ฉันบนเส้นทางที่เกี่ยวกับการเงิน

การเผยแพร่ผลงานครูในโครงการหรือตามความร่วมมือต่าง ๆ

ชื่อกิจกรรม : ฉันบนเส้นทางที่เกี่ยวกับการเงิน

 

ชื่อครู/หน่วยงาน : อ.วีรพล แก้วพันธ์อ่ำ และ อ.ธีรภาพ แซ่เชี่ย ผลงานภายใต้ความร่วมมือระหว่างธนาคาร
แห่งประเทศไทยและโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 

 

ชื่อโรงเรียนที่สอนหรือฝึกสอน : โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

 

ภาคการศึกษาและปีการศึกษาที่ใช้สอน/ทำกิจกรรม : ภาคการเรียนที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2566

 

ระดับชั้น : มัธยมศึกษาปีที่ 5

 

รูปแบบการนำไปใช้ : 

รายวิชาเฉพาะ - วิชารู้ทันการเงิน

 

วัตถุประสงค์การเรียนรู้ :

เพื่อให้ผู้เรียนตระหนักรู้และเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างแผนชีวิตและแผนการเงิน โดยสามารถกำหนดแผนการใช้ชีวิตและแผนการเงินในแต่ละช่วงวัยของตนเองได้

 

สมรรถนะทางการเงิน (Financial competency) :

 

สมรรถนะหลัก

FK31. เข้าใจว่าแต่ละคนมีแหล่งที่มาและรายได้ที่แตกต่างกัน ซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงเมื่อเวลาผ่านไป (ป. ปลาย)

FK52. รู้ว่าอายุ นิสัย ความชอบ หรือกิจกรรมในครอบครัว มีผลต่อรายรับ-รายจ่าย (ม. ต้น)

FA14. ยอมรับว่าทางเลือกอาชีพและรูปแบบการใช้ชีวิตส่วนตัวส่งผลกระทบทางการเงิน รวมไปถึงทางเลือก
ในอนาคต เช่น เลือกเรียนต่อ ทำงานบริษัท หรือทำธุรกิจส่วนตัว (ม. ต้น)

FB16. สามารถวางแผนชีวิตระยะยาวโดยคำนึงถึงนัยสำคัญทางการเงินได้ เช่น การเลือกสาขาวิชาในการศึกษาต่อ
จะส่งผลต่ออาชีพและรายได้ในอนาคต (ม. ต้น)

FK95. เข้าใจว่าทางเลือกในการดำเนินชีวิตแต่ละแบบอาจมีผลต่อการจัดสรรเงินที่แตกต่างกัน เช่น เลือกเรียนต่อ ต้องจัดสรรเงินสำหรับค่าเรียน (ม. ปลาย)

FB26. คำนึงถึงผลกระทบทางการเงินเมื่อเลือกอาชีพ เช่น เงินเดือน สวัสดิการ สิทธิประโยชน์ ความสม่ำเสมอ
ของรายได้ (ม. ปลาย)

 

สมรรถนะเสริม

FK43. รู้ว่างานหรืออาชีพแต่ละอย่างต้องการคุณสมบัติและความชำนาญที่แตกต่างกัน ซึ่งจะส่งผลต่อรายได้ (ม. ต้น)

FA16. ยอมรับว่าแต่ละคนมีนิสัยการใช้จ่าย การออม และการบริจาคที่แตกต่างกัน (ม. ต้น)

FB15. สามารถอธิบายได้ว่าหน้าที่การงานมีบทบาทต่อความเป็นอยู่ทางการเงินที่ดีในอนาคต (ม. ต้น)

FK96. รู้วิธีวางแผนการเงินเพื่อช่วยให้บรรลุเป้าหมายชีวิต (ม. ปลาย)

FK82. รู้ว่ารายได้มีส่วนทำให้ตนเอง ครอบครัวและสังคมมีความเป็นอยู่ที่ดี (ม. ปลาย)

