การแก้ไขหนี้ส่วนบุคคล บัตรเครดิต บัตรกดเงินสด

ลักษณะหนี้ส่วนบุคคล

 

หนี้ส่วนบุคคลส่วนใหญ่เกิดจากความต้องการใช้จ่ายซื้อสินค้าและบริการต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน ขณะที่ผู้ประกอบการบางคนอาจกู้ยืมหนี้สินประเภทนี้มาเพื่อใช้ในการทำธุรกิจ สินเชื่อส่วนบุคคลมักมีวงเงินไม่สูงนัก ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน (ยกเว้นสินเชื่อบ้านแลกเงิน และสินเชื่อจำนำทะเบียนรถ) ระยะเวลาชำระคืนสั้น และอัตราดอกเบี้ยค่อนข้างสูง ซึ่ง ธปท. ได้ปรับลดเพดานอัตราดอกเบี้ยลง 2 - 4% ต่อปี ตั้งแต่ช่วงกลางปี 2563

 

เพดานอัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลที่ปรับลดลงตั้งแต่กลางปี 2563

image

 

แนวทางการแก้ไขหนี้

 

1) กรณีที่ลูกหนี้ไม่สามารถผ่อนชำระตามกำหนดเวลา ควรรีบติดต่อเจ้าหนี้ เพื่อปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้สอดคล้องกับความสามารถในการชำระหนี้ โดยลูกหนี้ต้องแจ้งให้เจ้าหนี้ทราบถึงผลกระทบด้านรายได้ พร้อมทั้งให้ข้อมูลหรือเอกสารประกอบการพิจารณา (ถ้ามี) นอกจากนี้ ลูกหนี้ควรศึกษามาตรการช่วยเหลือของเจ้าหนี้ และให้ความร่วมมือในการเจรจา โดยหลังจากการปรับเงื่อนไขการผ่อนชำระแล้ว ลูกหนี้ควรปฏิบัติตามเงื่อนไขใหม่ที่ตกลงไว้ และไม่ก่อหนี้เพิ่มเติม

ทั้งนี้ แบงก์ชาติได้ออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยที่ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด 19 มาอย่างต่อเนื่อง โดยเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2564 ได้ออกมาตรการแก้หนี้อย่างยั่งยืน เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้โดย เน้นให้สถาบันการเงินช่วยเหลือลูกหนี้ผ่านการปรับปรุงโครงสร้างหนี้แบบระยะยาว ซึ่งครอบคลุมสินเชื่อรายย่อยทุกประเภท เช่น สินเชื่อบัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อบ้าน ฯลฯ ภายใต้หลักการ ดังนี้

   (1) มองสถานการณ์ระยะยาว โดยกำหนดการจ่ายคืนหนี้ให้สอดคล้องกับรายได้ปัจจุบันที่ลดลงมาก และทยอยจ่ายเพิ่มขึ้นเมื่อรายได้กลับมา
   (2) สามารถช่วยลูกหนี้จำนวนมากได้เร็ว
   (3) ตรงจุดให้เหมาะกับปัญหาของลูกหนี้แต่ละราย ที่มีปัญหาและการฟื้นตัวต่างกัน โดยแต่ละธนาคารจะพิจารณาความช่วยเหลือตามความเหมาะสม และ
   (4) เป็นธรรมกับทั้งลูกหนี้และเจ้าหนี้ เพื่อให้ทุกฝ่ายผ่านความยากลำบากไปด้วยกัน

 

image

สำหรับผู้ที่สนใจมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ของแต่ละธนาคาร >> 

 

2) ข้อแนะนำทางเลือกของลูกหนี้

 

สถานะหนี้ดี (ชำระปกติ/ค้างชำระไม่ถึง 3 เดือน)

