วันนี้ฉันจะมาหลอก

การเผยแพร่ผลงานครูในโครงการหรือตามความร่วมมือต่าง ๆ

ชื่อกิจกรรม : วันนี้ฉันจะมาหลอก

 

ชื่อครู/หน่วยงาน : อ.วีรพล แก้วพันธ์อ่ำ และ อ.ธีรภาพ แซ่เชี่ย ผลงานภายใต้ความร่วมมือระหว่างธนาคาร
แห่งประเทศไทยและโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

 

ชื่อโรงเรียนที่สอนหรือฝึกสอน : โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

 

ภาคการศึกษาและปีการศึกษาที่ใช้สอน/ทำกิจกรรม : ภาคการเรียนที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2566

 

ระดับชั้น : มัธยมศึกษาปีที่ 5

 

รูปแบบการนำไปใช้ : 

รายวิชาเฉพาะ - วิชารู้ทันการเงิน

 

วัตถุประสงค์การเรียนรู้ :

เพื่อให้ผู้เรียนรู้้เท่าทันกลโกง พร้อมรับมือกับภัยทางการเงินรูปแบบต่าง ๆ และไม่ตกเป็นเหยื่อของแก๊งมิจฉาชีพ

 

สมรรถนะทางการเงิน (Financial competency) :

สมรรถนะหลัก

FK61. รู้รูปแบบ ลักษณะ ข้อสังเกตของภัยทางการเงิน และวิธีการป้องกันตนเองจากภัยทางการเงิน (ม. ต้น)

FK60. รู้วิธีหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่อาจเป็นการหลอกลวง รวมถึงรู้ว่าไม่ควรเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลบนช่องทางออนไลน์ (ม. ต้น)

FK114. รู้ว่ามีการหลอกลวงที่เกี่ยวกับการลงทุน เช่น แชร์ลูกโซ่ (ม. ปลาย)

FK115. รู้แหล่งข้อมูลเกี่ยวกับภัยทางการเงินและการเตือนภัยต่าง ๆ (ม. ปลาย)

FK116. รู้ว่าควรขอความช่วยเหลือ หรือแจ้งเบาะแสภัยทางการเงินที่หน่วยงานใด (ม. ปลาย)

FK117. รู้ขั้นตอนในการดำเนินการหากตกเป็นเหยื่อของแก๊งมิจฉาชีพ (ม. ปลาย)

FB39. ติดตามข่าวสารเกี่ยวกับภัยทางการเงินเป็นประจำ (ม. ปลาย)

 

สมรรถนะเสริม

FK41. รู้วิธีการโอนเงินได้อย่างปลอดภัย (ม. ต้น)

FK56. รู้ว่าการซื้อของออนไลน์อาจมีความเสี่ยง (ม. ต้น)

FK62. รู้วิธีรักษาความปลอดภัยในการใช้บริการทางการเงิน เช่น รักษารหัสผ่าน (ม. ต้น)

FK63. เข้าใจว่าการยืนยันตัวตนก่อนทำธุรกรรมทางการเงิน เช่น จ่ายเงิน โอนเงิน จะช่วยป้องกันภัยทางการเงิน (ม. ต้น)

FK68. เข้าใจถึงความเสี่ยงและผลที่ตามมาจากการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล (ม. ต้น)

FB23. เก็บรักษาเงินสด บัตรอิเลกทรอนิกส์ และข้อมูลส่วนบุคคลให้ปลอดภัย เช่น ข้อมูลทางการเงิน รหัสผ่าน (ม. ต้น)

FK107. รู้ว่ามิจฉาชีพมักใช้คริปโทเคอร์เรนซีหลอกให้ลงทุนโดยแอบอ้างผลตอบแทนสูง (ม. ปลาย)

FK161. รู้กฎหมายฟอกเงินพื้นฐานเพื่อป้องกันการตกเป็นเหยื่อภัยทางการเงิน (อุดมศึกษา)

FB62. สามารถดำเนินการแก้ปัญหาได้เมื่อตกเป็นเหยื่อภัยทางการเงิน (อุดมศึกษา)

 

ตัวชี้วัด สพฐ. ถ้ามี :

 

กลุ่มสาระการเรียนรู้

 

 

ตัวชี้วัดระหว่างทาง

 

ตัวชี้วัดปลายทาง

 

-

 

 

-

 

-

กระบวนการจัดการเรียนรู้หรือขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม :

1.  ผู้สอนตั้งคำถามชวนคิดกับผู้เรียน 2 คำถามว่า

  • เคยมีประสบการณ์การหลอกผู้อื่นหรือไม่ ?
  • เจตนาของการหลอกคืออะไร ?

ตัวอย่างคำตอบของผู้เรียนอาจเป็นไปได้หลากหลาย เช่น ไม่อยากให้คนอื่นรู้ความจริง เป็นวิธีที่ง่ายที่จะได้อะไรบางอย่าง

 

2.  ผู้สอนให้ผู้เรียนแบ่งปันประสบการณ์เกี่ยวกับภัยทางการเงินของผู้เรียนว่า ที่ผ่านมาผู้เรียนหรือคนใกล้ตัวของผู้เรียนเคยเจอภัยทางการเงินอะไรบ้าง ? จากนั้นผู้สอนสรุปคำตอบของผู้เรียน

 

3.  ผู้สอนยกตัวอย่างภัยทางการเงินที่เหมาะสมกับผู้เรียน เช่น ภัยในโลกออนไลน์ แก๊งคอลเซนเตอร์ แชร์ลูกโซ่ เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจกลอุบายของภัยทางการเงินรูปแบบต่าง ๆ

 

4.  ผู้สอนจัดกลุ่มผู้เรียนและแจกข่าวภัยทางการเงินรูปแบบต่าง ๆ ให้กับผู้เรียนแต่ละกลุ่ม เพื่อให้ผู้เรียนวิเคราะห์พฤติกรรมของมิจฉาชีพและแสดงบทบาทสมมติ จากนั้นให้ผู้เรียนกลุ่มอื่น ๆ แข่งกันตอบว่าเป็นภัยทางการเงินรูปแบบใด และควรรับมืออย่างไรหากตกเป็นเหยื่อ

 

5.  ผู้สอนชวนผู้เรียนสรุปกิจกรรม เพื่อเข้าใจพฤติกรรมของมิจฉาชีพและพร้อมรับมือภัยจากมิจฉาชีพ

 

6.  ผู้สอนชวนผู้เรียนถอดบทเรียน เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้สอนในการออกแบบการเรียนรู้ในคาบเรียนต่อไป

  • ทำกิจกรรมนี้แล้วเป็นอย่างไรบ้าง ?
  • ข้อค้นพบใหม่ที่เกิดขึ้นกับตนเอง ?
  • สิ่งที่อยากให้ครูช่วยเหลือในคาบเรียนนี้ ?

 

การประเมินและการวัดผลการเรียนรู้ :

1.  ประเมินผลการเรียนรู้จากการตอบคำถาม

2.  สังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนในการคิดวิเคราะห์และการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันของผู้เรียน