 

ตัวชี้วัด สพฐ. ถ้ามี :

 

กลุ่มสาระการเรียนรู้

 

 

ตัวชี้วัดระหว่างทาง

 

ตัวชี้วัดปลายทาง

การงานอาชีพ

ง 2.1 ป.6/1 สำรวจตนเองเพื่อวางแผนในการเลือกอาชีพ

ง 2.1 ป.6/2 ระบุความรู้ความสามารถ และคุณธรรมที่สัมพันธ์กับอาชีพที่สนใจ

การงานอาชีพ

ง 2.1 ม.1/2 มีเจตคติที่ดีต่อการประกอบอาชีพ

ง 2.1 ม.1/3 เห็นความสำคัญของการสร้างอาชีพ

การงานอาชีพ

ง 2.1 ม.2/1 อธิบายการเสริมสร้างประสบการณ์อาชีพ

ง 2.1 ม.2/3 มีทักษะพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการประกอบอาชีพที่สนใจ

การงานอาชีพ

ง 2.1 ม.2/2 ระบุการเตรียมตัวเข้าสู่อาชีพ

ง 2.1 ม1.2/3 มีทักษะพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการประกอบอาชีพที่สนใจ

การงานอาชีพ

ง 2.1 ม.3/1 อภิปรายการหางานด้วยวิธี
ที่หลากหลาย

ง 2.1 ม.3/3 ประเมินทางเลือกในการประกอบอาชีพที่สอดคล้องกับความรู้ ความถนัดและความสนใจของตนเอง

การงานอาชีพ

ง 2.1 ม.3/2 วิเคราะห์แนวทางเข้าสู่อาชีพ

ง 2.1 ม.3/3 ประเมินทางเลือกในการประกอบอาชีพที่สอดคล้องกับความรู้ ความถนัดและความสนใจของตนเอง

 

กระบวนการจัดการเรียนรู้หรือขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม :

1.  ผู้สอนเตรียมความพร้อมการเรียนรู้ด้วยการตั้งคำถาม 2 ข้อ ได้แก่ เงินสำคัญอย่างไร ? และอะไรทำให้เรา
ได้เงิน ? จากนั้นระดมคำตอบจากผู้เรียน และจัดกลุ่มคำตอบ (อาจจะขออาสาสมัครจากผู้เรียนมาจัดกลุ่มคำตอบ เพราะผู้เรียนจะได้โต้แย้งความคิดเห็นกัน) เพื่อสรุปประเด็นจากกลุ่มคำตอบของคำถามทั้ง 2 ข้อ

2.  ผู้สอนชวนผู้เรียนคำนวณ “ต้นทุนชีวิต” ในช่วงวัยต่าง ๆ ภายใต้แนวคิด “หากการใช้ชีวิตคือการลงทุน ผู้เรียนลงทุนกับชีวิตไปเท่าไหร่” โดยแบ่งการวิเคราะห์ต้นทุนชีวิตออกเป็น 2 ช่วงหลัก

  • ช่วงวัยแห่งการลงทุนในชีวิตเกิดขึ้นตั้งแต่แรกเกิดถึงช่วงจบการศึกษาระดับปริญญาตรี รวมเป็นระยะเวลา 22 ปี

    o   วัยเริ่มต้นชีวิต 0 – 6 ปี

    o   วัยเรียนประถมศึกษา 7 – 12 ปี

    o   วัยเรียนมัธยมศึกษา 13 – 18 ปี

    o   วัยเรียนมหาวิทยาลัย 19 – 22 ปี

  • ช่วงวัยแห่งการสร้างรายได้เกิดขึ้นตั้งแต่เรียนจบการศึกษาระดับปริญญาตรีถึงช่วงเกษียณอายุ 60 ปี รวมเป็นระยะเวลา 38 ปี