ประเภทสินเชื่อแนวทางการแก้ไขหนี้​ประโยชน์ที่จะได้รับ
1. สินเชื่อบัตรเครดิต- จ่ายขั้นต่ำ โดยอัตราผ่อนชำระขั้นต่ำสำหรับบัตรเครดิตที่ 5% สำหรับปี 2565 และกำหนดที่ 8% ในปี 2566 เพื่อไม่ให้มีประวัติค้างชำระ
- หากสามารถจ่ายได้มากกว่าขั้นต่ำ ควรจ่ายตามความสามารถ
​-บรรเทาภาระการจ่ายชำระหนี้ โดยลดอัตราการผ่อนชำระหนี้ขั้นต่ำของบัตรเครดิต
-ไม่มีประวัติค้างชำระ
2. สินเชื่อบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล (บัตรกดเงินสด) ที่มีลักษณะเป็นสินเชื่อหมุนเวียน: Revolving Loan- เปลี่ยนประเภทหนี้โดยแปลงเป็นสินเชื่อระยะยาว (Term loan) เพื่อจ่ายชำระเป็นงวด และเจรจาเงื่อนไขกับสถาบันการเงินในประเด็นดังนี้ โดยคำนึงถึงความสามารถในการชำระหนี้ของท่าน
-ระยะเวลาในการจ่ายชำระหนี้* เช่น ขอจ่ายชำระเป็นงวดรายเดือนภายในระยะเวลา X ปี ตามกำลังที่สามารถชำระหนี้ได้ เป็นต้น
-อัตราดอกเบี้ย* เช่น ขอให้เจ้าหนี้ทบทวนอัตราดอกเบี้ยให้ต่ำกว่าอัตราเดิม หรือตามกำลังที่สามารถชำระหนี้ได้

ทั้งนี้ ภายหลังการเปลี่ยนประเภทหนี้ เจ้าหนี้จะพิจารณาให้ใช้วงเงินของบัตรเครดิต/บัตรกดเงินสดเดิมตามความเหมาะสม

ในเบื้องต้น ท่านสามารถคำนวนอัตราดอกเบี้ย และงวดการชำระเงิน ผ่านโปรแกรมคำนวนเงินกู้ (คลิกที่นี่) เพื่อพิจารณาความสามารถในการชำระหนี้ของท่าน

- การรวมหนี้กับหนี้บ้าน : กรณีที่มีหนี้สินเชื่อที่อยู่อาศัยอยู่แล้ว โดยสามารถรวมกับหนี้สินเชื่อรายย่อยข้ามสถาบันการเงิน และ/หรือ ผู้ประกอบธุรกิจรายอื่นได้ เพื่อลดการจ่ายดอกเบี้ย และขยายเวลาการผ่อนชำระ ตามมาตรการสนับสนุนการรวมหนี้ ของ ธปท.
หนี้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยจ่ายดอกเบี้ยไม่เพิ่มจากอัตราเดิม*
หนี้บัตรเครดิตหรือสินเชื่อส่วนบุคคล จะคิดดอกเบี้ยในอัตราเท่ากับ อัตราสินเชื่อบ้าน**+ไม่เกิน 2% ต่อปี
*ยกเว้นกรณีมีการรีไฟแนนท์บ้าน ให้เป็นไปตามธนาคารกำหนด
**อัตราดอกเบี้ยบ้านภายหลังช่วงโปรโมชั่นการขาย
​-ภาระของลูกหนี้ลดลงจากอัตราดอกเบี้ยใหม่ที่จ่ายต่ำกว่าเงื่อนไขเดิม ประกอบกับมีการขยายระยะเวลา-ชำระหนี้ทำให้ยอดที่ลูกหนี้ต้องชำระต่อเดือนลดลง
-ไม่มีประวัติค้างชำระ
​3. สินเชื่อส่วนบุคคล ที่มีลักษณะผ่อนชำระเป็นงวด หรือ สินเชื่อที่มีทะเบียนรถเป็นประกัน :- ขอให้ทบทวนอัตราดอกเบี้ย*ให้ต่ำกว่าอัตราเดิม หรือ ขยายระยะเวลาผ่อนชำระหนี้* เพื่อให้ค่างวดลดลง โดยขอผ่อนชำระภายใน ระยะเวลา X ปี (ตามกำลังที่สามารถชำระหนี้ได้) ตามรายได้ที่ลดลงเป็นเวลานาน

