กฎหมายควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กำกับดูแลการทำธุรกรรมเงินตราต่างประเทศและการประกอบธุรกิจเงินตราต่างประเทศเพื่อรักษาเสถียรภาพอัตราแลกเปลี่ยนให้เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจของภาคเอกชนและต่อพัฒนาเศรษฐกิจการเงินของประเทศโดยรวม

กฎหมายควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน

 

กฎหมาย | ประกาศ | หนังสือเวียน

ระเบียบควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน (ฉบับประมวล)

กฎหมาย และ ประกาศที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน (ฉบับประมวล)

รายละเอียด คลิกที่นี่

ประกาศ / หนังสือเวียน

ประกาศและหนังสือเวียนที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน

รายละเอียด คลิกที่นี่

สรุปหลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน

 

สรุปหลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน เช่น การทำธุรกรรมเงินตราต่างประเทศ การโอนเงินเข้าหรือออกนอกประเทศ | สรุปหลักเกณฑ์ในรูปแบบของ Infographic

สรุปหลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน

การซื้อ ขาย แลกเปลี่ยน หรือโอนเงินตราต่างประเทศทุกประเภทจะต้องกระทำกับผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับเงินตราต่างประเทศจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เช่น นิติบุคคลรับอนุญาต (ธนาคารพาณิชย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจเงินตราต่างประเทศ) บุคคลรับอนุญาต และตัวแทนโอนเงินระหว่างประเทศ

2.1 การโอนเงินเข้าประเทศ

การโอนเงินตราต่างประเทศหรือเงินบาทเข้ามาในประเทศทำได้ไม่จำกัดจำนวน

เมื่อบุคคลใดได้รับเงินตราต่างประเทศจากต่างประเทศ เช่น ค่าสินค้าหรือบริการ เงินลงทุนหรือเงินกู้ยืมจากต่างประเทศ ที่มีจำนวนตั้งแต่ 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือเทียบเท่า บุคคลดังกล่าวจะต้องนำเงินตราต่างประเทศดังกล่าวกลับเข้าประเทศทันที ซึ่งต้องไม่เกิน 360 วันนับแต่วันที่ส่งของออกหรือวันที่ทำธุรกรรม และขายหรือฝากเงินตราต่างประเทศนั้นกับธนาคารพาณิชย์ที่ตั้งอยู่ในประเทศไทยภายใน 360 วันนับตั้งแต่วันที่ได้มาหรือนำเข้า

ในกรณีที่ได้รับเงินตราต่างประเทศจากต่างประเทศ และต้องการนำเงินตราต่างประเทศดังกล่าวไปชำระหรือหักกลบกับภาระค่าใช้จ่ายในต่างประเทศ1 สามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเงินกลับเข้าประเทศ

 

ภาระค่าใช้จ่ายในต่างประเทศที่ไปชำระได้ ไม่รวมการนำเงินไปลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศ หรือนำไปชำระเพื่อวัตถุประสงค์ที่กำหนดให้ต้องยื่นขออนุญาตจาก ธปท. ก่อน เช่น การชำระเงินที่เกี่ยวกับการซื้อหรือขายเงินตราต่างประเทศแลกกับเงินบาท หรือทำธุรกรรมอนุพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับเงินบาทกับคู่สัญญาในต่างประเทศ หรือชำระเงินที่เกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัล

 

2.2 การโอนเงินออกนอกประเทศ

    2.2.1 การชำระค่าสินค้าหรือค่าบริการ เช่น ค่าธรรมเนียม ดอกเบี้ย เงินปันผล เงินกำไร หรือค่ารอยัลตี้ รวมถึงการโอนเงินเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายการศึกษา สามารถทำได้ตามภาระค่าใช้จ่ายดังกล่าว

    2.2.2 การลงทุนหรือให้กู้ยืมในต่างประเทศ

          1) นิติบุคคลสามารถส่งเงินไปจัดตั้งหรือเข้าร่วมลงทุนในกิจการที่ต่างประเทศ โดยมีสัดส่วนการถือหุ้นตั้งแต่ร้อยละ 10 ขึ้นไป หรือส่งเงินไปลงทุนในกิจการในเครือที่ต่างประเทศ หรือให้กู้ยืมแก่กิจการที่ต่างประเทศได้ โดยไม่จำกัดจำนวน