จากนั้นผู้สอนถามคำถามชวนคิดหลังคำนวณ “ต้นทุนชีวิต” คือ ปัจจุบันนี้เราเป็นต้นทุนของใคร ? และอาชีพในอนาคตที่ผู้เรียนสามารถเลี้ยงดูตนเองและครอบครัวได้หรือไม่ ? ซึ่งครอบครัวเป็น
ผู้รับภาระต้นทุนชีวิตของผู้เรียน หากไม่วางแผนการเงินตั้งแต่
ในวัยเรียน ผู้เรียนจะไปสร้างต้นทุนที่สูงขึ้นให้กับครอบครัวด้วยเช่นกัน

3.  ผู้สอนชวนผู้เรียนวิเคราะห์ต้นทุนชีวิตอีกครั้ง ในกรณีไม่วางแผนการเงินจะส่งผลให้ต้นทุนชีวิตสูงขึ้นหรือไม่
และจะเกิดผลทางการเงินอย่างไร ? เพื่อเชื่อมโยงให้เห็นว่าแผนชีวิตกับแผนการเงินเป็นเรื่องที่แยกจากกันไม่ได้ โดยตั้งต้นจากเป้าหมายชีวิตที่ใกล้ที่สุดของผู้เรียน คือ การเรียนในมหาวิทยาลัย หากไม่วางแผน อาจต้องอดทนเรียนในสิ่งที่ไม่ใช่ ซึ่งเป็นต้นทุนที่สูญเสียไป

4.  ผู้สอนชวนผู้เรียนสร้างแผนการใช้ชีวิต (Life Plan) ใน 3 ช่วงวัย ได้แก่ วัยเด็ก วัยทำงาน และวัยเกษียณ
ด้วยการตอบคำถาม 4 ข้อของแต่ละช่วงวัย ได้แก่

  • ช่วงวัยนั้นทำอะไรอยู่ ? โดยให้ผู้เรียนจินตนาการถึง
    หน้าที่หลักในช่วงวัยนั้น  เช่น เรียนหนังสือ ทำงาน
    เก็บเงินดาวน์บ้าน
  • วิถีการใช้ชีวิตเป็นอย่างไร ? โดยให้ผู้เรียนจินตนาการถึงรูปแบบการใช้ชีวิตที่ต้องการ (Lifestyle)  เช่น ชอบท่องเที่ยวต่างประเทศอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ชอบไป
    คาเฟ่ ชอบใช้เวลาอยู่บ้าน ชอบดูซีรีส์ ชอบอ่านหนังสือ
  • ค่าใช้จ่ายแต่ละเดือนประมาณเท่าไหร่ ? โดยผู้เรียนลองประมาณการจากข้อมูลใน 2 คำถามแรก ประกอบกัน เพื่อให้เห็นว่า ในแต่ละช่วงวัยต้องใช้เงินเท่าไหร่
  • แหล่งรายได้ในช่วงวัยนั้นมาจากไหน ? โดยให้ผู้เรียนลองประมาณการจากรายรับจากการทำงาน (Active income) หรือรายรับจากการออมหรือลงทุน (Passive income) เช่น ดอกเบี้ยเงินฝาก
    เงินปันผล ค่าเช่าจากอสังหาริมทรัพย์

5.  ผู้สอนชวนผู้เรียนถอดบทเรียน เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้สอนในการออกแบบการเรียนรู้ในคาบเรียนต่อไป

  • ทำกิจกรรมนี้แล้วเป็นอย่างไรบ้าง ?
  • ข้อค้นพบใหม่ที่เกิดขึ้นกับตนเอง ?
  • สิ่งที่อยากให้ครูช่วยเหลือในคาบเรียนนี้ ?

 

การประเมินและการวัดผลการเรียนรู้ :

1.  ประเมินผลการเรียนรู้จากใบงาน

2.  สังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนในการคิดวิเคราะห์และการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันของผู้เรียน