คำถามที่พบบ่อย

1.1 จะสามารถตรวจสอบรายชื่อผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับอนุญาตหรือขึ้นทะเบียนได้อย่างไร
  • สามารถตรวจสอบได้ที่หน้าเว็บไซต์รายชื่อผู้ประกอบธุรกิจ (Link)

2.1 จะสามารถหาข้อมูลเกี่ยวกับการขอรับใบอนุญาตและขั้นตอนการดำเนินการจากที่ไหน
  • สามารถศึกษาข้อมูลขั้นตอนการขอรับใบอนุญาต (Link) และสามารถศึกษาหลักเกณฑ์และข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมได้ที่ประกาศที่เกี่ยวข้อง (Link) และคู่มือสำหรับประชาชน (Link)

 

​2.2 นิติบุคคลต่างประเทศสามารถขอใบอนุญาตตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงินได้หรือไม่

  • คุณสมบัติของผู้ขอใบอนุญาต/ขึ้นเทะเบียนเพื่อประกอบธุรกิจระบบการชำระเงินหรือบริการการชำระเงินภายใต้การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน ต้องเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งในประเทศไทย เว้นแต่ผู้ประกอบธุรกิจระบบเครือข่ายบัตร ซึ่งสามารถศึกษาหลักเกณฑ์ตามประกาศที่ ธปท. 3/2561 (Link) เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขออนุญาตการประกอบธุรกิจระบบการชำระเงินภายใต้การกำกับ นอกจากนี้ การให้บริการบางประเภทอาจต้องปฏิบัติตามกฎหมายอื่นด้วย เช่น การโอนเงินระหว่างประเทศ ซึ่งต้องขออนุญาตตาม พ.ร.บ. ควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินด้วย จึงควรศึกษาหลักเกณฑ์อื่นที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม ซึ่งสามารถโทรสอบถามได้ที่ 02-356-7799

 

​2.3 หากต้องการประกอบธุรกิจที่อาจเข้าข่ายเป็นบริการที่อยู่ภายใต้การกำกับ แต่ยังไม่ได้จัดตั้งบริษัทสามารถขอนัดหารือ ธปท. ก่อนได้หรือไม่

  • ในเบื้องต้น ​ผู้ที่สนใจสามารถศึกษาประกาศที่เกี่ยวข้อง (Link) และคู่มือประชาชน (Link) ผ่านทางเว็บไซต์ ธปท. และหากมีความแน่ชัดในการประกอบธุรกิจและมีรูปแบบการให้บริการที่ชัดเจนแล้ว สามารถศึกษาขั้นตอนการขออนุญาตได้จากหน้าเว็บไซท์ การขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจ e-Payment (Link)

 

2.4 ​หลังจากได้รับอนุญาตหรือขึ้นทะเบียนแล้ว บริษัทต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์หรือมีเงื่อนไขเพิ่มเติมที่ต้องปฏิบัติหรือไม่อย่างไร

  • 1. ปฏิบัติตามเงื่อนไขการอนุญาตหรือขึ้นทะเบียนที่ รมว.คลัง และ ธปท. กำหนด
    2. ประกอบธุรกิจโดยปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่ประกาศกำหนด เช่น การแจ้งเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ การขออนุญาตดำเนินการ การส่งรายงาน รวมทั้ง ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ ธปท. กำหนดในการรับทราบ หรืออนุญาตตามหลักเกณฑ์

 

​2.5 รัฐวิสาหกิจสามารถขอใบอนุญาตหรือขึ้นทะเบียนได้หรือไม่ และต้องใช้เอกสารใดบ้าง

  • ​ตามประกาศ ธปท. ที่ 3/2561 (Link) และ 5/2561 (Link) ข้อ 4.2 (1.1.2) ระบุว่ารัฐวิสาหกิจเป็นนิติบุคคลที่สามารถยื่นขออนุญาตได้ ทั้งนี้ สามารถศึกษาหลักเกณฑ์และขั้นตอนการขออนุญาตจากหน้าเว็บไซท์ การขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจ e-Payment (Link)

 

