มาตรการป้องปรามการเก็งกำไรค่าเงินบาท

ธนาคารแห่งประเทศไทยมีหน้าที่กำกับดูแลในการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติในการทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับเงินบาทระหว่างสถาบันการเงินในประเทศกับผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ เพื่อรักษาเสถียรภาพอัตราแลกเปลี่ยน

วัตถุประสงค์และหลักการ

เพื่อสร้างเสถียรภาพของค่าเงินบาท โดยจำกัดการทำธุรกรรมเงินบาทระหว่างสถาบันการเงินในประเทศกับ Non-residents ที่ไม่มีการค้าการลงทุนในประเทศ (Underlying) รองรับ

 

นิยาม Non-resident (NR)

 

นิติบุคคล หรือบุคคลที่ไม่ได้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย ซึ่งประกอบด้วย

  • นิติบุคคล ได้แก่ กิจการ สถาบัน กองทุน บริษัท หรือสถาบันการเงินที่ตั้งอยู่นอกประเทศไทย
  • องค์กรของรัฐบาลต่างประเทศที่ตั้งอยู่นอกประเทศไทย
  • สำนักงานสาขาและตัวแทนของนิติบุคคลซึ่งตั้งอยู่นอกประเทศไทย
  • บุคคลธรรมดาที่ไม่มีสัญชาติไทย และไม่มีใบต่างด้าว หรือใบสำคัญถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย

 

ยกเว้น

  • สถานทูตไทย สถานกงสุลไทย หรือหน่วยงานของรัฐบาลไทยที่ตั้งอยู่นอกประเทศไทย
  • สถานทูตต่างประเทศ สถานกงสุล ทบวงการชำนัญพิเศษแห่งองค์การสหประชาชาติ องค์การหรือสถาบันระหว่างประเทศที่ประจำการในประเทศไทย สถาบันการเงินระหว่างประเทศที่ประจำการในประเทศไทย
  • สำนักงานสาขาและตัวแทนของบุคคลที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศซึ่งตั้งอยู่ในประเทศไทย

 

สรุปมาตรการป้องปรามการเก็งกำไรค่าเงินบาท

มาตรการป้องปรามการเก็งกำไรค่าเงินบาท มี 4 มาตรการย่อย

1. มาตรการจำกัดการปล่อยสภาพคล่องเงินบาท

สง. ปล่อยสภาพคล่องเงินบาท หรือทำธุรกรรมที่มีผลเสมือนปล่อยสภาพคล่องเงินบาทให้แก่ NR

• กรณีมี Underlying : ทำได้ไม่เกินมูลค่า underlying

• กรณีไม่มี Underlying : ยอดคงค้างรวมทุกธุรกรรมต้องไม่เกิน 200 ล้านบาทต่อกลุ่ม NR (ยอดคงค้างแต่ละ สง.)

wave

2. มาตรการดูแลเงินทุนนำเข้า

สง. กู้ยืมเงินบาท หรือทำธุรกรรมที่มีผลเสมือนกู้ยืมเงินบาทจาก NR
• กรณีมี Underlying : ทำได้ไม่เกินมูลค่า underlying

• กรณีไม่มี Underlying : ยอดคงค้างรวมทุกธุรกรรมต้องไม่เกิน 10 ล้านบาทต่อกลุ่ม NR (ยอดคงค้างแต่ละ สง.)

wave

BOT 2 - 12

3. มาตรการดูแลบัญชี NRBA และ NRBS

สง. ต้องดูแลบัญชี NRBA และ NRBS

ยอดคงค้าง : แต่ละประเภทบัญชีต้องไม่เกิน 200 ล้านบาท ต่อราย NR (ยอดคงค้างรวมทุก สง.)

ดอกเบี้ย : งดจ่ายดอกเบี้ย ยกเว้นเฉพาะบัญชี NRBA ที่เปิดเป็นบัญชีเงินฝากประจำอายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป

wave

BOT 2 - 12

4. มาตรการดูแลธุรกรรม Non-Deliverable Forward (NDF)

สง. ระงับการทำธุรกรรม NDF อ้างอิงเงินบาทกับ NR

wave

 

ข่าวประชาสัมพันธ์ และเรื่องน่าสนใจ

การผ่อนคลายโครงการ NRQC เพิ่มเติม (ถือปฏิบัติตั้งแต่วันที่ 26 กันยายน 2566)

รายละเอียดและเอกสารที่เกี่ยวข้อง

money

การปรับลดยอดคงค้างการปล่อยสภาพคล่องเงินบาท (5 มกราคม 2564)

รายละเอียดและเอกสารที่เกี่ยวข้อง

AA

การผ่อนผันช่วงสถานการณ์ Covid-19   (1 เมษายน 2563) ปรับปรุง 19 มกราคม 2564

รายละเอียดและเอกสารที่เกี่ยวข้อง

virus
หนังสือเวียนมาตรการป้องปรามการเก็งกำไรค่าเงินบาท

  • ธปท.ฝกง.(33) ว.643/2566

    การผ่อนคลายมาตรการป้องปรามการเก็งกำไรค่าเงินบาท สำหรับนิติบุคคลที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนด (NRQC)

