เปิดมิติงานต่างประเทศ

ของธนาคารกลาง

.

International Theme

Editor’s welcome

 

ก่อนอื่นต้องขอกล่าวสวัสดีปีใหม่ 2567 ผู้อ่านทุกท่านนะคะ ปีนี้เป็นปีมังกรธาตุไม้ที่เขาว่ากันว่าจะเป็นจุดเริ่มต้นของความเปลี่ยนแปลง แต่ไม่ว่าจะเปลี่ยนแปลงอย่างไร ก็ขอให้เป็นการเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้นสำหรับทุกคนนะคะ

 

หลายปีที่ผ่านมา เราเห็นกระแสความเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจการเงินโลกอย่างต่อเนื่อง ท่านผู้อ่านอาจจะคุ้นชินกับการดำเนินนโยบายในประเทศของ ธปท. ที่ทำหน้าที่รักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจและช่วยพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ซึ่งจริง ๆ แล้ว งานด้านต่างประเทศของ ธปท. ก็เป็นอีกหน้างานสำคัญที่จะช่วยสนับสนุนการทำหน้าที่ดังกล่าวของเราเช่นกัน แต่อาจไม่ได้มีโอกาสมาเล่าสู่กันฟังมากนัก

 

พระสยาม BOT MAGAZINE ฉบับต้นปีนี้ จึงขอชวนทุกท่านไปเจาะลึกการทำงานด้านต่างประเทศของ ธปท. ที่ต้องผสานทั้ง “ศาสตร์” และ “ศิลป์” ไม่ว่าจะเป็นการดำเนินนโยบายที่ตั้งอยู่บนหลักวิชาการ การคิดรอบด้าน ควบคู่ไปกับการแสดงความเป็นมืออาชีพของธนาคารกลางไทยบนเวทีโลก รวมถึงสร้างความสัมพันธ์กับธนาคารกลางต่างประเทศ องค์กรระหว่างประเทศ และ stakeholder อื่น ๆ เพื่อผลักดันนโยบายของประเทศและรักษาผลประโยชน์ของประเทศไว้ให้มากที่สุด นอกจากนี้ ยังต้องเร่งพัฒนาบุคลากรของธนาคารกลางให้เป็นกำลังสำคัญในการยกระดับขีดความสามารถด้านเศรษฐกิจการเงินให้กับไทยและภูมิภาคอาเซียนต่อไป

crowded people

Highlight

 

“ศาสตร์และศิลป์” ของธนาคารกลางในงานต่างประเทศ

 

“ปัจจัยพื้นฐานที่จะทำให้ ธปท. ประสบความสำเร็จในการดำเนินงานด้านต่างประเทศเป็นเรื่องเดียวกันกับการดำเนินงานภายในประเทศ นั่นคือ การได้รับความไว้วางใจและความเชื่อถือ”

 

 

“ผู้พิทักษ์เศรษฐกิจการเงินภายในประเทศ (guardian of domestic finance and economy)”
บางคนเลือกพูดถึงธนาคารกลางไว้เช่นนี้ เมื่อต้องนิยามบทบาทและหน้าที่ของสถาบันด้านนโยบายเศรษฐกิจแห่งนี้แบบกระชับ คำเปรียบเปรยนี้สะท้อนบทบาทของธนาคารกลางบนเส้นแบ่ง “พรมแดน” ของประเทศได้อย่างน่าสนใจ

title-iconHighlight

จาก “มนต์แคน แก่นคูน” ถึงการหมดยุคของ “เมืองโตเดี่ยว” ทำไมเศรษฐกิจภูมิภาคถึงเป็นอนาคตของประเทศไทย

