ภาวะเศรษฐกิจการเงินภาคเหนือ

25 มกราคม 2566

xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx

xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx

แถลงข่าวภาวะเศรษฐกิจการเงินภาคเหนือ เดือนมิถุนายน 2566

xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx

สรุปสาระสำคัญ
  • เศรษฐกิจภาคเหนือเดือนมิถุนายน 2566 ชะลอลงเล็กน้อยจากเดือนก่อน
  • การบริโภคปรับลดลงหลังเร่งไปในช่วงก่อนหน้า 
  • อย่างไรก็ดี รายได้เกษตรกร การผลิตภาคอุตสาหกรรม และการท่องเที่ยวยังขยายตัวได้ ทำให้การจ้างงานฟื้นตัวต่อเนื่อง 

รายได้เกษตรกร ขยายตัวต่อเนื่อง

จากผลผลิตข้าวนาปรังที่เพิ่มขึ้นมากตามปริมาณน้ำที่เอื้ออำนวยต่อการเพาะปลูก ประกอบกับราคาขยายตัวดีตามราคาข้าวเปลือกที่ตลาดต่างประเทศยังมีความต้องการต่อเนื่อง ราคามันสำปะหลังเพิ่มขึ้นตามความต้องการส่งออกไปจีน ราคาสับปะรดและลิ้นจี่เพิ่มขึ้นเนื่องจากผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย รวมทั้งราคาปศุสัตว์ที่ยังสูงตามต้นทุนการผลิต

 

ภาคอุตสาหกรรม ขยายตัวชะลอลง

จากหมวดเครื่องดื่มที่ปรับลดลง หลังเร่งผลิตในช่วงก่อนหน้า ประกอบกับการผลิตหมวดอาหารแปรรูปชะลอลง รวมทั้งการผลิตเพื่อส่งออกสินค้าฟุ่มเฟือย อาทิ เฟอร์นิเจอร์ ผลิตภัณฑ์ไม้ เครื่องประดับ และเซรามิกยังหดตัวตามเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว อย่างไรก็ดี การผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และอุปกรณ์ขยายตัว โดยเฉพาะกลุ่มที่ใช้ในยานยนต์

 

การท่องเที่ยว ขยายตัว

ทั้งจากนักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างชาติ สะท้อนจากการเดินทางทางอากาศที่ขยายตัว โดยเฉพาะจำนวนผู้โดยสารขาเข้าจากต่างประเทศเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยขยายตัวดีในกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวจีน เกาหลีไต้ และไต้หวัน สอดคล้องกับอัตราการเข้าพักที่เพิ่มขึ้น 

 

การอุปโภคบริโภค กลับมาหดตัว

จากหมวดสินค้าอุปโภคบริโภคที่ปรับลดลงหลังเร่งไปในช่วงก่อนหน้า รวมทั้งผู้บริโภคยังคงระมัดระวังการใช้จ่ายเพราะค่าครองชีพอยู่ในระดับสูง และหมวดยานยนต์ลดลงหลังเร่งส่งมอบไปแล้ว ประกอบกับสินค้ากึ่งคงทนกลุ่มวัสดุก่อสร้างและเครื่องใช้ไฟฟ้าลดลง อย่างไรก็ดี หมวดบริการปรับดีขึ้นตามภาคการท่องเที่ยว

 

การลงทุนภาคเอกชน หดตัว

จากการลงทุนในเครื่องจักรและอุปกรณ์ สะท้อนจากมูลค่านำเข้าสินค้าทุน ยอดจำหน่ายเครื่องจักร และยอดจดทะเบียนรถยนต์เชิงพาณิชย์ปรับลดลง ขณะที่การลงทุนก่อสร้างทรงตัวจากเดือนก่อน

 

การค้าผ่านด่านศุลกากร หดตัวน้อยลง

จากการส่งออกทุเรียนและมังคุดไปจีนตอนใต้เพิ่มขึ้น ตามผลผลิตที่เพิ่มขึ้นมากในปีนี้ อย่างไรก็ตาม การส่งออกไปเมียนมากลับมาหดตัว จากความไม่สงบบริเวณชายแดน ด้านการนำเข้าหดตัว ตามข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากเมียนมา ขณะที่การนำเข้ากระแสไฟฟ้าจาก สปป.ลาว ขยายตัว

 

อัตราเงินเฟ้อ ลดลงต่อเนื่อง จากหมวดพลังงานตามราคาน้ำมันเชื้อเพลิงและหมวดอาหารสดตามราคาเนื้อสัตว์ที่ปรับลดลง

 

ตลาดแรงงาน ปรับดีขึ้น ตามจำนวนผู้ประกันตนมาตรา 33 ที่เพิ่มขึ้น สอดคล้องกับผู้ขอรับสิทธิว่างงาน มาตรา 38 ลดลง

 

ปัจจัยที่ตัองติดตาม
-  ความเสี่ยงจากปริมาณฝนที่ลดลงจากภาวะเอลนีโญ 

-  การฟื้นตัวของอุปสงค์ต่างประเทศ

-  ความเชื่อมั่นที่อาจถูกกระทบจากสถานการณ์การเมือง

 

 

ธนาคารแห่งประเทศไทย
31 กรกฎาคม 2566

 

ข้อมูลเพิ่มเติม : ส่วนเศรษฐกิจการเงิน 1-3 ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ
โทรศัพท์ : 0 5393 1166
E-mail : ChanyarT@bot.or.th

 

 

เอกสารประกอบการแถลงข่าวทั้งหมด