ทั้งนี้ ท่านสามารถคำนวนอัตราดอกเบี้ย และงวดการชำระเงินเบื้องต้น จากโปรแกรมคำนวนเงินกู้ (คลิกที่นี่)

- ขอผ่อนค่างวดแบบขั้นบันได (step up) โดยทยอยจ่ายหนี้หรือค่างวดเพิ่มขึ้นในภายหลัง เพื่อให้สอดคล้องกับรายได้ที่ลดลงในช่วงแรกและจะทยอยดีขึ้นในภายหลัง
- การรวมหนี้กับหนี้บ้าน : กรณีที่มีหนี้สินเชื่อที่อยู่อาศัยอยู่แล้ว โดยสามารถรวมกับหนี้สินเชื่อรายย่อยข้ามสถาบันการเงิน และ/หรือ ผู้ประกอบธุรกิจรายอื่นได้ เพื่อลดการจ่ายดอกเบี้ย และขยายเวลาการผ่อนชำระ ตามมาตรการสนับสนุนการรวมหนี้ ของ ธปท.

หนี้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยจ่ายดอกเบี้ยไม่เพิ่มจากอัตราเดิม*
หนี้บัตรเครดิตหรือสินเชื่อส่วนบุคคล จะคิดดอกเบี้ยในอัตราเท่ากับ อัตราสินเชื่อบ้าน**+ไม่เกิน 2% ต่อปี

*ยกเว้นกรณีมีการรีไฟแนนซ์บ้าน ให้เป็นไปตามธนาคารกำหนด
**อัตราดอกเบี้ยบ้านภายหลังช่วงโปรโมชั่นการขาย
​ลูกหนี้สามารถผ่อนชำระได้ตามกำลังที่มี
ช่วยให้ลูกหนี้ไม่เสียประวัติเครดิตบูโร
4. การพักชำระค่างวด- เหมาะกับลูกหนี้ที่รายได้ลดลงชั่วคราว และคาดว่ารายได้จะกลับมาเท่าเดิมเมื่อสถานการณ์เป็นปกติ 
5. การขยายเวลา/ลดค่างวด- เหมาะกับลูกหนี้ที่รายได้ลดลงอย่างชัดเจนในระยะยาว หรืออาจต้องใช้เวลาปรับตัวนาน 
6. การรวมกับสินเชื่อบ้านภายใต้กลุ่มผู้ให้บริการทางการเงินเดียวกัน- ลดภาระการผ่อนชำระรายเดือน
- ช่วยลดดอกเบี้ย และขยายระยะเวลาการผ่อนชำระ
 
7. การคืนรถ- ไม่โดนฟ้องร้อง
- หากมีหนี้ส่วนต่าง อาจเจรจาขอผ่อนชำระ หรือจ่ายชำระทั้งจำนวนเพื่อปิดหนี้ทันที

หมายเหตุ * การพิจารณาระยะเวลาในการจ่ายชำระหนี้ หรือ อัตราดอกเบี้ย ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของสถาบันการเงิน และการเจรจาร่วมกันระหว่างลูกหนี้และสถาบันการเงิน

 

สถานะหนี้เสีย (ค้างชำระมากกว่า 3 เดือน)

ประเภทสินเชื่อแนวทางการแก้ไขหนี้​ประโยชน์ที่จะได้รับ
สินเชื่อบัตรเครดิต บัตรกดเงินสด และสินเชื่อส่วนบุคคลที่ไม่มีหลักประกัน- สมัครเข้าโครงการคลินิกแก้หนี้ (Debt Clinic) by SAM ของบริษัทบริหารสินทรัพย์สุขุมวิท จำกัด เพื่อปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับสถาบันการเงินและผู้ประกอบธุรกิจที่เข้าร่วมโครงการ เพื่อแก้ไขหนี้ไปพร้อม ๆ กับการเรียนรู้การวางแผนและสร้างวินัยทางการเงินที่ดี โดยมีเงื่อนไขดังนี้

