การใช้เงินสกุลท้องถิ่น (Local Currency)
ในการค้าขายระหว่างประเทศ
ธปท. ได้ส่งเสริมการใช้เงินสกุลท้องถิ่นเพื่อการค้าขายระหว่างประเทศ เพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้ประกอบการในการชำระเงิน และลดความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน
ผู้ประกอบการไทยนำเข้า
ผู้ประกอบการไทยส่งออก
คู่มือ
บทความ
Infographic
Video
Webpage
เนื้อหาประกอบไปด้วย ประโยชน์ของการใช้เงินสกุลท้องถิ่น, การให้บริการธุรกรรมเงินหยวนของธนาคารพาณิชย์, ขั้นตอนการทำธุรกรรมและเอกสารที่ใช้ในการทำธุรกรรมเงินหยวน, ความร่วมมือของทางการเพื่อสนับสนุนการทำธุรกรรมระหว่างประเทศ และสรุปหลักเกณฑ์การทำธุรกรรมเงินตราต่างประเทศของไทย
หลายกรณีผู้ประกอบการกำหนดราคาซื้อขายเป็นสกุลดอลลาร์สหรัฐ ทั้ง ๆ ที่ผู้ส่งออกและผู้นำเข้าไม่มีใครอยู่ในสหรัฐอเมริกาเลย แต่ที่ใช้เงินดอลลาร์สหรัฐเพราะได้รับความนิยมในการเป็นสื่อกลางทางการค้ามายาวนาน ทำให้ผู้ประกอบการมีความคุ้นชิน แต่ในช่วงที่ผ่านมาเงินดอลลาร์สหรัฐผันผวนรุนแรง อาจจะทำให้ผู้ที่ใช้เงินดอลลาร์สหรัฐต้องปวดหัวมากเพราะการเปลี่ยนแปลงของค่าเงินด้วยเช่นกัน
25 เม.ย. 2561
สามารถติดตามข้อมูลข่าวสารการใช้เงินสกุลท้องถิ่น และข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้ผ่านช่องทาง Bank of Thailand
Facebook: https://www.facebook.com/bankofthailandofficial
Twitter: https://x.com/bankofthailand
.
ประเทศไทยมีสัดส่วนการค้ากับประเทศในภูมิภาคเอเชียถึงเกือบร้อยละ 70 โดยมีคู่ค้าสำคัญ ได้แก่ กลุ่มประเทศอาเซียน จีน และญี่ปุ่น แต่สกุลเงินที่ใช้ชำระค่าสินค้าระหว่างกันกลับเป็นเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ สูงถึงกว่าร้อยละ 80 ซึ่งในบางช่วงเวลาเงินดอลลาร์สหรัฐฯ มีความผันผวนสูงกว่าเงินสกุลท้องถิ่น และส่งผลกระทบต่อต้นทุนและผลกำไรของผู้ประกอบการ ดังนั้น การใช้เงินสกุลท้องถิ่นชำระค่าสินค้าระหว่างกันจะช่วยลดผลกระทบจากความผันผวนจากการรับจ่ายเงินเป็นสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ ได้
การเจรจากับคู่ค้าในต่างประเทศเพื่อใช้เงินสกุลท้องถิ่นอาจมีขั้นตอนเพิ่มบ้างในช่วงแรก อย่างไรก็ดี ธนาคารพร้อมให้ความช่วยเหลือและให้บริการแก่ผู้ประกอบการ นอกจากนี้ธนาคารกลางในภูมิภาคมีความร่วมมือระหว่างกันในการสนับสนุนการใช้เงินสกุลท้องถิ่นให้สะดวกมากขึ้น เพื่อเป็นทางเลือกแก่ผู้ประกอบการบริหารความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ก่อนที่จะตัดสินใจเลือกใช้เงินสกุลใด ผู้ประกอบการควรศึกษาข้อมูลให้ถี่ถ้วนและพิจารณาปัจจัยอื่น ๆ ประกอบ เช่น แนวโน้มและความผันผวนของค่าเงิน กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง ต้นทุนและค่าธรรมเนียมการบริการ ความพร้อมของคู่ค้าทั้งสองฝ่าย รวมทั้งลักษณะและความจำเป็นในการใช้เงินสกุลใดสกุลหนึ่งของผู้ประกอบการเอง เพื่อเปรียบเทียบความคุ้มค่าและก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ธุรกิจ
.
.
ธปท. สนับสนุนและส่งเสริมการใช้เงินสกุลท้องถิ่นเพื่อการค้าขายระหว่างประเทศมาอย่างต่อเนื่อง โดยร่วมมือกับสถาบันการเงินทั้งในและต่างประเทศ ธนาคารกลางและหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องของประเทศคู่ค้า เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล ปรับปรุงระเบียบและหลักเกณฑ์ ตลอดจนจัดทำโครงการสนับสนุนการสร้างระบบนิเวศของอัตราแลกเปลี่ยนที่เหมาะสม โดยลดข้อจำกัดและเพิ่มความสะดวกในการใช้เงินสกุลท้องถิ่นเพื่อการค้าให้กับทั้งสถาบันการเงินและผู้ประกอบการ
โดยร่วมมือกับธนาคารกลางประเทศอินโดนีเซีย (BI) และธนาคารกลางประเทศมาเลเซีย (BNM)
ทําให้ธนาคารกลางทั้งสองสามารถเข้าถึงแหล่งสภาพคล่องเงินสกุลท้องถิ่นของคู่สัญญาได้ ซึ่งจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นแก่ภาคธุรกิจและสถาบันการเงินในการใช้เงินสกุลหยวนและบาทในการค้าและการลงทุนระหว่างกัน
เพื่อช่วยลดอุปสรรคทั้งด้านต้นทุนและเวลาที่ใช้ในการทำธุรกรรมโอนเงินระหว่างประเทศ
เพื่อร่วมหาแนวทางการส่งเสริมการใช้เงินสกุลท้องถิ่นเพื่อการชำระเงินแบบทวิภาคี ในธุรกรรมระหว่างประเทศไทยและประเทศจีน
ในบริบทที่ตลาดเงินตลาดทุนโลกมีแนวโน้มผันผวน ธปท. ให้ความสำคัญกับการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อให้เงินทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศขาเข้าและขาออกมีความสมดุลมากขึ้น
อำนวยความสะดวกผู้ประกอบการ เช่น จัดทำคู่มือการทำธุรกรรมเงินสกุลท้องถิ่นเพื่อการค้าระหว่างประเทศ หารือแนวทางการลดต้นทุนให้ผู้ประกอบการใช้เงินสกุลท้องถิ่นเพื่อการค้าได้สะดวกขึ้น
.
ทีมโครงสร้างพื้นฐานตลาดการเงิน
Email: FMInfrastructure@bot.or.th
.