          2) บุคคลธรรมดาสามารถส่งเงินไปจัดตั้งหรือเข้าร่วมลงทุนในกิจการที่ต่างประเทศ โดยมีสัดส่วนการถือหุ้นตั้งแต่ร้อยละ 10 ขึ้นไป หรือลงทุนหรือให้กู้ยืมแก่กิจการในเครือที่ต่างประเทศของกิจการดังกล่าวได้ โดยไม่จำกัดจำนวน

    ทั้งนี้ การส่งเงินไปลงทุนหรือให้กู้ยืมดังกล่าว จะต้องเป็นเงินตราต่างประเทศเท่านั้น ยกเว้นกรณีที่ลงทุนหรือให้กู้ยืมแก่กิจการในประเทศเวียดนาม หรือประเทศที่มีพรมแดนติดต่อกับไทย เพื่อที่จะนำไปใช้ในการค้าหรือการลงทุนในไทยหรือในประเทศดังกล่าว ให้ลงทุนหรือให้กู้ยืมเป็นเงินบาทได้

    2.2.3 การลงทุนในหลักทรัพย์ในต่างประเทศ

          1) ผู้ลงทุนสถาบัน ได้แก่ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ สำนักงานประกันสังคม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม (ไม่รวมกองทุนส่วนบุคคล) ผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ บริษัทประกันชีวิตและประกันวินาศภัย สถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้ง นิติบุคคลไทยที่มีสินทรัพย์ตั้งแต่ 5,000 ล้านบาท บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า สามารถลงทุนในหลักทรัพย์ในต่างประเทศ หรือหลักทรัพย์สกุลเงินตราต่างประเทศที่ออกหรือเสนอขายในไทยได้ไม่จำกัดจำนวน

          2) บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลไทยที่ไม่ใช่ผู้ลงทุนสถาบัน สามารถลงทุนในหลักทรัพย์ในต่างประเทศ หรือหลักทรัพย์สกุลเงินตราต่างประเทศที่ออกหรือเสนอขายในไทยโดยไม่ผ่านตัวแทนการลงทุนในประเทศให้แก่บุคคลที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศได้ในวงเงินไม่เกิน 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อรายต่อปี2

    ทั้งนี้ ผู้ลงทุนข้างต้นสามารถเลือกลงทุนผ่านตัวแทนการลงทุนในประเทศ เช่น บริษัทหลักทรัพย์ ธนาคารพาณิชย์ ผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล ได้โดยไม่จำกัดจำนวน ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามเกณฑ์ที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กำหนดด้วย

    2.2.4 การโอนเงินออกเพื่อวัตถุประสงค์อื่น

    การส่งเงินให้เปล่าแก่บุคคลในต่างประเทศ ให้ทำได้ไม่เกิน 50,000 ดอลลาร์สหรัฐหรือเทียบเท่าต่อรายต่อปี ทั้งนี้ กรณีการส่งเงินของผู้ที่ย้ายถิ่นฐานไปอยู่ต่างประเทศเป็นการถาวร หรือการส่งเงินให้ญาติที่ย้ายถิ่นฐานไปอยู่ต่างประเทศเป็นการถาวร หรือการส่งเงินบริจาคให้แก่สาธารณประโยชน์ ให้ทำได้โดยไม่จำกัดจำนวน

    การโอนเงินออกนอกประเทศผ่านธนาคารพาณิชย์เพื่อวัตถุประสงค์อื่นๆ สามารถทำได้ตามภาระผูกพันการชำระเงินในต่างประเทศ ยกเว้นวัตถุประสงค์ที่กำหนดให้ต้องยื่นขออนุญาตจาก ธปท. ก่อน เช่น การชำระเงินที่เกี่ยวกับการซื้อหรือขายเงินตราต่างประเทศแลกกับเงินบาท การทำธุรกรรมอนุพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับเงินบาทกับคู่สัญญาในต่างประเทศ และการชำระเงินที่เกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัล เป็นต้น

 

2 โดยให้มาลงทะเบียนผ่าน BOTWebsite เพื่อยื่นแบบแจ้งความประสงค์การลงทุนในตราสารในต่างประเทศ และอนุพันธ์ เป็นรายปี และให้รายงานยอดคงค้างการลงทุนตามเกณฑ์ที่ ธปท. กำหนด

