รายชื่อผู้เข้าร่วมทดสอบโครงการ Programmable Payment ภายใต้
Enhanced Regulatory Sandbox
โครงการทดสอบ Programmable Payment Sandbox การทดสอบนวัตกรรมการชําระราคาและธุรกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการชําระราคา โดยใช้หน่วยข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถกำหนดเงื่อนไขโดยอัตโนมัติด้วยการใช้เทคโนโลยีการจัดเก็บข้อมูลแบบกระจายศูนย์ (Distributed Ledger Technology: DLT) และกลไกสัญญาอัจฉริยะ (Smart Contract) โดยมีกลไกการรักษามูลค่าในรูปแบบเงินฝากสกุลบาทในจํานวนไม่น้อยกว่ามูลค่าของหน่วยข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกสร้างขึ้น โดยการทดสอบกับผู้ใช้งานจริงในขอบเขตจำกัด (ไม่มีการใช้งานและให้บริการเป็นการทั่วไป) เช่น กำหนดพื้นที่ในการทดสอบ จำกัดจำนวนผู้เข้าทดสอบ มีกรอบระยะเวลาในการทดสอบที่ชัดเจน
ลำดับ | ชื่อบริษัท | โครงการ Programmable Payment | สถานะของการทดสอบ |
1 | บริษัท เอสซีบี เท็นเอกซ์ จำกัด | บริการ Tourist Wallet | Phase 1: 1 - 25 พ.ค. 2567 |
2 | ธนาคารกสิกรไทย จํากัด (มหาชน) | บริการ Tourist Wallet | เม.ย. - ธ.ค. 2568 |
3 | ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) | บริการ Secure Payment | พ.ค. - ก.ย. 2568 |
4 | บริษัท บิทคับ บล็อคเชน เทคโนโลยี จำกัด | บริการ Escrow Payment
บริการสื่อชำระ Asset Tokenization บริการ Bridging | พ.ค. - ธ.ค. 2568 |
5 | บริษัท ทรู มันนี่ จำกัด | บริการสื่อชำระ Asset Tokenization
บริการแลกเปลี่ยน Global Stablecoin | พ.ค. - ต.ค. 2568 |
6 | บริษัท ฟิวเจอร์ คอมเพเทเร่ เวนเจอร์ จำกัด | บริการสื่อชำระ Asset Tokenization
| เม.ย. 2568 - มี.ค. 2569 |
7 | บริษัท ดีเทอร์มิน่า จำกัด | บริการสินเชื่อแบบ Business-to-Business (B2B) | เม.ย. 2568 - มี.ค. 2569 |
8 | บริษัท ออมแพลทฟอร์ม จำกัด | บริการ Escrow Payment | เม.ย. 2568 - มี.ค. 2569 |
รูปแบบการทดสอบ: นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติสามารถแลกเปลี่ยน digital asset กับ Thai Baht Programmable Payment เพื่อใช้ชำระค่าสินค้าและบริการผ่าน QR code กับร้านค้าที่เข้าร่วมทดสอบ โดยมีการจำกัดพื้นที่ และมีการจำกัดช่วงเวลาเฉพาะ เช่น ในช่วงงาน International Conference บางงาน โดยร้านค้าจะได้รับเป็นเงินบาทเข้าบัญชีตามปกติ
ประโยชน์ของโครงการ: ช่วยลดขั้นตอนในการแลกเงินสดและลดค่าธรรมเนียมชำระเงินสกุลเงินต่างประเทศ นอกจากนี้ยังมีประโยชน์ต่อภาคธุรกิจ โดยเพิ่มปริมาณการใช้จ่ายในประเทศไทย สร้างสภาพคล่องให้กับภาคธุรกิจที่รองรับการทำธุรกรรมโดยชาวต่างชาติ
รูปแบบการทดสอบ: การทดสอบกระบวนการชำระเงินและทำธุรกรรมระหว่างผู้ซื้อ/ผู้ขาย โดยจะมีการนำเทคโนโลยี DLT และ smart contract มาช่วยดูแลรักษาเงินและกำหนดเงื่อนไขการโอนเงิน เช่น การจ้างงาน freelance การส่งมอบสินค้าหรือบริการตามเงื่อนไข และระบบจะโอนเงินไปยังบัญชีผู้รับโดยอัตโนมัติ
ประโยชน์ของโครงการ: ช่วยเพิ่มความโปร่งใสในกระบวนการชำระเงินและทำธุรกรรมระหว่างผู้ซื้อ/ผู้ขาย หรือคู่สัญญา สามารถติดตามธุรกรรมที่เกิดขึ้นได้ รวมถึงลดโอกาสการเกิดทุจริตจากการชำระเงินแต่ไม่ได้รับสินค้า
รูปแบบการทดสอบ: การใช้ Thai Baht Programmable Payment ในการชำระซื้อขายสินทรัพย์ในรูปแบบดิจิทัล เช่น Digital ticket, NFT, Investment Token และ Utility Token
ประโยชน์ของโครงการ: เพื่อเพิ่มความสะดวกและความโปร่งใสในการซื้อขายแลกเปลี่ยน เพิ่มประสิทธิภาพในการชำระดุลให้มีความรวดเร็วขึ้น (Atomic Settlement) และเพิ่มทางเลือกให้ลูกค้าและร้านค้าให้สามารถต่อยอดการทำธุรกรรมที่หลากหลายมากขึ้นในอนาคต
นอกจากนี้ ยังมีการบริการอื่นๆ อาทิ การให้บริการ Bridging ระหว่าง chain, การให้บริการ swap แลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัลกับ Thai Baht Programmable Payment เป็นต้น
ทั้งนี้ โครงการ Programmable Payment ยังเป็นความร่วมมือระหว่าง ธปท. และสำนักงาน ก.ล.ต. ในการส่งเสริมนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ดิจิทัลให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง ภายใต้กลไก Sandbox ซึ่งผู้เข้าร่วมทดสอบจะได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับแนวทางการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องของแต่ละผู้กำกับดูแล แนวทางบริหารความเสี่ยงที่รัดกุม รวมถึงมีมาตรการคุ้มครองผู้บริโภคที่เหมาะสม
โปรดระวัง! มิจฉาชีพแอบอ้างชื่อ ธนาคารแห่งประเทศไทย หลอกลวงในการทำธุรกรรมการเงิน ปัจจุบัน ธปท. อยู่ระหว่างเปิดรับสมัครผู้ให้บริการที่สนใจเข้าทดสอบ และยังไม่มีการให้บริการใด ๆ ในช่วงนี้ ขอให้ประชาชนระมัดระวังการถูกหลอกลวง โดยอ้างโครงการทดสอบ Programmable Payment
ข้อมูล ณ วันที่ 6 มกราคม 2568