คงไม่เกินจริงไปนักหากจะบอกว่า ในเชิงวัฒนธรรมแล้ว คนกำหนดรสนิยมกระแสหลักของสังคมไทยไม่ใช่แค่เพียง“กรุงเทพฯ” หรือ “ส่วนกลาง” อีกต่อไป เพราะในโลกใหม่โอกาสและความเป็นไปได้มีได้มากกว่าหนึ่งแบบ
crowded people

sethaput
Governor's Talk
 
ธปท. บนเวทีโลก ในสายตา เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ
 

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ความผันผวนและความเปลี่ยนแปลงของโลกนับเป็นประเด็นหนึ่งที่ถูกพูดถึง
มากที่สุดในด้านเศรษฐกิจการเงินระหว่างประเทศ และ ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการดูแลเศรษฐกิจของประเทศ เป็นผู้หนึ่งที่มีคนนำบทวิเคราะห์และความเห็นต่อทิศทางเศรษฐกิจไทยและแนวนโยบายของ ธปท. ในภาพใหญ่ไปอ้างอิงเป็นการทั่วไป แต่ไม่บ่อยครั้งนักที่ผู้ว่าการจะพูดถึงแนวทางดำเนินงานด้านต่างประเทศของ ธปท. ในรายละเอียด

title-iconExecutive's Talk

ด้วยบริบทที่มีเอกลักษณ์ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคอีสาน ทั้งในด้านโครงสร้างเศรษฐกิจ ทรัพยากร และวัฒนธรรม การกำหนดนโยบายจึงต้องสอดรับกับลักษณะเฉพาะของพื้นที่ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เล็งเห็นความแข็งแกร่งของผู้ประกอบการภาคอีสานซึ่งเป็นกำลังหลัก ทั้งในช่วงวิกฤตโควิด 19 และการเปลี่ยนแปลงที่จะเข้ามาเป็นความท้าทายที่ต้องได้รับการตอบสนองในอนาคต

 

คอลัมน์ Executive’s Talk ขอพาผู้อ่านทุกท่านมาพูดคุยกับ ดร.ทรงธรรม ปิ่นโต ผู้อํานวยการอาวุโส ธปท. สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พร้อมด้วยคุณเข็มชาติ สมใจวงษ์ ประธานกิตติมศักดิ์หอการค้าขอนแก่น เกี่ยวกับภาพเศรษฐกิจ จุดแข็ง จุดอ่อน และทิศทางการพัฒนาภาคอีสานผ่านการทำงานร่วมกันของ ธปท. และภาคเอกชนบนเส้นทางการขับเคลื่อนภาคอีสานให้ก้าวหน้าและทั่วถึงมากยิ่งขึ้น

ธปท. – หอการค้า ยื่นมือประสาน ร่วมพัฒนาอีสานให้ก้าวหน้า
sethaput

bot magazine 1-67

Special Scoop

 

เตรียมพร้อมนับถอยหลังสู่การเป็นเจ้าภาพการประชุมระดับโลก IMF-WBG Annual Meetings 2026 

นับถอยหลังไปอีกไม่ถึง 3 ปี ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพการประชุมเศรษฐกิจการเงินที่สำคัญที่สุดของโลกในปี 2569 ที่จะมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางเกือบ 400 คน ตลอดจนผู้บริหารสถาบันการเงินระดับโลก ผู้นำทางความคิด และนักวิชาการกว่า 12,000 คนเดินทางมาประเทศไทย เพื่อประชุมแลกเปลี่ยนมุมมองต่อเศรษฐกิจการเงินโลก และแนวทางการรับมือกับความท้าทายในด้านต่าง ๆ การประชุมที่ว่าคือ การประชุมประจำปีสภาผู้ว่าการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund: IMF) และธนาคารโลก (World Bank Group: WBG) หรือ IMF-WBG Annual Meetings (AM) ซึ่งผลการประชุมจะเป็นที่น่าจับตามองจากทั่วโลก

title-iconHighlight

จาก “มนต์แคน แก่นคูน” ถึงการหมดยุคของ “เมืองโตเดี่ยว” ทำไมเศรษฐกิจภูมิภาคถึงเป็นอนาคตของประเทศไทย

คงไม่เกินจริงไปนักหากจะบอกว่า ในเชิงวัฒนธรรมแล้ว คนกำหนดรสนิยมกระแสหลักของสังคมไทยไม่ใช่แค่เพียง“กรุงเทพฯ” หรือ “ส่วนกลาง” อีกต่อไป เพราะในโลกใหม่โอกาสและความเป็นไปได้มีได้มากกว่าหนึ่งแบบ
imf-wbg at marrakesh

bot magazine 1-67
Payment Systems
 

การต่อยอดพร้อมเพย์ด้วย Cross-border Payment ยกระดับความเข้มแข็งระบบชำระเงินระหว่างประเทศ

