จักรวาลและหัวใจอาชีพ

การเผยแพร่ผลงานครูในโครงการหรือตามความร่วมมือต่าง ๆ

ชื่อกิจกรรม : จักรวาลและหัวใจอาชีพ

 

ชื่อครู/หน่วยงาน : อ.วีรพล แก้วพันธ์อ่ำ และ อ.ธีรภาพ แซ่เชี่ย ผลงานภายใต้ความร่วมมือระหว่างธนาคาร
แห่งประเทศไทยและโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 

 

ชื่อโรงเรียนที่สอนหรือฝึกสอน : โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

 

ภาคการศึกษาและปีการศึกษาที่ใช้สอน/ทำกิจกรรม : ภาคการเรียนที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2566

 

ระดับชั้น : มัธยมศึกษาปีที่ 5

 

รูปแบบการนำไปใช้ : 

รายวิชาเฉพาะ - วิชารู้ทันการเงิน

 

วัตถุประสงค์การเรียนรู้ :

1. เพื่อให้ผู้เรียนได้กำหนดเป้าหมายชีวิตของตนเองในอนาคตผ่านการค้นหาและทบทวนตนเอง

2. เพื่อให้ผู้เรียนมองเห็นโอกาสและความเป็นไปได้จากการต่อยอดความสนใจของตนเองไปสู่การออกแบบอาชีพในมุมมองต่าง ๆ ที่หลากหลาย

 

สมรรถนะทางการเงิน (Financial competency) :

 

สมรรถนะหลัก

FK43. รู้ว่างานหรืออาชีพแต่ละอย่างต้องการคุณสมบัติและความชำนาญที่แตกต่างกัน ซึ่งจะส่งผลต่อรายได้ (ม. ต้น)

FA14. ยอมรับว่าทางเลือกอาชีพและรูปแบบการใช้ชีวิตส่วนตัวส่งผลกระทบทางการเงิน รวมไปถึงทางเลือก
ในอนาคต เช่น เลือกเรียนต่อ ทำงานบริษัท หรือทำธุรกิจส่วนตัว (ม. ต้น)

FB15. สามารถอธิบายได้ว่าหน้าที่การงานมีบทบาทต่อความเป็นอยู่ทางการเงินที่ดีในอนาคต (ม. ต้น)

FB16. สามารถวางแผนชีวิตระยะยาวโดยคำนึงถึงนัยสำคัญทางการเงินได้ เช่น การเลือกสาขาวิชาในการศึกษาต่อจะส่งผลต่ออาชีพและรายได้ในอนาคต (ม. ต้น)

FB26. คำนึงถึงผลกระทบทางการเงินเมื่อเลือกอาชีพ เช่น เงินเดือน สวัสดิการ สิทธิประโยชน์ ความสม่ำเสมอ
ของรายได้ (ม. ปลาย)

 

สมรรถนะเสริม

FA15. ยอมรับว่าการพนันและการเสี่ยงโชคไม่ใช่ช่องทางในการหารายได้หรือสร้างความมั่งคั่ง (ม. ต้น)

FK31. เข้าใจว่าแต่ละคนมีแหล่งที่มาและรายได้ที่แตกต่างกัน ซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงเมื่อเวลาผ่านไป (ป.ปลาย)

FK82. รู้ว่ารายได้มีส่วนทำให้ตนเอง ครอบครัวและสังคมมีความเป็นอยู่ที่ดี (ม. ปลาย)

 

ตัวชี้วัด สพฐ. ถ้ามี :

 

 

กลุ่มสาระการเรียนรู้

 

 

ตัวชี้วัดระหว่างทาง

 

ตัวชี้วัดปลายทาง

การงานอาชีพ

ง 2.1 ป.6/1 สำรวจตนเองเพื่อวางแผนในการเลือกอาชีพ

ง 2.1 ป.6/2 ระบุความรู้ความสามารถ และคุณธรรมที่สัมพันธ์กับอาชีพที่สนใจ

การงานอาชีพ

ง 2.1 ม.2/2 ระบุการเตรียมตัวเข้าสู่อาชีพ

ง 2.1 ม1.2/3 มีทักษะพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการประกอบอาชีพที่สนใจ