นักลงทุนต่างชาติสามารถโอนเงินเข้ามาลงทุนในประเทศไทยได้โดยไม่มีข้อจำกัดทั้งการลงทุนโดยตรง การลงทุนในหุ้น หรือตราสารทางการเงินในประเทศไทย

การส่งคืนเงินลงทุน หรือชำระคืนเงินกู้จากต่างประเทศ สามารถดำเนินการได้โดยผ่านธนาคารพาณิชย์ ทั้งนี้ หากเป็นเงินกู้ที่ไม่ได้นำเข้ามาในประเทศไทย จะต้องเป็นเงินกู้ที่นำไปชำระภาระผูกพันในต่างประเทศตามที่กำหนด ซึ่งต้องไม่ใช่วัตถุประสงค์ที่กำหนดให้ต้องยื่นขออนุญาตจาก ธปท. ก่อน

บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลไทยสามารถชำระเงินตราต่างประเทศให้แก่บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลไทยรายอื่นได้ ซึ่งต้องสอดคล้องกับการดำเนินธุรกิจหรือความจำเป็นในการใช้เงินตราต่างประเทศ และธุรกรรมนั้นจะต้องมีความเชื่อมโยงกับต่างประเทศ เช่น การชำระค่าสินค้าและบริการเป็นเงินตราต่างประเทศในห่วงโซ่อุปทาน (supply chain)

ทั้งนี้ การดำเนินการดังกล่าวไม่รวมการชำระเงินตราต่างประเทศระหว่างกันเพื่อวัตถุประสงค์ที่กำหนดให้ต้องขออนุญาตจาก ธปท. ก่อน ได้แก่ การชำระเงินที่เกี่ยวกับการซื้อขาย แลกเปลี่ยน หรือให้กู้ยืมเงินตราต่างประเทศ และการชำระเงินที่เกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัล นอกจากนี้ ไม่อนุญาตให้ชำระเงินตราต่างประเทศระหว่างกันเป็นเงินสด

5.1 บัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศของบุคคลไทย

บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลไทยสามารถเปิดบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศไว้กับธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทยได้ โดยมีเงื่อนไขการฝากหรือถอน ดังนี้

    5.1.1 การฝาก

    บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลไทยสามารถนำเงินตราต่างประเทศฝากในบัญชีตามกรณีดังนี้ได้ โดยไม่จำกัดจำนวน

         1) เงินตราต่างประเทศอันมีแหล่งที่มาจากต่างประเทศ เช่น รายได้ ค่าบริการ เงินลงทุนที่ได้รับมาจากต่างประเทศ

         2) เงินตราต่างประเทศที่ตนเองได้จากการซื้อ แลกเปลี่ยน หรือกู้ยืมจากธนาคารพาณิชย์

         3) เงินตราต่างประเทศที่ได้รับชำระจากบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลไทยรายอื่น

    ทั้งนี้ กรณีบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลไทยฝากธนบัตรเงินตราต่างประเทศ ให้สามารถฝากได้ (1) ไม่เกินจำนวนเงินที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ หรือไม่เกินจำนวนเงินที่ได้รับจากธนาคารพาณิชย์หรือผู้ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจเงินตราต่างประเทศประเภทอื่น หรือ (2) ไม่เกินวันละ 15,000 ดอลลาร์สหรัฐหรือเทียบเท่า

    5.1.2 การถอน

         1) เพื่อชำระภาระผูกพันให้แก่บุคคลในต่างประเทศ หรือบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลไทยรายอื่นตามความจำเป็นตามข้อ 4

         2) เพื่อชำระภาระผูกพันให้แก่ธนาคารพาณิชย์ หรือผู้ประกอบธุรกิจเงินตราต่างประเทศประเภทอื่น

         3) เพื่อฝากเข้าบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศบัญชีอื่นของตน หรือของบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคลไทยรายอื่น

         4) เพื่อขายเป็นเงินบาท

    ทั้งนี้ สามารถถอนเพื่อแลกเปลี่ยนเป็นเงินตราต่างประเทศสกุลอื่นกับธนาคารพาณิชย์ก่อนจะดำเนินการตามข้างต้นได้ด้วย

5.2 บัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศของบุคคลที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ

บุคคลที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศสามารถเปิดบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศกับธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทยได้ โดยการฝากหรือถอนเงินจากบัญชีดังกล่าวสามารถทำได้โดยไม่มีข้อจำกัด เว้นแต่เป็นการฝากธนบัตรเงินตราต่างประเทศให้ถือปฏิบัติเช่นเดียวกับกรณีการฝากธนบัตรเงินตราต่างประเทศของบุคคลไทย