    ลงวันที่ 25 กันยายน 2566

    ลงวันที่ 25 กันยายน 2566

  • ธปท.ฝกง.(21) ว.3/2564

    การปรับลดวงเงินคงค้างในการทำธุรกรรมตามหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติมาตรการป้องปรามการเก็งกำไรค่าเงินบาท

    ลงวันที่ 5 มกราคม 2564

    ลงวันที่ 5 มกราคม 2564

  • ธปท.ฝกง.(21) ว.1035/2562

    การปรับลดยอดคงค้าง ณ สิ้นวันในบัญชีเงินบาทของผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศตามมาตรการป้องปรามฯ

    ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2562

    ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2562

  • ธปท.ฝกง.(21) ว.920/2561

    ปรับปรุงการจัดทำรายงานตามมาตรการป้องปรามฯ (บริษัทหลักทรัพย์)

    ลงวันที่ 17 เมษายน 2561

    ลงวันที่ 17 เมษายน 2561

  • ธปท.ฝกง.(21) ว. 1759/2560

    ผ่อนผันหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติมาตรการป้องปรามการเก็งกำไรค่าเงินบาทกรณีผิดนัดส่งมอบหลักทรัพย์โดยใช้วิธี Pending Settlement

    ลงวันที่ 2 พฤศจิกายน 2560

    ลงวันที่ 2 พฤศจิกายน 2560

  • ธปท.ฝกง.(21) ว. 1217/2560

    ขอความร่วมมือให้ติดตามข้อมูลการทำธุรกรรมเงินบาทของผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ

    ลงวันที่ 21 สิงหาคม 2560

    ลงวันที่ 21 สิงหาคม 2560

  • ธปท.ฝกง.(21) ว. 856/2560

    การปรับปรุงการรายงานตามชุดข้อมูลมาตรการป้องปรามการเก็งกำไรค่าเงินบาท (สำหรับธนาคารและบริษัทเงินทุน)

    ลงวันที่ 2 มิถุนายน 2560

    ลงวันที่ 2 มิถุนายน 2560

  • ธปท.ฝกง.(21) ว. 834/2560

    การปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติมาตรการป้องปรามการเก็งกำไรค่าเงินบาท

    ลงวันที่ 31 พฤษภาคม 2560

    ลงวันที่ 31 พฤษภาคม 2560

พิธีปฏิบัติของสถาบันการเงิน

  • 1. แนวทางการรายงานข้อมูลและยื่นขออนุญาตผ่านระบบคำขอมาตรการป้องปรามฯ สำหรับ Non-resident Qualified Company (NRQC)

  • 2. การผ่อนผันแนวปฏิบัติภายใต้มาตรการป้องปรามการเก็งกำไรค่าเงินบาท (1 เมษายน 2563) ปรับปรุง 19 มกราคม 2564

  • 3. สรุปหลักเกณฑ์ตามมาตรการป้องปรามการเก็งกำไรค่าเงินบาท (ปรับปรุง 5 มกราคม 2564)

  • 4. สรุปการปรับปรุงมาตรการป้องปรามฯ (นสว. 371/2551 เทียบกับ นสว.ใหม่ 834/2560)

  • 5. แนวปฏิบัติกรณีสถาบันการเงินปล่อยสภาพคล่องเงินบาทให้กับ NR แบบมี underlying รองรับ (ปรับปรุง 26 กันยายน 2566)

  • 6. แนวปฏิบัติกรณีสถาบันการเงินกู้หรือเสมือนกู้เงินบาทจาก NR แบบมี underlying รองรับ (ปรับปรุง ณ 26 กันยายน 2566)

  • 7. แนวปฏิบัติกรณีสถาบันการเงินในประเทศซื้อและขายเงินบาท value same day หรือ value tomorrow กับ NR แบบมี underlying รองรับ (ปรับปรุง 26 กันยายน 2566)

คู่มือระบบคำขอมาตรการป้องปราม และเอกสารประกอบการสมัคร

  • 1. คู่มือการสมัครบริการยื่นคำขออนุญาต-ระบบคำขอมาตรการป้องปราม

  • 2. คู่มือการยื่นคำขออนุญาตตามมาตรการป้องปราม

  • 3. หนังสือแสดงความตกลงขอใช้บริการระบบงานพิจารณาคำขอตามมาตรการป้องปราม

คำถาม - คำตอบ มาตรการป้องปรามการเก็งกำไรค่าเงินบาท

  • 1. คำถาม-คำตอบ เรื่อง การผ่อนคลายมาตรการป้องปรามการเก็งกำไรค่าเงินบาท ภายใต้โครงการ Non-resident Qualified Company (NRQC) ปรับปรุง ณ วันที่ 8 ก.พ. 64

  • 2. คำถาม-คำตอบ มาตรการป้องปรามการเก็งกำไรค่าเงินบาท ปรับปรุง ณ วันที่ 5 ม.ค. 64

  • 3. คำถาม-คำตอบ เรื่อง การปรับลดยอดคงค้าง ณ สิ้นวัน ในบัญชีเงินบาทของผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ

  • 4. คำถาม-คำตอบ เรื่อง การปรับลดวงเงินคงค้างการปล่อยสภาพคล่องเงินบาท จาก 600 ล้านบาทเหลือ 200 ล้านบาทต่อกลุ่ม NR

บริการยื่นคำขออนุญาตมาตรการป้องปราม