 

ในโลกยุคไร้พรมแดน พฤติกรรมการชำระเงินของคนไทยได้เปลี่ยนไปใช้ช่องทางอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยมีมากถึงเฉลี่ยคนละ 492 ครั้งต่อปี  เติบโตขึ้นกว่า 5 เท่าในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะตั้งแต่มีพร้อมเพย์ และ Thai QR payment ซึ่งถือว่าเป็นบริการการชำระเงินของไทยที่ประสบความสำเร็จและมีการใช้งานอย่างแพร่หลายภายในประเทศ อีกทั้งยังคงมีแนวโน้มสูงขึ้นต่อเนื่องในอนาคต ขณะที่ก้าวย่างสำคัญของภาคการเงินไทยอย่างการชำระเงินระหว่างประเทศ (cross-border payment) ก็เป็นเหมือนฟันเฟืองสำคัญที่ช่วยให้การเชื่อมโยงระหว่างประเทศ ทั้งในด้านเศรษฐกิจ การค้า การท่องเที่ยว และแรงงาน ดำเนินไปได้อย่างไร้รอยต่อและมีประสิทธิภาพ

cross border payment

Knowledge Corner

international flags

The Knowledge

รู้จักกับกลยุทธ์ด้านต่างประเทศ หางเสือของ ธปท. ในเวทีโลก

 

งานด้านต่างประเทศของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เป็นงานที่ต้องประสานกับธนาคารกลางอื่น ๆ องค์กรการเงินระหว่างประเทศ รวมถึงหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เพื่อกำหนดนโยบายด้านต่างประเทศที่เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจการเงินของไทย งานนี้จึงเปรียบเสมือนประตูด่านแรกระหว่าง ธปท. กับองค์กรภายนอก และมีส่วนช่วยในการดำเนินภารกิจสำคัญของ ธปท. ในการดูแลรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจการเงิน และพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ตลอดจนเสริมสร้างความน่าเชื่อในการดำเนินนโยบายของ ธปท. ทั้งต่อองค์กรการเงินระหว่างประเทศที่ ธปท. เป็นสมาชิก และต่อประชาชนคนไทย

อ่านต่อ
business

The Knowledge

ภารกิจเสริมแกร่งให้ผู้ประกอบการ รับมือความผันผวนด้วยการใช้เงินสกุลท้องถิ่น

 

เวลาฟังข่าวหรืออ่านหนังสือเกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศ ผู้อ่านอาจคุ้นเคยกับการกำหนดราคาเป็นดอลลาร์สหรัฐ แต่ทราบหรือไม่ว่าหลายกรณีผู้ประกอบการกำหนดราคาซื้อขายเป็นสกุลดอลลาร์สหรัฐ ทั้ง ๆ ที่ผู้ส่งออกและผู้นำเข้าไม่มีใครอยู่ในสหรัฐอเมริกาเลย แต่ที่ใช้เงินดอลลาร์สหรัฐเพราะได้รับความนิยมในการเป็นสื่อกลางทางการค้ามายาวนาน ทำให้ผู้ประกอบการมีความคุ้นชิน แต่ในช่วงที่ผ่านมาเงินดอลลาร์สหรัฐผันผวนรุนแรง อาจจะทำให้ผู้ที่ใช้เงินดอลลาร์สหรัฐต้องปวดหัวมากเพราะการเปลี่ยนแปลงของค่าเงินด้วยเช่นกัน

อ่านต่อ

-

WEF seminar

The Knowledge

CBDC การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานจากภายใน สู่ความร่วมมือระหว่างประเทศ