5.3 บัญชีเงินบาทของบุคคลที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ

บุคคลที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศสามารถเปิดบัญชีเงินบาทไว้กับธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทยได้ 2 ประเภท ดังนี้

    5.3.1 บัญชีเพื่อการลงทุนในหลักทรัพย์และตราสารทางการเงินอื่น
    การฝากหรือถอนเงินจากบัญชีต้องเป็นไปเพื่อการลงทุนในหลักทรัพย์และตราสารทางการเงินในประเทศไทย เช่น หุ้น พันธบัตร เป็นต้น

    5.3.2 บัญชีเพื่อวัตถุประสงค์ทั่วไป

    การฝากหรือถอนเงินจากบัญชีต้องเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์อื่นที่ไม่ใช่เงินลงทุนในหลักทรัพย์และตราสารทางการเงิน เช่น ค่าสินค้าบริการ เงินลงทุนโดยตรง เงินกู้ยืม เงินลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น

    ทั้งนี้ ยอดคงค้างในบัญชี ณ สิ้นวันสำหรับบัญชีแต่ละประเภทต้องไม่เกิน 200 ล้านบาทต่อราย และห้ามโอนเงินระหว่างบัญชีแต่ละประเภท

ผู้ประกอบการในไทยสามารถทำสัญญาซื้อหรือขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้ากับธนาคารพาณิชย์ เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนในกรณีต่างๆ ได้ เช่น กรณีมีรายได้หรือรายจ่ายที่เป็นเงินตราต่างประเทศในอนาคต มีการลงทุนในต่างประเทศ หรือมีความเสี่ยงที่เกิดจากการบันทึกรายการในงบการเงิน เป็นต้น รวมทั้งสามารถทำสัญญาป้องกันความเสี่ยงแทนกิจการในเครือในประเทศ และสามารถทำสัญญาดังกล่าวโดยใช้ประมาณการรายได้หรือรายจ่ายหรือความเสี่ยงตามที่กำหนดได้ ทั้งนี้ การต่ออายุหรือยกเลิกสัญญาซื้อหรือขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าดังกล่าว สามารถทำได้เสรี3

 

การทำสัญญาป้องกันความเสี่ยงแทนกิจการในเครือในประเทศ หรือโดยใช้ประมาณการ หรือการต่ออายุหรือยกเลิกสัญญาเสรี ไม่รวมถึงการทำสัญญาป้องกันความเสี่ยงกรณีค่าทองคำ ซึ่งเป็นกรณีที่ต้องขออนุญาตต่อ ธปท.

ผู้ที่ทำธุรกรรมซื้อ ขาย ฝาก หรือถอนเงินตราต่างประเทศกับธนาคารพาณิชย์ ต้องแจ้งรายการการทำธุรกรรมเงินตราต่างประเทศต่อธนาคารพาณิชย์

ทั้งนี้ กรณีการทำธุรกรรมของบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลไทยที่มีมูลค่าตั้งแต่ 200,000 ดอลลาร์ สรอ. ต่อรายการ ให้ยื่นเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องต่อธนาคารพาณิชย์ เว้นแต่กรณีที่ลูกค้าผ่านกระบวนการรู้จักลูกค้า (Know Your Business (KYB)) กับธนาคารพาณิชย์ และเป็นธุรกรรมที่ไม่อยู่ในข่ายที่ต้องตรวจสอบเพิ่มเติม ธนาคารพาณิชย์สามารถไม่เรียกให้ลูกค้ายื่นเอกสารหลักฐานได้เมื่อทำธุรกรรมดังกล่าวแล้ว ธนาคารจะออกหลักฐานประกอบการทำธุรกรรมเงินตราต่างประเทศตามที่กำหนด ให้แก่ผู้ทำธุรกรรม 

8.1 การนำธนบัตรเงินตราต่างประเทศหรือเงินบาทเข้ามาในประเทศทำได้ไม่จำกัดจำนวน

8.2 การนำธนบัตรเงินตราต่างประเทศหรือเงินบาทออกไปยังต่างประเทศ สามารถทำได้ดังนี้

    (1) กรณีธนบัตรเงินตราต่างประเทศ สามารถนำออกไปต่างประเทศได้ตามจำนวนที่ซื้อจากธนาคารพาณิชย์หรือบุคคลรับอนุญาต (money changer)

