ต่อยอดธุรกิจ SMEs ให้เติบโตด้วยสินเชื่อเครือข่ายธุรกิจ

ปราณี จิระกิตติเจริญ | ธัญญารัตน์ แพงเกาะ | ทักษอร พรถาวร สำนักงานภาคเหนือ ธนาคารแห่งประเทศไทย

09 พ.ค. 2566

SMEs มีบทบาทสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจไทย มีมูลค่าทางเศรษฐกิจถึง 1.54 ล้านล้านบาท คิดเป็น 35.6% ของ GDP(1) และมีการจ้างงานในระบบประกันสังคม 11.5 ล้านคน แหล่งกู้ยืมหลักเพื่อใช้จ่ายในธุรกิจกว่า 80% มาจากสถาบันการเงิน(2) ซึ่งยังมีข้อจำกัดในการเข้าถึงสินเชื่อ ส่วนหนึ่งมาจากขาดหลักทรัพย์ค้ำประกัน และขาดหลักฐานทางการเงินที่เพียงพอในการพิจารณาสินเชื่อ

 

บทความนี้จัดทำขึ้นเพื่อส่งเสริมช่องทางที่ช่วยให้ธุรกิจเข้าถึงสินเชื่อได้มากขึ้น โดยเฉพาะสำหรับ SMEs ที่ส่งมอบสินค้าหรือบริการให้กับธุรกิจรายใหญ่ ผ่าน “สินเชื่อเครือข่ายธุรกิจ” ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่สามารถแก้ข้อจำกัดของ SMEs ด้านหลักประกันและหลักฐานทางการเงินได้ บทความนี้มุ่งให้ท่านรู้จักสินเชื่อเครือข่ายธุรกิจว่าคืออะไร มีข้อดีอย่างไร และหากสนใจผลิตภัณฑ์ทางการเงินนี้ ธุรกิจจะต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง

sme-gdp

สินเชื่อเครือข่ายธุรกิจ (Supply Chain Finance) 

 

เป็นสินเชื่อหมุนเวียนสำหรับผู้ขายสินค้าในระหว่างที่รอรับเงินตามเครดิตเทอม ผ่านการขายลูกหนี้การค้า และโอนสิทธิการรับเงินเมื่อครบกำหนดให้กับสถาบันการเงิน หรือผู้ให้บริการที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (non-bank) ที่รับซื้อลูกหนี้การค้านั้น

mechanism

กลไกของสินเชื่อเครือข่ายธุรกิจ

 

ผู้ซื้อ (sponsor) ต้องเพิ่มขั้นตอนการส่งข้อมูลการค้าที่มีกับผู้ขาย (supplier) ให้สถาบันการเงิน/non-bank เพื่อยืนยันการรับสินค้าว่าถูกต้องครบถ้วนตาม invoice ซึ่งข้อมูลการค้าเหล่านี้ supplier สามารถดูผ่านระบบของสถาบันการเงินนั้น ๆ ได้ หาก supplier สนใจขอสินเชื่อ สามารถเลือก invoice ที่ต้องการ จากนั้นวงเงินสินเชื่อจะโอนเข้าบัญชีของ supplier และเมื่อครบกำหนดเครดิตเทอม sponsor จะชำระค่าสินค้าให้กับสถาบันการเงิน/non-bank 

component
box

มองไปข้างหน้า

 

  • การปรับกระบวนการของธุรกรรมการค้าให้เป็นดิจิทัลมากขึ้น เป็นทางรอดให้ธุรกิจในโลกยุคใหม่ เพื่อตอบโจทย์การแข่งขันทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วทั้งพัฒนากระบวนการ ลดต้นทุน เพิ่มความรวดเร็ว และตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของผู้บริโภค หลายธุรกิจเห็นโอกาสและเริ่มปรับธุรกรรมการค้าและบริการให้เป็นดิจิทัลแบบครบวงวรมากขึ้น อาทิ การใช้ระบบ Enterprise Resource Planning (ERP) สำหรับการบริหารจัดการธุรกิจที่จะเชื่อมโยงกระบวนการทำงานภายในองค์กรและเก็บข้อมูลในรูปแบบดิจิทัล

 

  • โครงสร้างพื้นฐานทางการเงินและการชำระเงินสำหรับภาคธุรกิจเป็นอีกหนึ่งโครงการที่แบงก์ชาติสนับสนุนซึ่งนอกจากจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่ธุรกิจแล้วยังสามารถนำมาใช้เป็นข้อมูลทางเลือก (alternative data) ในการพิจารณาการให้สินเชื่อ เพิ่มโอกาสให้ธุรกิจเข้าถึงสินเชื่อได้ดีขึ้นอีกด้วย
digital

ธุรกิจที่ต้องการตัวช่วยเพื่อปรับสู่ดิจิทัล “สินเชื่อเพื่อการปรับตัว

 

สนับสนุนผู้ประกอบธุรกิจที่ได้ประคับประคองกิจการให้ผ่านสถานการณ์โควิด-19 มาได้ ให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่มีวงเงินและดอกเบี้ยที่เหมาะสม เพื่อนำไปปรับปรุง พัฒนา และเสริมศักยภาพธุรกิจให้รับกระแสดิจิทัลเทคโนโลยี (digital technology) การดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (green) และนวัตกรรมแห่งโลกอนาคต (innovation) ภายใต้เงื่อนไขการค้ำประกันที่ยืดหยุ่นขึ้น

Key takeaway

 

  • ทั้งสินเชื่อเครือข่ายธุรกิจและสินเชื่อแฟคตอริ่ง เป็นผลิตภัณฑ์ที่ช่วยเสริมสภาพคล่องระยะสั้นให้แก่ผู้ผลิต/ผู้ขายด้วยต้นทุนดอกเบี้ยที่ต่ำลง เหมาะกับธุรกิจที่ต้องการขยายกิจการและมีเครดิตเทอมยาว แต่มีหลักประกันไม่เพียงพอที่จะขอสินเชื่อเพิ่ม
  • ธุรกิจในภูมิภาคที่สนใจสินเชื่อเครือข่ายธุรกิจ ควรเตรียมตัวอย่างไร

          - สำรวจธุรกิจของลูกค้าที่เป็นผู้ซื้อรายใหญ่ว่ามีฐานะการเงินมั่นคง

          - แสดงความประสงค์ไปที่สถาบันการเงินที่ผู้ซื้อรายใหญ่ (sponsor) ใช้บริการอยู่ว่าต้องการสินเชื่อเครือข่ายธุรกิจ และแจ้ง sponsor รายนั้น เพื่อขอความร่วมมือในการให้ข้อมูลทางการค้าหรือยืนยันธุรกรรมกับสถาบันการเงิน

 

  • การดำเนินธุรกิจที่ใช้ paper-based มีต้นทุนในการจัดการเอกสาร ซึ่งใช้เวลามากและผิดพลาดได้ง่าย หากธุรกิจปรับมาใช้การเก็บข้อมูลในรูปแบบดิจิทัล รวมทั้งใช้ระบบการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์แล้ว จะช่วยเพิ่มความสะดวกในการทำธุรกรรมทางการเงิน การยื่นภาษี และการขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินได้ง่ายขึ้น โดยปัจจุบันมีผู้ให้บริการ ERP software accounting software และผู้ให้บริการ tax service provider ให้เลือกตามความเหมาะสมของขนาดธุรกิจ

 

“บทความนี้เป็นข้อคิดเห็นส่วนบุคคล ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับข้อคิดเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทย”