ตลาดพิซซ่า
ชื่อกิจกรรม : ตลาดพิซซ่า
ชื่อครู/หน่วยงาน : อ.วีรพล แก้วพันธ์อ่ำ และ อ.ธีรภาพ แซ่เชี่ย ผลงานภายใต้ความร่วมมือระหว่างธนาคาร
แห่งประเทศไทยและโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ชื่อโรงเรียนที่สอนหรือฝึกสอน : โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ภาคการศึกษาและปีการศึกษาที่ใช้สอน/ทำกิจกรรม : ภาคการเรียนที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2566
ระดับชั้น : มัธยมศึกษาปีที่ 5
รูปแบบการนำไปใช้ :
รายวิชาเฉพาะ - วิชารู้ทันการเงิน
วัตถุประสงค์การเรียนรู้ :
เพื่อให้้ผู้้เรียนเข้าใจความสัมพันธ์ของหน่วยเศรษฐกิจอย่างภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจในระบบเศรษฐกิจ
สมรรถนะทางการเงิน (Financial competency) :
สมรรถนะหลัก
FK44. รู้ว่าต้องประเมินความสามารถในการจ่ายเงิน หรือกำลังทรัพย์ของตนเองก่อนซื้อสินค้า ไม่ด่วนตัดสินใจทันทีทันใด (ม. ต้น)
FA18. มีแรงจูงใจที่จะหาข้อมูลและเปรียบเทียบสินค้าก่อนตัดสินใจซื้อ (ม. ต้น)
FA19. มีความมั่นใจที่จะต่อรองราคาอย่างสมเหตุผล (ม. ต้น)
FK75. รู้ว่าปัจจัยทางเศรษฐกิจมหภาค เช่น อัตราเงินเฟ้อ ส่งผลต่อราคาสินค้าและอำนาจซื้อได้อย่างไร (ม. ปลาย)
FK92. รู้เท่าทันเทคนิคการตั้งราคาและการโฆษณาที่จูงใจ (ม. ปลาย)
FK171. เข้าใจวัตถุประสงค์พื้นฐานของประกันภัย เข้าใจว่าทำไมจึงต้องซื้อประกันภัย (อุดมศึกษา)
ตัวชี้วัด สพฐ. ถ้ามี :
กลุ่มสาระการเรียนรู้ |
ตัวชี้วัดระหว่างทาง |
ตัวชี้วัดปลายทาง
|
สังคมศึกษา | ส 3.1 ป.3/3 อธิบายได้ว่าทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดมีผลต่อการผลิตและบริโภคสินค้าและบริการ
|
|
สังคมศึกษา | ส 3.2 ม.1/3 ระบุปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดอุปสงค์และอุปทาน | ส 3.1 ม.1/2 วิเคราะห์ค่านิยมและพฤติกรรมการบริโภคของคนในสังคมซึ่งส่งผลต่อเศรษฐกิจของชุมชนและประเทศ
|
สังคมศึกษา | ส 3.2 ม.3/4 อภิปรายผลกระทบที่เกิดจากภาวะเงินเฟ้อ เงินฝืด
|
|
การงานอาชีพ |
| ง 1.1 ม.3/3 อภิปรายการทำงาน โดยใช้ทักษะการจัดการ เพื่อการประหยัดพลังงาน ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม
|
กระบวนการจัดการเรียนรู้หรือขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม :
1. ผู้สอนเตรียมความพร้อมให้ผู้เรียนด้วยการตั้งคำถาม 2 ข้อ ได้แก่
2. ผู้สอนแบ่งผู้เรียนออกเป็น 2 ฝั่ง ได้แก่
ผู้สอนต้องเตรียมบัตรคำ 4 แบบ คือ แรงงาน เตาอบ วัตถุดิบ และพิซซ่า ในปริมาณที่มากกว่าจำนวนผู้เรียนในห้อง 4 เท่า เพื่อให้เกิดการผลิต ซื้อ ขาย แลกเปลี่ยนและนำมาผลิต
3. ผู้สอนอธิบายเงื่อนไขในการทำกิจกรรมโดย
4. เมื่อครบเวลาที่กำหนด หรือขายพิซซ่าหมดแล้ว ให้ผู้สอนสอบถามผู้เรียนชวนผู้เรียนร่วมกันสรุปกิจกรรมโดยการตั้งคำถาม
จากนั้นชวนพูดคุยแลกเปลี่ยนวิธีการที่ทำให้ขายพิซซ่าได้เงินมากที่สุดและบริโภคพิซซ่าได้มากที่สุด รวมถึงวิเคราะห์ว่าตัวละครแต่ละฝั่งมีความสัมพันธ์กันอย่างไร จากนั้นให้เชื่อมโยงถึงความสัมพันธ์ของหน่วยเศรษฐกิจภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจในระบบเศรษฐกิจ
5. ผู้สอนสามารถพัฒนากิจกรรมด้วยการเพิ่มฝั่งธนาคารที่ทำหน้าที่ปล่อยเงินกู้ เพื่อให้ฝั่งร้านค้ามีเงินสำหรับลงทุนผลิตพิซซ่าเพิ่ม หรือสร้างสถานการณ์ต่าง ๆ เช่น ประกาศอัตราเงินเฟ้อ ปรับราคาทรัพยากรบางรายการ ซึ่งสถานการณ์จะกระทบผู้เล่นในแต่ละรอบ
6. ผู้สอนชวนผู้เรียนถอดบทเรียน เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้สอนในการออกแบบการเรียนรู้ในคาบเรียนต่อไป
การประเมินและการวัดผลการเรียนรู้ :
1. สังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนในการคิดวิเคราะห์และการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันของผู้เรียน