เกือบสองทศวรรษแล้วที่เราได้เห็นกระแสการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาปฏิรูประบบการชำระเงิน เริ่มตั้งแต่การออกบิตคอยน์ เงินสกุลดิจิทัลสกุลแรกของโลกในปี 2552 หลังจากนั้นการปฏิวัติเงินดิจิทัลโดยภาคเอกชนก็มีพัฒนาการมาเรื่อย ๆ จนไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ ธนาคารกลางหลายแห่งทั่วโลกเริ่มหันมาสนใจสกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลาง (Central Bank Digital Currency: CBDC) ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ถือเป็นธนาคารกลางกลุ่มแรก ๆ ที่ได้ศึกษาและเตรียมความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับ CBDC รวมถึงผลักดันความร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่อพัฒนาโครงการให้เชื่อมโยงสู่นานาชาติ

อ่านต่อ
BOT representative offices

The Knowledge

สำนักงานตัวแทน ธปท. ในนิวยอร์ก ลอนดอน ปักกิ่ง ต่อยอดความรู้ควบคู่สานสัมพันธ์

ผู้อ่านที่ติดตามเรามาตลอดอาจจะทราบแล้วว่าธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มีสำนักงานภาคที่เป็นเหมือนประตู-หน้าต่างที่เปิดให้เราได้มองเห็น รับฟัง ยื่นมือ หรือแม้แต่ก้าวย่างเข้าไปสัมผัสเศรษฐกิจและสังคมในระดับภูมิภาค แต่มีน้อยคนที่รู้ว่า ธปท. มีสำนักงานตัวแทนอยู่ในต่างประเทศด้วย คนแบงก์ชาติมักเรียกสำนักงานตัวแทนว่า “Rep” ที่ย่อมาจาก representative เป็นเหมือน ธปท. ขนาดย่อมที่มีเจ้าหน้าที่ประจำแต่ละแห่งไม่เกินห้าคน แต่ทำงานที่สำคัญและหลากหลาย ตั้งแต่เชื่อมต่อความสัมพันธ์เหมือนสถานทูต จับชีพจรเศรษฐกิจ ลงทุนและบริหารเงินสำรอง รวบรวมข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงาน

อ่านต่อ

bot magazine 1-67

Thought Leader

 

ธปท. เป็นอย่างไร ในมุมมองสากล 

จากการทำงานด้านต่างประเทศในเวทีสากลมาหลายทศวรรษ ปัจจุบันธนาคารแห่งประเทศไทยยังคงร่วมมือกับองค์กรต่าง ๆ เพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั่วโลกอย่างเท่าทัน ความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรและตัวบุคคลที่แน่นแฟ้นจะยิ่งทำให้การทำงานเป็นไปอย่างราบรื่นและเกื้อกูลกัน พระสยาม BOT MAGAZINE ฉบับนี้ได้รับเกียรติจากผู้บริหารในองค์กรระหว่างประเทศถึง 3 คน ที่มาแบ่งปันมุมมองที่ได้จากการร่วมงานกับ ธปท. ในมิติที่แตกต่างกัน

title-iconHighlight

จาก “มนต์แคน แก่นคูน” ถึงการหมดยุคของ “เมืองโตเดี่ยว” ทำไมเศรษฐกิจภูมิภาคถึงเป็นอนาคตของประเทศไทย

คงไม่เกินจริงไปนักหากจะบอกว่า ในเชิงวัฒนธรรมแล้ว คนกำหนดรสนิยมกระแสหลักของสังคมไทยไม่ใช่แค่เพียง“กรุงเทพฯ” หรือ “ส่วนกลาง” อีกต่อไป เพราะในโลกใหม่โอกาสและความเป็นไปได้มีได้มากกว่าหนึ่งแบบ
imf-wbg at marrakesh

bot magazine 1-67
เศรษฐกิจติดดิน

 

เกาะติดพัฒนาการ Cross-border QR Payment ในภาคใต้

 

ระบบชำระเงินดิจิทัลของไทยได้รับการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่พร้อมเพย์ ตามมาด้วย Thai QR payment ที่ถูกต่อยอดเป็นบริการชำระเงินระหว่างประเทศ (cross-border QR payment) เพื่อเชื่อมโยงกับประเทศต่าง ๆ สำหรับเป็นทางเลือกในการชำระเงินที่ปลอดภัย ง่าย และรวดเร็ว แค่ปลายนิ้วคลิกให้กับชาวต่างชาติ ช่วยลดความยุ่งยากของร้านค้าจากการบริหารจัดการเงินสด อีกทั้งผู้ประกอบการคนไทยก็คุ้นเคยเพราะมีลักษณะและวิธีใช้คล้าย QR code ที่เราสแกนจ่ายกันอยู่ทุกวัน

cross border payment

Talk with Our Guests

BOT secondment people

Talk with Our Guests

แลกเปลี่ยน เรียนรู้ สู่ความเป็นสากล คน ธปท. กับประสบการณ์การทำงานในองค์กรระหว่างประเทศ