​2.6 หากต้องการศึกษารายละเอียดคุณสมบัติของบริษัทที่สามารถขออนุญาตหรือขึ้นทะเบียนได้ และข้อกำหนดเรื่องทุนจดทะเบียนซึ่งชำระแล้วของแต่ละประเภทบริการได้ที่ไหน

  • ​ขอให้บริษัทศึกษาประกาศ ธปท. ที่ 3/2561 (Link) และ 5/2561 (Link) และสามารถศึกษาหลักเกณฑ์และขั้นตอนการขออนุญาต/ขึ้นทะเบียนจากหน้าเว็บไซท์ การขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจ e-Payment (Link)

 

2.7 ​บริษัทที่จะขอใบอนุญาต จำเป็นต้องจัดตั้งใหม่หรือไม่ หรือสามารถใช้บริษัทที่ดำเนินการอยู่แล้วมาขอใบอนุญาตได้เลย

  • บริษัทที่ประกอบธุรกิจอื่นอยู่แล้ว สามารถยื่นขออนุญาตหรือขึ้นทะเบียนได้ โดยต้องมีคุณสมบัติเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ประกาศกำหนด ทั้งนี้ กรณีการประกอบธุรกิจ emoney ที่ต้องได้รับอนุญาต จะมีหลักเกณฑ์ที่กำหนดเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจอื่น ซึ่งสามารถดำเนินการได้เฉพาะที่ ธปท. อนุญาตให้เป็นรายกรณีเท่านั้น ดังนั้น หากบริษัทมีการประกอบธุรกิจอื่นอยู่ด้วย จะต้องหารือกับ ธปท. เพื่อพิจารณาก่อนดำเนินการขออนุญาต ทั้งนี้ สามารถศึกษาหลักเกณฑ์เพิ่มเติมได้จากประกาศที่เกี่ยวข้อง (Link)

 

​2.8 ใบอนุญาตสามารถโอนเปลี่ยนมือได้หรือไม่ 

  • ​การอนุญาตเป็นการให้เฉพาะนิติบุคคลนั้น จึงไม่สามารถโอนหรือเปลี่ยนมือได้ ดังนั้นบริษัทที่ให้บริการจะต้องมี License

 

​2.9 ทุนจดทะเบียนซึ่งชำระแล้ว ต้องมี bank guarantee หรือไม่

  • ​ไม่ต้อง

 

​2.10 กรณีกรรมการเป็นชาวต่างชาติ จะมีการตรวจสอบประวัติด้วยหรือไม่

  • ​ตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน มาตรา 14 กรรมการหรือผู้ซึ่งมีอำนาจจัดการต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กำหนด ซึ่ง ธปท. จะดำเนินการตรวจสอบตามที่ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยกรรมการและผู้ซึ่งมีอำนาจจัดการต้องมีการ Declare ข้อมูลตามแบบประวัติกรรมการและลงนามรับรองคุณสมบัติด้วย 

 

​2.11 การขอใบอนุญาตมีค่าธรรมเนียมหรือไม่

  • ในปัจจุบันยังไม่ได้มีการจัดเก็บค่าใบอนุญาต ทั้งนี้ หากในอนาคตจะมีการเก็บค่าใบอนุญาต จะมีการประกาศให้ทราบต่อไป

 

2.12 ​ใบอนุญาตมีวันหมดอายุหรือไม่

  • ​ใบอนุญาตไม่มีกำหนดวันหมดอายุ

 

​2.13 บริษัทที่ได้รับใบอนุญาต e-Money สามารถประกอบธุรกิจอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับ e-Payment ได้หรือไม่

  • ผู้ประกอบธุรกิจ e-Money ต้องประกอบธุรกิจเฉพาะ e-Money เท่านั้น หากจะประกอบธุรกิจอื่นจะต้องเป็นไปตามขอบเขตและเงื่อนไขตามที่ประกาศกำหนด โดยสามารถศึกษาได้ตามประกาศ สนช.ที่ 7/2561 (Link) ข้อ 4.2.11 ซึ่งระบุว่า ผู้ให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ห้ามประกอบธุรกิจอื่นนอกจาก (1) ธุรกิจที่บางส่วนหรือทั้งหมดเกี่ยวกับหรือเนื่องจากการบริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ (2) ธุรกิจอื่นที่สนับสนุนธุรกิจระบบหรือบริการการชำระเงินภายใต้การกำกับ ตราบเท่าที่ไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงอันจะกระทบต่อการดำเนินธุรกิจหลัก และเงินที่ได้รับล่วงหน้าจากผู้ใช้บริการ ดังนั้น หากบริษัทประสงค์จะประกอบธุรกิจที่ไม่เกี่ยวข้องกับ e-Payment ขอให้หารือ ธปท. ก่อน โดยประสานงานกับ Compliance Officer ที่ดูแลบริษัทได้โดยตรง

