ค้นหาสิ่งที่ใช่ เลือกสิ่งที่ชอบ

การเผยแพร่ผลงานครูในโครงการหรือตามความร่วมมือต่าง ๆ

ชื่อกิจกรรม : ค้นหาสิ่งที่ใช่ เลือกสิ่งที่ชอบ

 

ชื่อครู/หน่วยงาน : อ.วีรพล แก้วพันธ์อ่ำ และ อ.ธีรภาพ แซ่เชี่ย ผลงานภายใต้ความร่วมมือระหว่างธนาคารแห่งประเทศไทยและโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

 

ชื่อโรงเรียนที่สอนหรือฝึกสอน : โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

 

ภาคการศึกษาและปีการศึกษาที่ใช้สอน/ทำกิจกรรม : ภาคการเรียนที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2566

 

ระดับชั้น : มัธยมศึกษาปีที่ 5

 

รูปแบบการนำไปใช้ : 

รายวิชาเฉพาะ - วิชารู้ทันการเงิน

 

วัตถุประสงค์การเรียนรู้ :

เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจและสามารถเปรียบเทียบข้อมูลก่อนเลือกใช้ผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินได้

 

สมรรถนะทางการเงิน (Financial competency) :

สมรรถนะหลัก

FK69. รู้ว่ามีผลิตภัณฑ์หรือบริการทางการเงินที่หลากหลาย ทั้ง online และ offline ซึ่งสามารถเลือกใช้บริการได้จากผู้ให้บริการหลายแห่ง (ม. ต้น)

FK105. รู้จักผลิตภัณฑ์การออมและการลงทุนว่ามีความเสี่ยงและผลตอบแทนที่แตกต่างกัน (ม. ปลาย)

FK112. รู้ว่าผู้เสนอขายผลิตภัณฑ์หรือบริการทางการเงินอาจนำเสนอเฉพาะผลตอบแทน โดยไม่ได้บอกถึงความเสี่ยง จึงควรหาข้อมูลเพิ่มเติม (ม. ปลาย)

FK127. เข้าใจถึงความแตกต่างระหว่างแหล่งความรู้ทางการเงินที่เป็นกลางและแหล่งความรู้ทางการเงินที่มาจาก
สื่อโฆษณาส่งเสริมการขาย (ม. ปลาย)

FK128. รู้ว่ามีแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หรือบริการทางการเงินที่หลากหลาย และรู้ว่าควรตรวจสอบแหล่งที่มาของข้อมูลก่อนนำไปใช้ (ม. ปลาย)

FB30. สามารถเปรียบเทียบและเลือกใช้ผลิตภัณฑ์หรือบริการทางการเงินที่เหมาะสมกับตนเองและเป้าหมาย
ทางการเงินที่วางไว้  (ม. ปลาย)

FB35. สามารถแยกความแตกต่างระหว่างข้อมูลผลิตภัณฑ์และข้อมูลส่งเสริมการขาย (ม. ปลาย)

 

สมรรถนะเสริม

FK89. เข้าใจว่าเครื่องมือเปรียบเทียบราคาบนช่องทางออนไลน์อาจมีข้อมูลที่ไม่ครบถ้วน หรือไม่เป็นปัจจุบัน (ม. ปลาย)

FK124. รู้ว่าผลิตภัณฑ์หรือบริการทางการเงินบางประเภทอาจถูกนำเสนอโดยหน่วยงานที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน เช่น สัจจะออมทรัพย์ เงินฌาปนกิจสงเคราะห์ (ม. ปลาย)

FK129. รู้ช่องทางการเข้าถึงความรู้ทางการเงิน หรือการขอคำปรึกษาทางการเงิน (ม. ปลาย)

FA27. มีความมั่นใจที่จะสอบถามผู้ให้บริการทางการเงินเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หรือบริการทางการเงินที่เสนอขาย (ม. ปลาย)

 

ตัวชี้วัด สพฐ. ถ้ามี :

 

กลุ่มสาระการเรียนรู้

 

 

ตัวชี้วัดระหว่างทาง

 

ตัวชี้วัดปลายทาง

 

-

 

 

-

 

-

กระบวนการจัดการเรียนรู้หรือขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม :

1.  ผู้สอนแจกใบงาน “ค้นหาสิ่งที่ใช่ เลือกสิ่งที่ชอบ” โดยให้ผู้เรียนเลือกผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่สนใจ 1 ประเภท ได้แก่

  • เงินฝาก
  • บัตรเอทีเอ็ม / บัตรเดบิต
  • เงินอิเล็กทรอนิกส์
  • บัตรเครดิต

 

2.  ผู้สอนให้ผู้เรียนหาข้อมูลของผลิตภัณฑ์ทางการเงินจากผู้ให้บริการทางการเงินจำนวน 3 ราย ในเว็บไซต์ของธนาคารแห่งประเทศไทย (https://app.bot.or.th/1213/MCPD/ProductApp) จากนั้นเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์จากผู้ให้บริการทางการเงิน จำนวน 3 ราย

 

3.  ผู้เรียนเลือกผู้ให้บริการทางการเงิน พร้อมบอกเหตุผลที่เลือกผู้ให้บริการทางการเงินรายดังกล่าว

 

4.  ผู้สอนสรุปการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนเกิดวิจารณญาณในการเลือกผลิตภัณฑ์ทางการเงินว่า การเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์ทางการเงินจากแหล่งต่าง ๆ ช่วยให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมและเกิดประโยชน์กับเรามากที่สุด และควรศึกษารายละเอียดของผลิตภัณฑ์นั้นเพิ่มเติมในเว็บไซต์ของผู้ให้บริการทางการเงินด้วย

 

5.  ผู้สอนชวนผู้เรียนถอดบทเรียน เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้สอนในการออกแบบการเรียนรู้ในคาบเรียนต่อไป

  • ทำกิจกรรมนี้แล้วเป็นอย่างไรบ้าง ?
  • ข้อค้นพบใหม่ที่เกิดขึ้นกับตนเอง ?
  • สิ่งที่อยากให้ครูช่วยเหลือในคาบเรียนนี้ ?

 

การประเมินและการวัดผลการเรียนรู้ :

1.  ประเมินผลการเรียนรู้จากใบงาน

2.  สังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนในการคิดวิเคราะห์และการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันของผู้เรียน