    (2) กรณีธนบัตรบาท สามารถนำออกไปยังประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม สาธารณรัฐประชาชนจีน (เฉพาะมณฑลยูนนาน) และประเทศที่มีพรมแดนติดต่อกับประเทศไทยได้ครั้งละไม่เกิน 2,000,000 บาท สำหรับประเทศอื่นนำออกได้ไม่เกินครั้งละ 50,000 บาท

    ทั้งนี้ การนำธนบัตรเงินบาท ธนบัตรเงินตราต่างประเทศ หรือตราสารเปลี่ยนมือเข้ามาในประเทศหรือออกไปนอกประเทศ อันมีมูลค่ารวมกันเกินกว่า 450,000 บาท หรือ 15,000 ดอลลาร์สหรัฐหรือเทียบเท่า ต้องสำแดงรายการต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากรตามแบบที่กำหนด

  • Infographic สรุปหลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงิน

แนวปฏิบัติและเอกสารเผยแพร่

 

เผยแพร่เอกสาร เช่น แนวปฏิบัติของธนาคารพาณิชย์ที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมเงินตราต่างประเทศ | Infographic ต่างๆให้ download ได้

รายละเอียด

คำถามคำตอบระเบียบควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน

  • คำถามคำตอบระเบียบควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน ปรับปรุงวันที่ 11 พ.ย. 65

คำถามคำตอบ เรื่องศูนย์บริหารเงิน

  • คำถามคำตอบ เรื่อง ศูนย์บริหารเงิน (ปรับปรุงวันที่ 16 มิ.ย. 2565)

คำถามคำตอบ เรื่องบุคคลรับอนุญาต

  • คำถามคำตอบ เรื่อง บุคคลรับอนุญาต (ปรับปรุงวันที่ 5 ก.ค. 2565)

คำถามคำตอบ เรื่องการประกอบธุรกิจเงินอิเล็กทรอนิกส์รับอนุญาต

  • คำถามคำตอบ เรื่อง การประกอบธุรกิจเงินอิเล็กทรอนิกส์รับอนุญาต (ปรับปรุงวันที่ 22 เม.ย. 2564)

  • เอกสารหลักฐานประกอบการโอนเงินออกนอกประเทศของสมาคมธนาคารไทย และสมาคมธนาคารนานาชาติ วันที่ 16 มิถุนายน 2566

  • แนวปฏิบัติของธนาคารพาณิชย์ที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมเงินตราต่างประเทศ วันที่ 18 เมษายน 2565

  • แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการกำกับดูแลการปฏิบัติงานและการบริหารจัดการความเสี่ยงของการประกอบธุรกิจที่สำนักงานใหญ่ สาขา และช่องทางให้บริการ สำหรับผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับเงินตราต่างประเทศที่ไม่ใช่นิติบุคคลรับอนุญาต วันที่ 1 มิถุนายน 2567

Slide ประชุมชี้แจง ธพ.

  • Slide ชี้แจงการผ่อนคลายเกณฑ์บัญชี FCD และการลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศ เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2563

  • Slide ชี้แจงการผ่อนคลายเกณฑ์ควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2565

การผ่อนคลายเกณฑ์การทำธุรกรรมเงินตราต่างประเทศให้บริษัทและกลุ่มบริษัทที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนด (Qualified Company)

  • Slide แถลงข่าวมิติใหม่ของการทำธุรกรรม FX 31 พฤษภาคม 61

  • Slide ตัวอย่างแนวนโยบายการบริหารความเสี่ยง

  • Slide ผ่อนคลายเกณฑ์การทำธุรกรรมเงินตราต่างประเทศให้ Qualified Company 21 ก.พ. 61

  • คำถาม-คำตอบเกี่ยวกับการผ่อนคลายเกณฑ์การทำธุรกรรมเงินตราต่างประเทศให้ Qualified Company

แนวทางการปฏิรูปกฎเกณฑ์ควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน

  • Slide จัดประชุมชี้แจงเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2560​

การลงทุนในต่างประเทศ

 

ลงทุนโดยตรงในกิจการ | ลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศ

ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

ลงทุนโดยตรงในกิจการ

อ่านต่อ

ลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศ

อ่านต่อ