เป็น NPL ก่อน 1 เม.ย. 65 (ตามรายงานเครดิตบูโร ณ เดือน มี.ค.65 ต้องมีสถานะค้างชำระ 91-120 วันขึ้นไป)
อัตราดอกเบี้ย 5%
ขยายเวลาผ่อนชำระสูงสุดไม่เกิน 10 ปี
หนี้รวมไม่เกิน 2 ล้านบาท
- ขอเจรจากับสถาบันการเงินเพื่อเปลี่ยนประเภทหนี้เป็นสินเชื่อระยะยาว (Term loan) เพื่อจ่ายชำระเป็นงวด หรือขอให้ทบทวนอัตราดอกเบี้ย*
ให้ต่ำกว่าอัตราเดิม หรือ ขยายระยะเวลาผ่อนชำระหนี้* เพื่อให้ค่างวด
ลดลง ทั้งนี้ ท่านสามารถคำนวนอัตราดอกเบี้ย และงวดการชำระเงินเบื้องต้น จากโปรแกรมคำนวนเงินกู้ (คลิกที่นี่)
-หากมีทรัพย์สินอื่น อาจพิจารณาขายเพื่อนำเงินมาชำระหนี้ เพื่อจ่ายคืนหนี้เร็วขึ้น โดยขอส่วนลดหนี้ (Haircut บางส่วน)
สามารถรวมหนี้มากกว่า 1 สถาบัน ทำให้สะดวกในการชำระหนี้
ได้รับอัตราดอกเบี้ยที่ลดลงและจะคิดดอกเบี้ยจากเฉพาะเงินต้นที่เข้าโครงการคลินิกแก้หนี้ และดอกเบี้ยคงค้างก่อนเข้าโครงการจะได้รับการยกเว้น หากชำระเสร็จสิ้น
ไม่มีค่าธรรมเนียม

หมายเหตุ * การพิจารณาระยะเวลาในการจ่ายชำระหนี้ หรือ อัตราดอกเบี้ย ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของสถาบันการเงิน และการเจรจาร่วมกันระหว่างลูกหนี้และสถาบันการเงิน

 

3) ศึกษามาตรการช่วยเหลือของสถาบันการเงิน

 

เจ้าหนี้สถาบันการเงินได้ออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยตามแนวทางที่ ธปท. กำหนด ในรูปแบบและเงื่อนไขที่แตกต่างกัน ลูกหนี้สามารถศึกษามาตราการของสถาบันการเงินแต่ละแห่งได้ทางเว็บไซด์ หรือ call center ของสถาบันการเงินนั้น ๆ และทางเว็บไซด์ COVID-19 ของ ธปท. 

 

แนวทางการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบ

 

หนี้นอกระบบ หมายถึง การกู้ยืมเงินระหว่างประชาชน หรือจากหน่วยงานที่ไม่ได้อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของทางการ ส่วนใหญ่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้นอกระบบจะสูงถึง 5 - 20% ต่อเดือน หรือคิดเป็น 60 - 240% ต่อปี ขณะที่การกู้ยืมจากสถาบันการเงินในระบบมีอัตราดอกเบี้ยสูงสุดเท่ากับ 36% ต่อปี ลูกหนี้บางคนเลือกใช้หนี้นอกระบบ เพราะได้เงินเร็ว ง่าย และไม่ต้องใช้เอกสารมาก แต่เกือบทั้งหมดมาพร้อมกับอัตราดอกเบี้ยที่แพงกว่าหนี้ในระบบหลายเท่า และมีความเสี่ยงของการทวงหนี้อย่างผิดกฎหมาย

แนวทางการปลดหนี้นอกระบบ นอกจากการหารายได้เพิ่ม ลดรายจ่าย และขายทรัพย์สินบางส่วนเพื่อเร่งชำระหนี้แล้ว ลูกหนี้ควรหาทางเปลี่ยนหนี้นอกระบบให้เป็นหนี้ในระบบที่ดอกเบี้ยถูกกว่า โดยธนาคารหลายแห่งมีโปรแกรมสินเชื่อส่วนบุคคลที่ลูกหนี้สามารถกู้ยืมเพื่อนำเงินไปชำระคืนหนี้นอกระบบได้

ถ้ากู้ 10,000 บาท

จะผ่อนแค่วันละ 150 บาท

2
image