เกษียณสุขกายสบายใจ

การเผยแพร่ผลงานครูในโครงการหรือตามความร่วมมือต่าง ๆ

ชื่อกิจกรรม : เกษียณสุขกายสบายใจ

 

ชื่อครู/หน่วยงาน : อ.วีรพล แก้วพันธ์อ่ำ และ อ.ธีรภาพ แซ่เชี่ย ผลงานภายใต้ความร่วมมือระหว่างธนาคารแห่งประเทศไทยและโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

 

ชื่อโรงเรียนที่สอนหรือฝึกสอน : โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

 

ภาคการศึกษาและปีการศึกษาที่ใช้สอน/ทำกิจกรรม : ภาคการเรียนที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2566

 

ระดับชั้น : มัธยมศึกษาปีที่ 5

 

รูปแบบการนำไปใช้ : 

รายวิชาเฉพาะ - วิชารู้ทันการเงิน

 

วัตถุประสงค์การเรียนรู้ :

เพื่อให้ผู้เรียนตระหนักรู้และเห็นความสำคัญของการวางแผนเกษียณ 

 

สมรรถนะทางการเงิน (Financial competency) :

สมรรถนะหลัก

FK103. รู้ว่าสามารถออมหรือลงทุนระยะสั้น เพื่อบรรลุความต้องการระยะยาวในอนาคตได้ (ม. ปลาย)

FK188. รู้ว่าเมื่ออายุมากขึ้นอาจมีรายได้ลดลง หรือไม่มีเลย จึงจำเป็นต้องเตรียมเงินเพื่อใช้จ่ายในช่วงเวลานั้น (วัยทำงาน)

FK189. รู้ว่ามีความเสี่ยงที่จะมีเงินไม่พอใช้หากอายุยืนยาวกว่าที่คาดไว้ (วัยทำงาน)

FK190. เข้าใจความสำคัญของการสร้างความมั่นคงทางการเงินตั้งแต่เริ่มทำงาน โดยเริ่มออมเพื่อการเกษียณตั้งแต่อายุน้อย (วัยทำงาน)

 

ตัวชี้วัด สพฐ. ถ้ามี :

 

กลุ่มสาระการเรียนรู้

 

ตัวชี้วัดระหว่างทาง

 

 

ตัวชี้วัดปลายทาง

 

 -

 

-

 

 

-

กระบวนการจัดการเรียนรู้หรือขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม :

1.  ผู้สอนเกริ่นนำด้วยคำถามกับผู้เรียน 2 คำถามว่า

  • อยากทำงานถึงอายุเท่าไหร่ ?

ผู้สอนให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ถ้าทำงานในองค์กรของรัฐ หรือบริษัทเอกชนส่วนใหญ่จะเกษียณตอนอายุ 55 ปี หรือ 60 ปี แต่ถ้าทำธุรกิจ ส่วนตัวหรือทำงานอิสระอาจจะไม่มีการกำหนดอายุเกษียณไว้แน่นอน

  • อยากมีชีวิตเกษียณแบบไหน ?

จากนั้นผู้สอนเสนอปลายทางของชีวิตเกษียณว่า มีหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับพฤติกรรมด้านการเงินของเราในวันนี้ เช่น

  • แบบที่ 1 สายพร้อม! วินัยดี เตรียมตัววางแผนการเงินเพื่อวัยเกษียณตั้งแต่เนิ่น ๆ และทำตามแผนได้
  • แบบที่ 2 สายชิล! มีแผนแต่ไม่ได้มีวินัยในการเก็บเงินมากนัก และอาจจะเริ่มต้นช้าไป ก็จะพอมีเงินเลี้ยงปากท้อง รักษาตัวเองยามเจ็บป่วยได้ แต่อาจจะไม่มีการสันทนาการ
  • แบบที่ 3 สาย YOLO - You only live once, (die once). เกิดมาครั้งเดียวตายครั้งเดียว ชีวิตสั้นเหลือเกิน เพราะฉะนั้นใช้ชีวิตและใช้เงินให้เต็มที่ พอเกษียณก็เป็นไปได้สูงว่าจะเงินที่มีจะพอใช้แค่ช่วงหนึ่ง คือ เงินหมดแล้วแต่ยังไม่ตาย ซึ่งผู้เรียนสามารถออกแบบชีวิตเกษียณของตัวเองได้ขึ้นอยู่กับว่า ให้ความสำคัญและลงมือทำจริงจังมากแค่ไหน

 

2.  ผู้สอนให้ผู้เรียนลองจินตนาการถึงความฝันที่อยากทำหลังเกษียณ โดยเขียนความฝันหรือสิ่งที่อยากทำหลังจากเกษียณ 1 ความฝัน = 1 ช่อง ในใบงาน “ความฝันที่อยากทำหลังเกษียณ” จากนั้นให้้ผู้้เรียนเลือกความฝันที่คิดว่า มีโอกาสเป็นไปได้ 3 ความฝัน

 

3.  ผู้สอนอธิบายว่า การเกษียณสุขต้องอาศัยการวางแผนล่วงหน้าและลงมือทำอย่างสม่ำเสมอในระยะยาว เพราะเรามีเวลาช่วงที่ทำงานในการเก็บเงินไว้ใช้ตอนเกษียณ จากนั้นชวนผู้เรียนคิดว่า แต่ละคนต้องมีเงินเกษียณเท่าไหร่ เพื่อให้มีชีวิตเกษียณในแบบที่ต้องการได้ ? โดยการคำนวณจำนวนเงินเกษียณที่ต้องมีและเงินที่ต้องออมต่อเดือนลงในใบงาน “จำนวนเงินที่ต้องมี เพื่อวัยเกษียณที่เลือกได้”

 

4.  ผู้สอนระดมคำตอบจากผู้เรียนว่า รู้สึกอย่างไรเมื่อเห็นตัวเลขที่ได้จากการคำนวณ ? และคิดว่าจะมีวิธีการอย่างไร เพื่อให้สามารถเก็บเงินเกษียณได้ตามแผนที่วางไว้ ?

 

5.  ผู้สอนสรุปกิจกรรม เพื่อเน้นย้ำความสำคัญของการวางแผนเกษียณว่า ยิ่งเริ่มได้เร็วเท่าไหร่ ยิ่งดี เช่น แสดงตัวอย่างเปรียบเทียบการเก็บออมเพื่อการเกษียณระหว่างกรณีที่เริ่มต้นเร็วกับกรณีที่เริ่มต้นช้าใกล้ช่วงเกษียณอายุแล้ว

 

6.  ผู้สอนชวนผู้เรียนถอดบทเรียน เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้สอนในการออกแบบการเรียนรู้ในคาบเรียนต่อไป

  • ทำกิจกรรมนี้แล้วเป็นอย่างไรบ้าง ?
  • ข้อค้นพบใหม่ที่เกิดขึ้นกับตนเอง ?
  • สิ่งที่อยากให้ครูช่วยเหลือในคาบเรียนนี้ ?

 

การประเมินและการวัดผลการเรียนรู้ :

1.  ประเมินผลการเรียนรู้จากใบงาน

2.  สังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนในการคิดวิเคราะห์และการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันของผู้เรียน