การงานอาชีพ

ง 2.1 ม.3/1 อภิปรายการหางานด้วยวิธีที่หลากหลาย

ง 2.1 ม.3/3 ประเมินทางเลือกในการประกอบอาชีพที่สอดคล้องกับความรู้ ความถนัดและความสนใจของตนเอง

การงานอาชีพ

ง 2.1 ม.3/2 วิเคราะห์แนวทางเข้าสู่อาชีพ

ง 2.1 ม.3/3 ประเมินทางเลือกในการประกอบอาชีพที่สอดคล้องกับความรู้ ความถนัดและความสนใจของตนเอง

กระบวนการจัดการเรียนรู้หรือขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม :

1.  ผู้สอนแจกใบงาน “รู้จักตัวเองผ่านจักรวาลอาชีพ” และตั้งคำถามเพื่อชวนผู้เรียนพิจารณาตนเอง   

  • แนะนำตัวเองว่ามีนิสัย ความชอบ ความถนัดอะไรบ้าง ?
  • เป้าหมายและรูปแบบการใช้ชีวิตเป็นอย่างไร ?
  • ความสนใจคือเรื่องอะไร ?

 

2.  ผู้สอนสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้อยู่กับตนเองและทบทวนตนเองอย่างถี่ถ้วน เพราะความถนัด ความชอบ และความสนใจของผู้เรียนจะถูกนำมาพิจารณาในการเลือกคณะที่สนใจและอาชีพที่อยากเป็นในอนาคต

 

3.  ผู้เรียนนำข้อมูลมาจัดวางลงใบงาน และผู้สอนชวนผู้เรียนคิดคำถามต่อไป คือ ความสนใจแปลงเป็นอาชีพได้หรือไม่ ? อย่างไร ? เป็นอาชีพอะไรได้บ้าง ? จากนั้นให้ผู้เรียนเลือก 1 อาชีพที่ผู้เรียนต้องการอย่างแท้จริง โดยไม่ต้องคำนึงถึงข้อจำกัดใด ๆ

 

4.  ผู้สอนแจกใบงาน “หัวใจอาชีพ” เพื่อให้ผู้เรียนค้นหารายละเอียดของอาชีพที่เลือกมา

  • ลักษณะและขั้นตอนการทำงาน โดยให้ผู้เรียนระบุลักษณะการทำงาน เวลาทำงาน และลำดับการทำงานที่พอจะทราบ
  • ความรู้และความสามารถที่จำเป็นต้องมี โดยให้ผู้เรียนระบุคุณวุฒิ สายวิชา และทักษะที่เกี่ยวข้อง
  • ผลตอบแทนจากการทำงานและข้อดี-ข้อเสียของอาชีพนี้ โดยให้ผู้เรียนประมาณการรายได้ต่อเดือนและข้อดี-ข้อเสียของอาชีพที่เลือก
  • สิ่งสนับสนุนและอุปสรรค โดยให้ผู้เรียนระบุปัจจัยสนับสนุนให้ประกอบอาชีพที่เลือกได้ เช่น ความชอบ ความถนัด รวมถึงอุปสรรคที่มี

5.  ผู้สอนชวนผู้เรียนถอดบทเรียน เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้สอนในการออกแบบการเรียนรู้ในคาบเรียนต่อไป

  • ทำกิจกรรมนี้แล้วเป็นอย่างไรบ้าง ?
  • ข้อค้นพบใหม่ที่เกิดขึ้นกับตนเอง ?
  • สิ่งที่อยากให้ครูช่วยเหลือในคาบเรียนนี้ ?

 

การประเมินและการวัดผลการเรียนรู้ :

1.  ประเมินผลการเรียนรู้จากใบงาน

2.  สังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนในการคิดวิเคราะห์และการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันของผู้เรียน