 

2.14 ​มีคู่มือประชาชนที่เป็นภาษาอังกฤษ และสามารถยื่นเอกสารที่เป็นภาษาอังกฤษได้หรือไม่

  • สามารถดู​คู่มือประชาชนฉบับภาษาอังกฤษได้ที่หน้าเว็บไซต์ (Link) ส่วนเอกสารส่วนใหญ่สามารถยื่นเป็นภาษาอังกฤษได้ ยกเว้นเอกสารที่มีการกำหนดแบบฟอร์มไว้แล้ว เช่น แบบฟอร์มการขอใบอนุญาตที่ต้องยื่นเป็นภาษาไทย

3.1 ​รูปแบบบริการที่เข้าข่ายต้องขอรับใบอนุญาตมีลักษณะอย่างไรบ้าง
  • สามารถศึกษาข้อมูลรูปแบบจากประกาศกระทรวงการคลัง
    1. การกำหนดระบบการชำระเงินภายใต้การกำกับ (Link)
    2. การกำหนดบริการการชำระเงินภายใต้การกำกับ (Link)

 

3.2 ​รูปแบบบริการที่เข้าข่ายต้องขอขึ้นทะเบียนมีลักษณะอย่างไรบ้าง

  • ​สามารถศึกษาข้อมูลรูปแบบบริการที่เข้าข่ายต้องขึ้นทะเบียนได้จากประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกำหนดบริการการชำระเงินภายใต้การกำกับ (Link) ข้อ 3 

 

​3.3 การให้บริการแก่ผู้รับบัตร (Acquiring) กับการให้บริการสนับสนุนบริการแก่ผู้รับบัตร (Payment Facilitating) แตกต่างกันอย่างไร

  • บริการทั้งสองประเภทเป็นบริการรับชำระเงินจากบัตร โดยผู้ได้รับใบอนุญาต Acquire จะต้องเป็นสมาชิกของ Card Scheme เช่น Visa MasterCard โดยตรง ส่วน PF จะไม่ได้เป็นสมาชิกโดยตรง แต่จะมีการเชื่อมต่อระบบกับผู้ได้รับใบอนุญาต Acquire เพื่อส่งข้อมูลการชำระเงินจากบัตรเข้าสู่ระบบ Card Scheme อีกทอดหนึ่งทั้งนี้ ผู้ได้รับใบอนุญาต Acquire จะทำหน้าที่ดูแล PF ในการมีกระบวนการรับและติดตามดูแลร้านค้ารวมทั้งการปฏิบัติตาม Scheme Rule ด้วย

 

3.4 การให้บริการรับชำระเงินโดยเป็นตัวแทนของผู้ให้บริการชำระเงินภายใต้การกำกับ ต้องขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงินหรือไม่

  • ​การทำหน้าที่ในฐานะเป็นตัวแทนในการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับอนุญาตสามารถดำเนินการได้โดยผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับอนุญาตต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ตามประกาศ ธปท. ที่ สนช. 10/2561 (Link) ทั้งนี้ ตัวแทนต้องให้บริการภายใต้ขอบเขตที่ได้รับการแต่งตั้งเท่านั้น และพึงระมัดระวังมิให้มีการดำเนินการในลักษณะที่มีการหลีกเลี่ยงการขออนุญาต 

​4.1 หากบริษัทที่ได้รับอนุญาตไปแล้วมีการเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้น ต้องดำเนินการอย่างไร
  • ​ขอให้บริษัทศึกษาหลักเกณฑ์การกำกับดูแลภาพรวมและเกณฑ์อื่นๆที่เกี่ยวข้องตามใบอนุญาต (Link) และติดต่อผู้ประสานงานหลักที่ดูแลบริษัทก่อนดำเนินการดังกล่าว

 

​4.2 บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตแล้วสามารถเปลี่ยนชื่อนิติบุคคลได้หรือไม่

  • ​สามารถดำเนินการได้โดยปฏิบัติตามประกาศ ธปท. ที่ 6/2561 (Link)
    ข้อ 4.2.3 (7.2.3) ต้องแจ้งให้ ธปท. ทราบล่วงหน้าเป็นหนังสือ หรือโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ตามที่กำหนด ไม่น้อยกว่า 7 วันก่อนเริ่มดำเนินการ กรณีการเปลี่ยนแปลงชื่อนิติบุคคล
    ข้อ 4.2.3 (7.4.1) ให้แจ้งผู้ใช้บริการทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วันก่อนเริ่มดำเนินการ กรณีการเปลี่ยนแปลงชื่อนิติบุคคล การแจ้งผู้ใช้บริการให้ดำเนินการอย่างน้อย 2 ช่องทาง โดยอาจแจ้งข้อมูลผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษร หรือประกาศทางหนังสือพิมพ์ หรือปิดประกาศไว้ในที่เปิดเผย ณ สถานที่ทำการหรือจุดให้บริการของตัวแทนแต่ละแห่งที่ให้บริการก็ได้
    นอกจากนี้ ขอให้ศึกษาคู่มือสำหรับประชาชน (Link) ในเรื่องการแจ้งการเปลี่ยนแปลงชื่อนิติบุคคลเพิ่มเติมและขอให้ติดต่อผู้ประสานงานหลักที่ดูแลบริษัทก่อนดำเนินการดังกล่าวด้วย

 

4.3 ​บริษัทต้องการทำกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ในลักษณะ Co-Brand e-Money กับบริษัทที่อยู่ภายใต้กำกับ สามารถทำได้หรือไม่ 

  • ​​ขอให้ส่งรายละเอียดรูปแบบการให้บริการและข้อมูลที่เกี่ยวข้องมาทาง payment-sup@bot.or.th เพื่อให้ ธปท. พิจารณาข้อมูลเพิ่มเติมต่อไป

 

​4.4 บริษัทต้องการให้บริการรับชำระเงินแทนผ่านกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ของต่างประเทศ เช่น WeChat/Alipay ต้องขอใบอนุญาตหรือไม่

  • ​บริษัทต้องขอใบอนุญาตรับชำระเงินแทน โดยขอให้บริษัทศึกษาขั้นตอนขั้นตอนการขออนุญาตจากหน้าเว็บไซต์ การขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจ e-Payment (Link)

 

​4.5 ​บริษัทต้องการให้บริการโอนเงินระหว่างประเทศ ต้องขอใบอนุญาตหรือไม่ อย่างไรบ้าง

  • ​บริษัทต้องได้รับใบอนุญาตการโอนเงินตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน และตัวแทนโอนเงินระหว่างประเทศ (Money Transfer Agent) ตาม พ.ร.บ. ควบคุมการแลกเปลี่ยน วิธีการขอใบอนุญาตตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน สามารถดูได้หน้าเว็บไซต์ การขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจ e-Payment (Link) ส่วนวิธีการขอใบอนุญาตตาม พ.ร.บ. ควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน สามารถโทรสอบถามได้ที่ 02-356-7799 และสามารถดูได้หน้าเว็บไซต์ การยื่นคำร้องขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจเป็นตัวแทนโอนเงินระหว่างประเทศ 

 

4.6 บริษัทในต่างประเทศให้บริการโอนเงินระหว่างประเทศ สนใจจะให้บริการในประเทศไทยด้วย ต้องขอใบอนุญาตหรือไม่

