การเปิดรับฟังความคิดเห็นต่อ (ร่าง) แนวทางการระบุและการกำกับดูแลธนาคารพาณิชย์ที่มีความสำคัญต่อระบบในประเทศ

-313 วัน

Public hearing

สรุปสาระสำคัญ
  • ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ทบทวนกรอบดัชนีชี้วัดที่ใช้ในการประเมินธนาคารพาณิชย์ที่มีความสำคัญต่อระบบในประเทศ (Domestic Systemically Important Banks: D-SIBs) ซึ่งจะมีการทบทวนทุก 3 ปี ในลักษณะของการมองไปข้างหน้า (Forward looking) ให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของ Financial landscape และการส่งผ่านความเสี่ยงต่อระบบการเงินในรูปแบบใหม่ ๆ โดยเฉพาะความเชื่อมโยงระหว่างสถาบันการเงินในรูปแบบ Indirect linkage รวมทั้งความสำคัญเชิงระบบในมิติอื่น ๆ
  • ธปท. ขอเชิญร่วมแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อการปรับปรุงประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง แนวทางการระบุและการกำกับดูแลธนาคารพาณิชย์ที่มีความสำคัญต่อระบบในประเทศ ผ่านหน้าเว็บไซต์ธนาคารแห่งประเทศไทย และระบบกลางทางกฎหมาย

ช่วงเวลาในการเปิดรับฟังความคิดเห็น

 

6 - 27 พฤศจิกายน 2566

 

วัตถุประสงค์/หลักการ/เหตุผล

 

  • เพิ่มปัจจัยในดัชนีชี้วัดหลักและเพิ่มตัวอย่างดัชนีชี้วัดเสริมที่ใช้ในการระบุ D-SIBs โดยคำนึงถึงความเสี่ยงที่มีนัยสำคัญต่อระบบให้ครอบคลุมปัจจัยเสี่ยงใหม่มากขึ้น สอดคล้องกับบริบทปัจจุบัน และรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต เพื่อลดการก่อตัวของความเสี่ยงเชิงระบบ (systemic risk) ที่อาจลุกลามไปสู่จุดอื่นในระบบการเงินจนส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง

ติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติม

งานหลักเกณฑ์การกำกับดูแลตามมาตรฐานสากล 1
ฝ่ายนโยบายการกำกับสถาบันการเงิน
Email : PR1-RPD@bot.or.th

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

  • รายงาน

    4 มี.ค. 2567

    รายงานวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย

    ฝ่ายนโยบายการกำกับสถาบันการเงิน

    PR1-RPD@bot.or.th

    ฝ่ายนโยบายการกำกับสถาบันการเงิน

  • แบบฟอร์ม

    4 มี.ค. 2567

    แบบฟอร์มสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นต่อร่างกฎ

    ฝ่ายนโยบายการกำกับสถาบันการเงิน

    PR1-RPD@bot.or.th

    ฝ่ายนโยบายการกำกับสถาบันการเงิน

* ธปท.จะเก็บรักษาความลับและใช้ข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อวัตถุประสงค์ในการแสดงความคิดเห็นต่อร่างประกาศเท่านั้น ทุกความคิดเห็นที่มีต่อร่างประกาศจะไม่มีผลทางกฎหมาย *