ภาวะเศรษฐกิจการเงินภาคเหนือ

25 มกราคม 2566

xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx

xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx

แถลงข่าวภาวะเศรษฐกิจการเงินภาคเหนือ เดือนกุมภาพันธ์ 2566

xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx

สรุปสาระสำคัญ
  • เศรษฐกิจภาคเหนือ ชะลอลงเล็กน้อยจากเดือนก่อน
  • การท่องเที่ยวและการบริโภคชะลอลง หลังเร่งไปในช่วงก่อน ประกอบกับเริ่มมีปัญหาหมอกควันในบางช่วง 
  • อย่างไรก็ดี รายได้เกษตรกรที่ขยายตัวดี และตลาดแรงงานฟื้นตัวต่อเนื่อง รวมทั้งผลผลิตอุตสาหกรรมกลับมาปรับดีขึ้น ยังคงเป็นปัจจัยสนับสนุนให้เศรษฐกิจอยู่ในทิศทางฟื้นตัว

รายได้เกษตรกร ขยายตัวมากขึ้น

รายได้เกษตรขยายตัวมากขึ้น จากผลผลิตอ้อยโรงงานและข้าวนาปรังที่เพิ่มขึ้น ตามสภาพอากาศที่เอื้ออำนวยในช่วงเพาะปลูก ด้านราคาชะลอลงตามราคาอ้อยโรงงาน ในเดือนนี้มีปริมาณอ้อยไฟไหม้เพิ่มขึ้น ทำให้ราคารับซื้อปรับลดลง

 

ภาคอุตสาหกรรม กลับมาขยายตัว

จากหมวดอาหารกลับมาขยายตัว หลังปัญหา
ขาดแคลนวัตถุดิบเริ่มคลี่คลาย น้ำตาลเพิ่มขึ้นตามปริมาณวัตถุดิบ และหมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์่เพิ่มขึ้นจากชิ้นส่วนยานยนต์ อย่างไรก็ตาม การผลิตส่งออกชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และสินค้าฟุ่มเฟือย อาทิ เฟอร์นิเจอร์ เครื่องแต่งกาย และเครื่องประดับ หดตัวต่อเนื่อง ตามอุปสงค์คู่ค้าที่ชะลอลง รวมทั้งหมวดเครื่องดื่มลดลง หลังเร่งผลิตในช่วงก่อนหน้า

 

การท่องเที่ยว ชะลอลง

นักท่องเที่ยวไทยชะลอลงจากเดือนก่อน หลังพ้นช่วงฤดูกาลท่องเที่ยว ประกอบกับการจัดกิจกรรมต่างๆ ชะลอลง หลังเร่งไปมากในช่วงก่อน รวมทั้งมีปัญหาหมอกควันในบางช่วง สอดคล้องกับจำนวนผู้โดยสารผ่านท่าอากาศยานและการเดินทางด้วยรถยนต์ชะลอลง อย่างไรก็ดี นักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะชาวเกาหลีใต้และชาวจีน

 

การอุปโภคบริโภค ชะลอลง

จากการใช้จ่ายหมวดบริการชะลอลง สอดคล้องกับการท่องเที่ยว สินค้าอุปโภคบริโภคชะลอลงหลังเร่งไปในช่วงต้นของมาตรการช้อปดีมีคืน และเม็ดเงินกระตุ้นการบริโภคของภาครัฐลดลง รวมทั้งปัญหาหมอกควันทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจลดลง อย่างไรก็ดี หมวดยานยนต์ขยายตัว จากการส่งมอบรถได้ดีขึ้น

 

การลงทุนภาคเอกชน กลับมาหดตัว

ทั้งจากการลงทุนเพื่อการผลิตและการก่อสร้าง โดยการลงทุนเพื่อการผลิตหดตัวตามการนำเข้าสินค้าทุนในกลุ่มผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และยอดจดทะเบียนรถยนต์เชิงพาณิชย์ ประกอบกับการลงทุนก่อสร้างหดตัว ตามการจำหน่ายวัสดุก่อสร้างเป็นสำคัญ

 

การค้าผ่านด่านศุลกากร กลับมาหดตัว

จากการนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากเมียนมาที่หดตัว  รวมทั้งผลไม้และผักจากจีนชะลอลง หลังเร่งไปมากในเดือนก่อน ด้านการส่งออกขยายตัวมากขึ้น จากการส่งออกผลไม้ไปจีน และสินค้าอุปโภคบริโภคไปเมียนมา แต่ยังมีแรงกดดันจากค่าเงินจัตอ่อนค่า

 

อัตราเงินเฟ้อ ลดลง ตามหมวดพลังงาน ขณะที่หมวดอาหารสดทรงตัว

 

ตลาดแรงงาน ปรับดีขึ้นต่อเนื่อง สะท้อนจากจำนวนผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ที่ปรับเพิ่มขึ้น

 

ธนาคารแห่งประเทศไทย
31 มีนาคม 2566

 

ข้อมูลเพิ่มเติม : ส่วนเศรษฐกิจการเงิน 1-3 ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ
โทรศัพท์ : 0 5393 1158
E-mail : Pimchany@bot.or.th