  • ​​รูปแบบการให้บริการดังกล่าวอาจมีความเกี่ยวข้องกับการโอนเงินตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน และตัวแทนโอนเงินระหว่างประเทศ (Money Transfer Agent) ตาม พ.ร.บ. ควบคุมการแลกเปลี่ยน ขอให้บริษัทศึกษาวิธีการขอใบอนุญาตตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน สามารถดูได้หน้าเว็บไซต์ (Link) ส่วนวิธีการขอใบอนุญาตตาม พ.ร.บ. ควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน สามารถโทรสอบถามได้ที่ 02-356-7799 และสามารถดูได้หน้าเว็บไซต์ การยื่นคำร้องขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจเป็นตัวแทนโอนเงินระหว่างประเทศ 

​4.7 หากเป็นผู้ประกอบธุรกิจภายใต้การกำกับฯ จะสามารถหาข้อมูลเกณฑ์การกำกับที่ต้องปฏิบัติในเบื้องต้นได้จากที่ไหน

  • ​​ผู้ประกอบธุรกิจสามารถศึกษาหลักเกณฑ์ทั่วไปในการกำกับดูแลได้จากประกาศ 6/2561 (Link)

 

4.8 บริษัทจะต้องทำ KYC ลูกค้าอย่างไร และต้องปฏิบัติตามกฎหมายใดบ้าง

  • บริษัทต้องไปศึกษาหลักเกณฑ์การทำ KYC ของ ปปง. ก่อน เนื่องจากหลักเกณฑ์ของ ปปง. จะเป็นหลักเกณฑ์ทั่วไปที่ต้องปฏิบัติซึ่งครอบคลุมทุกผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ หากบริษัทให้บริการ e-Money ต้องปฏิบัติเพิ่มเติมตามหลักเกณฑ์ ธปท. ประกาศที่ สนช. 1/2563 (Link) เรื่อง หลักเกณฑ์การรู้จักลูกค้า (Know Your Customer: KYC) สำหรับการเปิดใช้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งการจะทำ KYC แบบใดขึ้นอยู่กับความเสี่ยงของผลิตภัณฑ์นั้น ๆ โดยสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่หน้าเว็บไซต์ของ ธปท. ที่ (Link)

 

4.9 ​การให้ข้อมูลส่วนบุคคลในขั้นตอนทำ KYC เพื่อการเปิดกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ มีวัตถุประสงค์อย่างไร และจะมั่นใจได้อย่างไรว่าข้อมูลดังกล่าวจะได้รับการรักษาเป็นความลับไม่ถูกเปิดเผย

  • ​การกรอกและหรือให้ข้อมูลดังกล่าวเป็นการทำ KYC เป็นการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของ ปปง.และประกาศ ธปท. ที่ สนช. 1/2563 (Link) ด้วย ซึ่งระดับการ KYC จะขึ้นอยู่กับผลิตภัณฑ์ ทั้งนี้ บริษัทที่อยู่ภายใต้การกำกับจะต้องมีระบบการควบคุมภายใน การบริหารความเสี่ยงต่าง ๆ ที่รัดกุม เพื่อป้องกันการรั่วไหลของข้อมูลเช่นกัน ซึ่ง ธปท. จะมีการกำกับดูแลให้บริษัทภายใต้การกำกับปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งบริษัทยังต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ. คุ้มครองส่วนบุคคลด้วย

 

4.10 ​หากบริษัทต้องการยกเลิกใบอนุญาต ต้องดำเนินการอย่างไร

  • ต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดตามตามประกาศ สนช. 4/2561 (Link) ข้อ 4.9 สำหรับผู้ให้บริการระบบการชำระเงินภายใต้การกำกับ และ ประกาศ สนช. 6/2561 (Link) ข้อ 4.6 และประสานงานกับเจ้าหน้าที่ประสานงานหลักเพื่อดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดไว้

​5.1 ต้องการร้องเรียนการให้บริการของผู้ให้บริการภายใต้การกำกับหรือร้องเรียนเรื่องว่ามีการให้บริการโดยที่ผู้ให้บริการยังไม่ได้อยู่ภายใต้การกำกับตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน
  • ​ขอให้ส่งรายละเอียดเรื่องร้องเรียนมาทางอีเมล payment-sup@bot.or.th โดยขอให้แจ้งชื่อนามสกุลผู้ร้องเรียน บริษัทที่จะร้องเรียน และรายละเอียดรวมถึงเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วนและชัดเจน เพื่อ ธปท. จะได้ดำเนินการต่อไป