 

ด้วยความเป็นองค์กรที่ไม่หยุดพัฒนา ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จึงส่งเสริมให้พนักงานของเราได้ไปแลกเปลี่ยนความรู้และสะสมประสบการณ์ทำงานกับองค์กรระหว่างประเทศมาโดยตลอด ในคอลัมน์ Inspiration ฉบับนี้ เราจึงอยากชวนท่านผู้อ่านมาคุยกับ 8 คน ธปท. เกี่ยวกับการทำงานในองค์กรต่าง ๆ เพื่อแบ่งปันเกร็ดความรู้และข้อคิดดี ๆ สำหรับนำไปพัฒนาการทำงานกัน

อ่านต่อ
BOT international team

BOT People

สานสัมพันธ์เพื่อสร้างความสำคัญ ตัวแทนผู้อยู่เบื้องหลังความร่วมมือและการผลักดันนโยบายเศรษฐกิจการเงินไทยในเวทีโลก

 

BOT people ฉบับนี้พาท่านผู้อ่านมาพูดคุยกับ 3 ตัวแทนจากฝ่ายความร่วมมือระหว่างประเทศอย่าง ดร.ชญาวดี ชัยอนันต์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายองค์กรสัมพันธ์ คุณกฤษฏิ์ เดชารักษ์ รองผู้อำนวยการ ฝ่ายความร่วมมือระหว่างประเทศ และคุณผาติ โตโพธิ์ไทย ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ฝ่ายความร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่อทำความรู้จักบทบาทหน้าที่ กลยุทธ์การทำงานด่านหน้า ตลอดจนคุณค่าของงานด้านต่างประเทศของธนาคารแห่งประเทศไทย

อ่านต่อ

Get to Know

bilat meeting

Get to Know

ความร่วมมือที่เป็นมากกว่าความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

 

ในโลกปัจจุบันที่เศรษฐกิจแต่ละประเทศมีความเชื่อมโยงกันสูง กระแสการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว การมีพันธมิตรที่ดีในต่างประเทศ ที่จะร่วมมือและฝ่าฟันความท้าทายในระยะข้างหน้าไปด้วยกัน ยิ่งทวีความสำคัญเป็นอย่างมาก

การประชุมและกิจกรรมแบบทวิภาคี (bilateral meeting) ที่มีผู้เข้าร่วมจำนวนไม่มาก เป็นอีกกิจกรรมที่มีส่วนสำคัญในการช่วยเสริมสร้างความเข้าใจ ความสัมพันธ์ และความร่วมมือระหว่างกันได้เป็นอย่างดี 

อ่านต่อ
quote

Get to Know

ยกระดับการเติบโตของเศรษฐกิจทั้งภูมิภาค ผ่านการเสริมศักยภาพบุคลากร

 

“If you want to go fast, go alone, if you want to go far, go together.”

คำกล่าวนี้เป็นหนึ่งในหลักคิดสำคัญในการดำเนินนโยบายด้านต่างประเทศของธนาคารแห่งประเทศไทย  โดยเฉพาะกับประเทศเพื่อนบ้าน ที่ไม่ได้มีแค่การประชุมร่วมกันเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมไปถึงการเสริมสร้างศักยภาพให้กับบุคลากร เพื่อเป็นกำลังสนับสนุนในการดูแลเสถียรภาพและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจให้ยั่งยืนทั่วถึงทั้งภูมิภาค

อ่านต่อ

ฺBOT People

BOT People

 

