคลี่คลายลงเป็นลำดับ

 

การลงทุนภาคเอกชน หดตัวเล็กน้อย

จากการลงทุนก่อสร้างตามพื้นที่ได้รับอนุญาตก่อสร้างที่หดตัว ด้านการลงทุนเพื่อการผลิตขยายตัวมากในช่วงครึ่งปีแรก ในกลุ่มธุรกิจผลิตเพื่อส่งออกที่นำเข้าสินค้าทุนเพิ่มขึ้น ประกอบกับการลงทุนซื้อรถยนต์เชิงพาณิชย์ขยายตัว ส่วนหนึ่งจากปัญหาขาดแคลนรถยนต์ส่งมอบคลี่คลาย

 

การค้าผ่านด่านศุลกากร ขยายตัว

การส่งออก ขยายตัว ตามการส่งออกทุเรียนสดไปจีนตอนใต้ และการส่งออกไปเมียนมาขยายตัวในหลายหมวดอาทิ น้ำมันสำเร็จรูป เคมีภัณฑ์ อิเล็กทรอนิกส์และไฟฟ้า เสื้อผ้าและสิ่งทอ และสินค้าอุปโภคบริโภค จากความต้องการบริโภคที่เพิ่มขึ้น

การนำเข้า ชะลอลง ตามการนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากเมียนมาเพื่อใช้ผลิตเป็นอาหารสัตว์ อย่างไรก็ดี การนำเข้าผลไม้และผักจากจีนขยายตัวมากขึ้น ตามความต้องการบริโภค

 

อัตราเงินเฟ้อ สูงขึ้น ตามราคาพลังงานและอาหารสด

 

ธนาคารแห่งประเทศไทย
2 กุมภาพันธ์ 2566

 

ข้อมูลเพิ่มเติม : ส่วนเศรษฐกิจการเงิน 1-3 ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ
โทรศัพท์ : 0 5393 1158
E-mail : Pimchany@bot.or.th