สำรวจผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงิน

การเผยแพร่ผลงานครูในโครงการหรือตามความร่วมมือต่าง ๆ

ชื่อกิจกรรม : สำรวจผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงิน

 

ชื่อครู/หน่วยงาน : อ.วีรพล แก้วพันธ์อ่ำ และ อ.ธีรภาพ แซ่เชี่ย ผลงานภายใต้ความร่วมมือระหว่างธนาคารแห่งประเทศไทยและโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

 

ชื่อโรงเรียนที่สอนหรือฝึกสอน : โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

 

ภาคการศึกษาและปีการศึกษาที่ใช้สอน/ทำกิจกรรม : ภาคการเรียนที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2566

 

ระดับชั้น : มัธยมศึกษาปีที่ 5

 

รูปแบบการนำไปใช้ : 

รายวิชาเฉพาะ - วิชารู้ทันการเงิน

 

วัตถุประสงค์การเรียนรู้ :

เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินประเภทต่าง ๆ

 

สมรรถนะทางการเงิน (Financial competency) :

สมรรถนะหลัก

FK69. รู้ว่ามีผลิตภัณฑ์หรือบริการทางการเงินที่หลากหลาย ทั้ง online และ offline ซึ่งสามารถเลือกใช้บริการได้จากผู้ให้บริการหลายแห่ง (ม. ต้น)

FK105. รู้จักผลิตภัณฑ์การออมและการลงทุนว่ามีความเสี่ยงและผลตอบแทนที่แตกต่างกัน (ม. ปลาย)

FK112. รู้ว่าผู้เสนอขายผลิตภัณฑ์หรือบริการทางการเงินอาจนำเสนอเฉพาะผลตอบแทน โดยไม่ได้บอกถึงความเสี่ยง จึงควรหาข้อมูลเพิ่มเติม (ม. ปลาย)

FK123. รู้ว่าสามารถตรวจสอบข้อมูลใบอนุญาตหรือใบขึ้นทะเบียนของผู้ให้บริการแต่ละรายจากหน่วยงานกำกับดูแลได้ (ม. ปลาย)

FK127. เข้าใจถึงความแตกต่างระหว่างแหล่งความรู้ทางการเงินที่เป็นกลางและแหล่งความรู้ทางการเงินที่มาจากสื่อโฆษณาส่งเสริมการขาย (ม. ปลาย)

FK128. รู้ว่ามีแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หรือบริการทางการเงินที่หลากหลาย และรู้ว่าควรตรวจสอบแหล่งที่มาของข้อมูลก่อนนำไปใช้ (ม. ปลาย)

FB35. สามารถแยกความแตกต่างระหว่างข้อมูลผลิตภัณฑ์และข้อมูลส่งเสริมการขาย (ม. ปลาย)

 

สมรรถนะเสริม

FK124. รู้ว่าผลิตภัณฑ์หรือบริการทางการเงินบางประเภท อาจถูกนำเสนอโดยหน่วยงานที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน เช่น สัจจะออมทรัพย์ เงินฌาปนกิจสงเคราะห์ (ม. ปลาย)

FA27. มีความมั่นใจที่จะสอบถามผู้ให้บริการทางการเงินเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หรือบริการทางการเงินที่เสนอขาย
(ม. ปลาย)

FB30. สามารถเปรียบเทียบและเลือกใช้ผลิตภัณฑ์หรือบริการทางการเงินที่เหมาะสมกับตนเองและเป้าหมายทาง
การเงินที่วางไว้  (ม. ปลาย)

 

ตัวชี้วัด สพฐ. ถ้ามี : 

 

 กลุ่มสาระการเรียนรู้ 

 

 

ตัวชี้วัดระหว่างทาง

 

ตัวชี้วัดปลายทาง

 

-

 

 

-

 

-

กระบวนการจัดการเรียนรู้หรือขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม :

1.  ผู้สอนตั้งคำถามให้ผู้เรียนนึกถึงผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินด้วยคำถาม 2 ข้อ

  • รู้จักผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินอะไรบ้าง ?
  • เคยใช้บริการอะไรของธนาคารบ้าง ?

 

2.  ผู้สอนแบ่งผู้เรียนออกเป็น 2 กลุ่มและแจกบัตรคำผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินให้กลุ่มละ 1 ชุด โดยทั้ง 2 กลุ่มจะได้บัตรคำเหมือนกัน แล้วให้ผู้เรียนหาข้อมูลสำคัญของผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินทั้ง 5 ประเภทจากบัตรคำที่ได้รับ ซึ่งได้แก่

    1) บัญชีเงินฝาก

    2) ผลิตภัณฑ์ที่คล้ายเงินฝาก

    3) ผลิตภัณฑ์การลงทุน

    4) ประกันชีวิตและประกันวินาศภัย

    5) สินเชื่อ จากนั้นให้แต่ละกลุ่มนำเสนอข้อมูลสำคัญ

 

3.  ผู้สอนบรรยายความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินเพิ่มเติม และชวนผู้เรียนนึกถึงวัตถุประสงค์ของการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินแต่ละประเภท (ตัวอย่างคำตอบ บัญชีเงินฝากและผลิตภัณฑ์การลงทุนเป็นผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินที่ใช้เพื่อสะสมและเพิ่มพูนความมั่งคั่ง) รวมถึงหน่วยงานที่กำกับดูแลผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ทางการเงิน หากได้รับบริการที่ไม่เป็นธรรม เพื่อรักษาประโยชน์และลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินเหล่านั้น จากนั้นชวนผู้เรียนสรุปกิจกรรม

 

4.  ผู้สอนชวนผู้เรียนถอดบทเรียน เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้สอนในการออกแบบการเรียนรู้ในคาบเรียนต่อไป

  • ทำกิจกรรมนี้แล้วเป็นอย่างไรบ้าง ?
  • ข้อค้นพบใหม่ที่เกิดขึ้นกับตนเอง ?
  • สิ่งที่อยากให้ครูช่วยเหลือในคาบเรียนนี้ ?

 

การประเมินและการวัดผลการเรียนรู้ :

1.  สังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนในการคิดวิเคราะห์และการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันของผู้เรียน