SMART Money
ชื่อกิจกรรม : SMART Money
ชื่อครู/หน่วยงาน : อ.วีรพล แก้วพันธ์อ่ำ และ อ.ธีรภาพ แซ่เชี่ย ผลงานภายใต้ความร่วมมือระหว่าง
ธนาคารแห่งประเทศไทยและโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ชื่อโรงเรียนที่สอนหรือฝึกสอน : โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ภาคการศึกษาและปีการศึกษาที่ใช้สอน/ทำกิจกรรม : ภาคการเรียนที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2566
ระดับชั้น : มัธยมศึกษาปีที่ 5
รูปแบบการนำไปใช้ :
รายวิชาเฉพาะ - วิชารู้ทันการเงิน
วัตถุประสงค์การเรียนรู้ :
เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอนการวางแผนการเงิน
สมรรถนะทางการเงิน (Financial competency) :
สมรรถนะหลัก
FB11. ดูแลและติดตามการใช้จ่าย (ป. ปลาย)
FB12. ตั้งเป้าหมายทางการเงินที่ดี (SMART) (ป. ปลาย)
FB20. แยกความจำเป็นและความต้องการ และจัดลำดับความสำคัญได้ (ม. ต้น)
FB21. จัดสรรเงินและติดตามสถานะการเงินของตนเอง เพื่อไม่ให้ใช้เงินเกินที่จัดสรรไว้ (ม. ต้น)
FB22. ทบทวนเป้าหมายทางการเงินและปรับแผนหากจำเป็น (ม. ต้น)
FK96. รู้วิธีวางแผนการเงินเพื่อช่วยให้บรรลุเป้าหมายชีวิต (ม. ปลาย)
FK97. เข้าใจความสำคัญของการจัดลำดับรายจ่ายเมื่อมีรายได้จำกัด (ม. ปลาย)
สมรรถนะเสริม
FK19. รู้ว่าความจำเป็นและความต้องการของแต่ละคนอาจแตกต่างกัน (ป. ต้น)
FA17. มีความมั่นใจที่จะตัดสินใจใช้จ่ายอย่างมีเหตุผล แม้ว่าจะแตกต่างจากผู้อื่นก็ตาม (ม. ต้น)
FA21. เชื่อว่าการวางแผนการเงินที่เริ่มต้นเร็ว ช่วยสร้างทางเลือกให้บรรลุเป้าหมายได้ (ม. ต้น)
FA24. ยอมรับว่าการจัดสรรเงินก่อนใช้เป็นสิ่งที่ควรทำ (ม. ปลาย)
ตัวชี้วัด สพฐ. ถ้ามี :
กลุ่มสาระการเรียนรู้ |
ตัวชี้วัดระหว่างทาง
|
ตัวชี้วัดปลายทาง |
สังคมศึกษา |
ส 3.1 ป.3/1 จำแนกความต้องการและความจำเป็นในการใช้สินค้าและบริการในการดำรงชีวิต
|
ส 3.1 ป.3/2 วิเคราะห์การใช้จ่ายป.3/2 วิเคราะห์การใช้จ่ายของตนเองของตนเอง |
กระบวนการจัดการเรียนรู้หรือขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม :
1. ผู้สอนอธิบายขั้นตอนการวางแผนทางการเงิน 5 ขั้นตอน โดยไม่ต้องเรียงลำดับหรืออธิบายรายละเอียดของแต่ละขั้นตอน ได้แก่
(1) สำรวจตนเอง
(2) ตั้งเป้าหมายทางการเงิน
(3) ทำแผนการเงินและแผนใช้เงิน
(4) ลงมือปฏิบัติตามแผน
(5) ทบทวนและปรับปรุงแผนตามสถานการณ์
จากนั้นให้ผู้เรียนจัดกลุ่มหรือจัดกลุ่มแบบสุ่มให้ผู้เรียน แล้วทดลองเรียงขั้นตอนการวางแผนการเงิน พร้อมทั้งให้เหตุผลสนับสนุนของกลุ่มตนเอง
2. ผู้สอนอธิบายวิธีการวางแผน 5 ขั้นตอนอย่างละเอียด
3. ให้ผู้เรียนทำใบงาน 2 กิจกรรมเพื่อทดสอบความรู้ความเข้าใจของผู้เรียน
4. ผู้สอนชวนผู้เรียนถอดบทเรียน เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้สอนในการออกแบบการเรียนรู้ในคาบเรียนต่อไป
การประเมินและการวัดผลการเรียนรู้ :
1. ประเมินผลการเรียนรู้จากใบงาน
2. สังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนในการคิดวิเคราะห์และการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันของผู้เรียน