รู้จักบริการทางการเงินในยุคดิจิทัล

การเผยแพร่ผลงานครูในโครงการหรือตามความร่วมมือต่าง ๆ

ชื่อกิจกรรม : รู้จักบริการทางการเงินในยุคดิจิทัล

 

ชื่อครู/หน่วยงาน : อ.วีรพล แก้วพันธ์อ่ำ และ อ.ธีรภาพ แซ่เชี่ย ผลงานภายใต้ความร่วมมือระหว่างธนาคารแห่งประเทศไทยและโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

 

ชื่อโรงเรียนที่สอนหรือฝึกสอน : โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

 

ภาคการศึกษาและปีการศึกษาที่ใช้สอน/ทำกิจกรรม : ภาคการเรียนที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2566

 

ระดับชั้น : มัธยมศึกษาปีที่ 5

 

รูปแบบการนำไปใช้ : 

รายวิชาเฉพาะ - วิชารู้ทันการเงิน

 

วัตถุประสงค์การเรียนรู้ :

เพื่อให้ผู้เรียนรู้จักธุรกรรมการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-payment) และสามารถเลือกใช้ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

 

สมรรถนะทางการเงิน (Financial competency) :

สมรรถนะหลัก

FK40. รู้จักบริการทางการเงินแบบออนไลน์เช่น Mobile Banking e-money (ม. ต้น)

FK45. รู้ว่าสามารถชำระค่าสินค้าและบริการได้หลายวิธี (ม. ต้น)

FK46. รู้ข้อดีและข้อเสียของการซื้อสินค้าในแต่ละช่องทาง เช่น ซื้อที่ร้านค้า ซื้อช่องทางออนไลน์ (ม. ต้น)

FK47. เข้าใจข้อดีข้อเสีย และค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้น เพื่อเลือกรูปแบบการชำระเงินที่เหมาะสมและปลอดภัย เช่น ชำระด้วยเงินสด บัตรอิเล็กทรอนิกส์ การโอนเงิน (ม. ต้น)

FK48. เข้าใจว่าเกิดความผิดพลาดได้เมื่อชำระเงินหรือซื้อสินค้าจึงควรตรวจสอบใบเสร็จรับเงินหรือใบแจ้งหนี้ทุกครั้ง (ม. ต้น)

FK57. รู้ถึงความเสี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินทั้งแบบ online และ offline (ม. ต้น)

 

สมรรถนะเสริม

FK62. รู้วิธีรักษาความปลอดภัยในการใช้บริการทางการเงิน เช่น รักษารหัสผ่าน (ม. ต้น)

FK63. เข้าใจว่าการยืนยันตัวตนก่อนทำธุรกรรมทางการเงิน เช่น จ่ายเงิน โอนเงิน จะช่วยป้องกันภัยทางการเงิน (ม. ต้น)

FK69. รู้ว่ามีผลิตภัณฑ์หรือบริการทางการเงินที่หลากหลาย ทั้ง online และ offline ซึ่งสามารถเลือกใช้บริการได้จากผู้ให้บริการหลายแห่ง (ม. ต้น)

FK111. รู้จักความเสี่ยงของผลิตภัณฑ์หรือบริการทางการเงินที่ใช้อยู่ เช่น บัญชีเงินฝาก Mobile Banking (ม. ปลาย)

FK122. รู้ว่าผู้ให้บริการทางการเงินในระบบอยู่ภายใต้การกำกับของหน่วยงานกำกับดูแล และมีบางผู้ให้บริการทางการเงินที่อยู่นอกการกำกับดูแล (ม. ปลาย)

FK123. รู้ว่าสามารถตรวจสอบข้อมูลใบอนุญาตหรือใบขึ้นทะเบียนของผู้ให้บริการแต่ละรายจากหน่วยงานกำกับดูแลได้ (ม. ปลาย)

FB38. ระมัดระวังการใช้งานอินเตอร์เน็ตที่อาจก่อให้เกิดรอยเท้าบนโลกดิจิทัล (digital footprint) ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยของข้อมูลทางการเงินของตนเอง (ม. ปลาย)

 

ตัวชี้วัด สพฐ. ถ้ามี :

 

กลุ่มสาระการเรียนรู้

 

ตัวชี้วัดระหว่างทาง

 

 

ตัวชี้วัดปลายทาง

 

สังคมศึกษา

 

ส 3.1 ป.6/2 อธิบายบทบาทของผู้บริโภคที่รู้เท่าทัน

 

 

 

กระบวนการจัดการเรียนรู้หรือขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม :

1.  ผู้สอนตั้งคำถามเกริ่นนำด้วยคำถาม 2 ข้อ คือ

  • ในชีวิตประจำวันผู้เรียนทำธุรกรรมชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์อะไรบ้าง ? เช่น พร้อมเพย์ บัตรเดบิต
  • ผู้เรียนทำธุรกรรมชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่ออะไร ? เช่น ใช้พร้อมเพย์โอนเงินคืนเพื่อนใช้บัตรเดบิตถอนเงินจากตู้ ATM

 

2.  ผู้สอนแบ่งผู้เรียนเป็นกลุ่ม จากนั้นให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มแข่งกันค้นหาคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับการชำระเงินตามหัวข้อที่กำหนดให้ถูกต้อง ได้แก่ ผู้ให้บริการทางการเงิน รูปแบบการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ชื่อแอปพลิเคชันของผู้ให้บริการทางการเงิน และวิธีการป้องกันความเสี่ยงจากการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์

 

3.  ผู้สอนเฉลยคำตอบและอธิบายรายละเอียดเพิ่มเติม นอกจากนั้น ผู้สอนอาจมอบรางวัลให้แก่กลุ่มที่ตอบถูกต้องมากที่สุด หรือรวดเร็วที่สุด

 

4.  ผู้สอนขออาสาสมัครจากผู้เรียน 2 คนหรือมากกว่านั้น เพื่อแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้และแบ่งปันไอเดีย Next time, I will …

  • ธุรกรรมชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ที่กำลังจะใช้หรืออยากใช้ คืออะไร เพราะอะไร ?
  • เราสามารถเพิ่มความมั่นใจว่าใช้งานได้อย่างปลอดภัย จะทำ (do) และจะไม่ทำ (don’t) อะไรบ้าง ?

 

5.  ผู้สอนชวนผู้เรียนถอดบทเรียน เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้สอนในการออกแบบการเรียนรู้ในคาบเรียนต่อไป

  • ทำกิจกรรมนี้แล้วเป็นอย่างไรบ้าง ?
  • ข้อค้นพบใหม่ที่เกิดขึ้นกับตนเอง ?
  • สิ่งที่อยากให้ครูช่วยเหลือในคาบเรียนนี้ ?

 

การประเมินและการวัดผลการเรียนรู้ :

1.  ประเมินผลการเรียนรู้จากการจัดหมวดหมู่คำ

2.  สังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนในการคิดวิเคราะห์และการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันของผู้เรียน