ภาวะเศรษฐกิจการเงินภาคเหนือ
25 มกราคม 2566
xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx
xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx
แถลงข่าวภาวะเศรษฐกิจการเงินภาคเหนือ เดือนพฤษภาคม 2566
xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx
รายได้เกษตรกร ขยายตัวต่อเนื่อง
จากผลผลิตข้าวนาปรังที่เพิ่มขึ้นมาก ตามปริมาณน้ำที่เพียงพอต่อการเพาะปลูก ประกอบกับด้านราคาขยายตัวดีจากราคาข้าวเปลือกที่เพิ่มขึ้น ตามความต้องการของตลาดต่างประเทศมีต่อเนื่อง ราคาลิ้นจี่เพิ่มขึ้นจากผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย ราคามันสำปะหลังเพิ่มขึ้นตามความต้องการส่งออกไปจีน และความต้องการใช้ผลิตอาหารสัตว์ในประเทศ รวมทั้งราคาปศุสัตว์ที่ยังสูงตามต้นทุนการผลิต
ภาคอุตสาหกรรม กลับมาขยายตัว
จากการผลิตหมวดอาหารแปรรูปที่มีความต้องการส่งออกและบริโภคในประเทศต่อเนื่อง หมวดเครื่องดื่มขยายตัวตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ปรับดีขึ้นรวมทั้งการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ขยายตัวโดยเฉพาะที่ใช้ในยานยนต์ อย่างไรก็ตาม การผลิตเพื่อส่งออกสินค้าฟุ่มเฟือย อาทิ เฟอร์นิเจอร์ผลิตภัณฑ์ไม้ เสื้อผ้า เครื่องประดับ ยังหดตัวต่อเนื่องตามเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว
การท่องเที่ยว ชะลอตัว
จากนักท่องเที่ยวชาวไทยชะลอลง หลังผ่านช่วงเทศกาลในเดือนก่อน สะท้อนจากการเดินทางโดยรถยนต์ และทางอากาศที่ปรับฤดูกาลแล้วลดลง อย่างไรก็ดี นักท่องเที่ยวต่างชาติยังคงอยู่ในทิศทางฟื้นตัวต่อเนื่อง ส่งผลให้อัตราการเข้าพักเพิ่มขึ้น โดยขยายตัวได้ในกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวไต้หวันและฮ่องกง
การอุปโภคบริโภค กลับมาขยายตัว
ตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่กลับมาเพิ่มขึ้นหลังสิ้นสุดช่วงหมอกควัน สะท้อนจากการใช้จ่ายหมวดสินค้าอุปโภคบริโภคปรับดีขึ้น หมวดยานยนต์ปรับดีขึ้นในกลุ่มรถยนต์นั่งและจักรยานยนต์ตามความต้องการที่มีต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม การใช้จ่ายหมวดสินค้ากึ่งคงทนปรับลดลงหลังเร่งไปในเดือนก่อน
การลงทุนภาคเอกชน หดตัวน้อยลง
จากการลงทุนก่อสร้างที่หดตัวนัอยลงตามยอดจำหน่ายวัสดุก่อสร้างที่ขยายตัว ส่วนการลงทุนในเครื่องจักรและอุปกรณ์หดตัวใกล้เคียงเดือนก่อน โดยมูลค่านำเข้าสินค้าทุนหดตัวน้อยลง แต่ยอดจดทะเบียนรถยนต์เชิงพาณิชย์หดตัวมากขึ้น
การค้าผ่านด่านศุลกากร กลับมาหดตัว
ตามการส่งออกทุเรียนและมังคุดไปจีนตอนใต้หลังเร่งไปมากในเดือนก่อน อย่างไรก็ดี การส่งออกไปเมียนมาขยายตัว หลังความไม่สงบบริเวณชายแดนคลี่คลายลงด้านการนำเข้าหดตัวต่อเนื่องตามข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากเมียนมา ขณะที่กระแสไฟฟ้าจาก สปป.ลาว ขยายตัว
อัตราเงินเฟ้อ ลดลง จากหมวดพลังงาน ตามค่าไฟฟ้า ราคาน้ำมัน รวมทั้งอาหารสด
ตลาดแรงงาน ปรับดีขึ้น ตามจำนวนผู้ประกันตนมาตรา 33 ที่เพิ่มขึ้น ขณะที่จำนวนผู้ขอรับสิทธิว่างงานทรงตัว
ปัจจัยที่ตัองติดตาม
- ค่าครองชีพที่อยู่ในระดับสูงยังกดดันกำลังซื้อและการฟื้นตัวของการบริโภค
- อุปสงค์ในตลาดโลกยังอยู่ในทิศทางชะลอตัว
ธนาคารแห่งประเทศไทย
30 มิถุนายน 2566
ข้อมูลเพิ่มเติม : ส่วนเศรษฐกิจการเงิน 1-3 ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ
โทรศัพท์ : 0 5393 1168
E-mail : TanaporD@bot.or.th