ผสานพลังงานคนแบงก์ชาติ เหนือ ใต้ อีสาน กับภารกิจเชื่อมโยง-ดูแลเศรษฐกิจภูมิภาค

ภารกิจหลักของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในการดูแลเสถียรภาพให้เหมาะสมกับการเติบโตของเศรษฐกิจ นอกจากทีมงานที่ปักหลักที่สำนักงานใหญ่ กรุงเทพมหานครแล้ว ยังมีฟันเฟืองสำคัญที่ขับเคลื่อนเคียงคู่กันมาตลอด นั่นคือสำนักงานภาคทั้ง 3 แห่ง ทั้งภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ พระสยาม BOT MAGAZINE ฉบับนี้ จะพาไปทำความรู้จักตัวแทนคนแบงก์ชาติจากทั้ง 3 ภาค ที่ต่างทุ่มเทกำลังเพื่อเข้าถึงเข้าใจปัญหาของคนท้องถิ่น เชื่อมโยงส่วนกลางกับภูมิภาค และมุ่งหวังจะสร้างความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืนให้คนทุกพื้นที่ 

title-iconMeet Team BOT

ผสานพลังงานคนแบงก์ชาติ เหนือ ใต้ อีสาน กับภารกิจเชื่อมโยง-ดูแลเศรษฐกิจภูมิภาค

ภารกิจหลักของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในการดูแลเสถียรภาพให้เหมาะสมกับการเติบโตของเศรษฐกิจ นอกจากทีมงานที่ปักหลักที่สำนักงานใหญ่ กรุงเทพมหานครแล้ว ยังมีฟันเฟืองสำคัญที่ขับเคลื่อนเคียงคู่กันมาตลอด นั่นคือสำนักงานภาคทั้ง 3 แห่ง ทั้งภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ พระสยาม BOT MAGAZINE ฉบับนี้ จะพาไปทำความรู้จักตัวแทนคนแบงก์ชาติจากทั้ง 3 ภาค ที่ต่างทุ่มเทกำลังเพื่อเข้าถึงเข้าใจปัญหาของคนท้องถิ่น เชื่อมโยงส่วนกลางกับภูมิภาค และมุ่งหวังจะสร้างความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืนให้คนทุกพื้นที่
BOT people

bot magazine 1-67
Global Trend
 

LOCALISM การกลับมาของ

กระแสท้องถิ่นนิยม

 

“ท้องถิ่นนิยม (localism)” ไม่ใช่แนวคิดใหม่ หากแต่ถูกพูดถึงอีกครั้งจากวิกฤตหลายอย่างในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ภาคส่วนต่าง ๆ ต้องหันกลับมามองท้องถิ่น ทบทวนนโยบาย และให้น้ำหนักกับแนวคิดนี้มากขึ้น เราจึงขอพามาทำความรู้จักแนวคิดนี้ที่หวนกลับมามีบทบาทต่อเศรษฐกิจโลก

 
title-iconGlobal Trend

“ท้องถิ่นนิยม (localism)” ไม่ใช่แนวคิดใหม่ หากแต่ถูกพูดถึงอีกครั้งจากวิกฤตหลายอย่างในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ภาคส่วนต่าง ๆ ต้องหันกลับมามองท้องถิ่น ทบทวนนโยบาย และให้น้ำหนักกับแนวคิดนี้มากขึ้น เราจึงขอพามาทำความรู้จักแนวคิดนี้ที่หวนกลับมามีบทบาทต่อเศรษฐกิจโลก

 
LOCALISM การกลับมาของกระแสท้องถิ่นนิยม
local market

books

เปลี่ยนพลังใจ ไปใช้พัฒนา

โลกหลังโควิด 19 เปลี่ยนแปลงรวดเร็วและผันผวน บางคนเร่งปรับตัวเพื่อตามโลกให้ทัน บ้างกลับไปเริ่มต้นใหม่ในบ้านเกิด เพื่อเป็นแรงบันดาลใจให้กับกลุ่มผู้กล้าที่จะก้าวเดินต่อไม่ว่าจะไปในทิศทางใด พระสยาม BOT MAGAZINE ฉบับนี้ จึงขอแนะนำหนังสือ 3 เล่มที่ชวนคุณมองไปข้างหน้าถึงเศรษฐกิจแห่งอนาคต ความเป็นไปได้จากพลังของชุมชนที่เราคุ้นเคย พร้อมเติมแรงใจให้ผู้ที่กำลังริเริ่มทำอะไรใหม่ ๆ ในชีวิต

title-iconActivities and Library

เปลี่ยนพลังใจ ไปใช้พัฒนา

โลกหลังโควิด 19 เปลี่ยนแปลงรวดเร็วและผันผวน บางคนเร่งปรับตัวเพื่อตามโลกให้ทัน บ้างกลับไปเริ่มต้นใหม่ในบ้านเกิด เพื่อเป็นแรงบันดาลใจให้กับกลุ่มผู้กล้าที่จะก้าวเดินต่อไม่ว่าจะไปในทิศทางใด พระสยาม BOT MAGAZINE ฉบับนี้ จึงขอแนะนำหนังสือ 3 เล่มที่ชวนคุณมองไปข้างหน้าถึงเศรษฐกิจแห่งอนาคต ความเป็นไปได้จากพลังของชุมชนที่เราคุ้นเคย พร้อมเติมแรงใจให้ผู้ที่กำลังริเริ่มทำอะไรใหม่ ๆ ในชีวิต

สามารถอ่านหนังสือทั้ง 3 เล่มได้ที่ห้องสมุดพระองค์เจ้าวิวัฒนไชย ศูนย์การเรียนรู้ธนาคารแห่งประเทศไทย

3 books

BOT Foundation and graduates
Special Scoop
 

มูลนิธิ 50 ปี ธนาคารแห่งประเทศไทย
โอกาสทางการศึกษาเพื่อพัฒนาทั่วไทย

 

กว่า 30 ปีที่มูลนิธิ 50 ปี ธนาคารแห่งประเทศไทยดำเนินงานตามเจตนารมณ์แรกเริ่มของการก่อตั้ง คือการช่วยเหลือนักเรียนที่เรียนดีแต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ เพื่อให้พวกเขากลายเป็นกำลังสำคัญของประเทศ ไม่ว่าจะอยู่แห่งหนตำบลใดในประเทศไทย

title-iconGlobal Trend

“ท้องถิ่นนิยม (localism)” ไม่ใช่แนวคิดใหม่ หากแต่ถูกพูดถึงอีกครั้งจากวิกฤตหลายอย่างในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ภาคส่วนต่าง ๆ ต้องหันกลับมามองท้องถิ่น ทบทวนนโยบาย และให้น้ำหนักกับแนวคิดนี้มากขึ้น เราจึงขอพามาทำความรู้จักแนวคิดนี้ที่หวนกลับมามีบทบาทต่อเศรษฐกิจโลก

 
LOCALISM การกลับมาของกระแสท้องถิ่นนิยม
BOT Foundation

Video ประจำคอลัมน์

ดูทั้งหมด
ธปท. – หอการค้า ยื่นมือประสาน ร่วมพัฒนาอีสานให้ก้าวหน้า

ธปท. – หอการค้า ยื่นมือประสาน ร่วมพัฒนาอีสานให้ก้าวหน้า

11 ก.ค. 2566

ปรีชา หงอกสิมมา ชวนคนมาปลูกป่าหยอดกระปุกผ่านต้นไม้ ที่วนพรรณ การ์เด้น

ปรีชา หงอกสิมมา ชวนคนมาปลูกป่าหยอดกระปุกผ่านต้นไม้ ที่วนพรรณ การ์เด้น

11 ก.ค. 2566

melon farm owner

ณัฐนิช กิตยานุรักษ์ แม่เลี้ยงผลไม้เมืองเหนือแห่งไร่ชรินทร์พรรณ เชียงใหม่

17 ก.ค. 2566

2 executives

ชวนขึ้นเหนือเพื่อ “เกาให้ถูกที่คัน” และส่องความสำคัญของความสัมพันธ์

26 ก.ค. 2566

2 executives

“ฉากทัศน์ใหม่” ของภาคใต้ ที่ไม่ได้มีแค่ SEA SAND SUN

26 ก.ค. 2566

city connext team

“City Connext” รวมพลังคนรุ่นใหม่ ร่วมสร้างเมืองให้ดึงดูดใจผู้คน

27 ก.ค. 2566