ดอกเบี้ยจริง ๆ ของฉัน

การเผยแพร่ผลงานครูในโครงการหรือตามความร่วมมือต่าง ๆ

ชื่อกิจกรรม : ดอกเบี้ยจริง ๆ ของฉัน

 

ชื่อครู/หน่วยงาน : ครูจตุพร คำม่วง 

 

ชื่อโรงเรียนที่สอนหรือฝึกสอน : โรงเรียนถาวรานุกูล

 

ภาคการศึกษาและปีการศึกษาที่ใช้สอน/ทำกิจกรรม : ภาคการเรียนที่ 2 ประจำปีการศึกษา 2566

 

ระดับชั้น : มัธยมศึกษาปีที่ 3

 

รูปแบบการนำไปใช้ : 

สอดแทรกในรายวิชา คณิตศาสตร์เพิ่มเติม (หน่วยการเรียนรู้คณิตศาสตร์ทางการเงิน)

 

วัตถุประสงค์การเรียนรู้ :

เพื่อให้ผู้เรียนอธิบายเกี่ยวกับวิธีการในการหาดอกเบี้ยและเงินรวมระหว่างเงินฝากและดอกเบี้ยได้

 

  ด้านความรู้ ความเข้าใจ (K)

  1. อธิบายเกี่ยวกับประโยชน์ของบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ดิจิทัล

  2. อธิบายเกี่ยวกับวิธีการในการหาดอกเบี้ยและเงินรวมระหว่างเงินฝากและดอกเบี้ยได้

 

  ด้านทักษะกระบวนการ (P)

  1. คำนวณหาดอกเบี้ยแบบ 6 เดือนและ 12 เดือนได้ 

  2. แก้โจทย์ปัญหาจากสถานการณ์ที่ครูกำหนดขึ้นได้

 

  ด้านคุณลักษณะ (A)

  1. ใฝ่เรียนรู้ 

  2. มุ่งมั่นในการทำงาน

 

สมรรถนะทางการเงิน (Financial competency) :

FK54. เข้าใจประโยชน์ของการเริ่มออมให้เร็วที่สุดและออมอย่างสม่ำเสมอ

FA16. ยอมรับว่าแต่ละคนมีนิสัยการใช้จ่าย การออม และการบริจาคที่แตกต่างกัน

FB31. มีเงินออมก่อนลงทุน เช่น เงินออมเผื่อฉุกเฉิน และศึกษาข้อมูลก่อนลงทุน

 

ตัวชี้วัด สพฐ. ถ้ามี :

 

กลุ่มสาระการเรียนรู้

 

ตัวชี้วัดระหว่างทาง

 

 

ตัวชี้วัดปลายทาง

-

-

-

 

กระบวนการจัดการเรียนรู้หรือขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม :

 

  • ขั้นนำ

1. นักเรียนอภิปรายร่วมกันภายในกลุ่มเกี่ยวกับสิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์ หรือข้อดีและข้อเสียของการเก็บเงินก่อนใช้ หรือเหลือใช้ในกระเป๋าและธนาคาร โดยมี 3 ประเด็น คือ ความสะดวกในการใช้ ความปลอดภัยของเงิน และผลตอบแทนจากการเก็บ

 

2. นักเรียนแต่ละกลุ่มสรุปความแตกต่าง และนำเสนอให้กับเพื่อน ๆ กลุ่มอื่น ๆ ได้รับฟังความคิดเห็น โดยครูอาจใช้คำถามเพื่อส่งเสริมให้นักเรียนเห็นความสำคัญของการฝากเงินกับธนาคาร เพื่อนำไปสู่การเรียนรู้เกี่ยวกับผลตอบแทนจากธนาคาร

 

  • ขั้นกิจกรรมการเรียนรู้

1. นักเรียนร่วมกันศึกษาเกี่ยวกับบัญชีเงินฝากแต่ละประเภท โดยให้เวลาประมาณ 5 นาที แล้วให้กลุ่มตัวแทนของแต่ละกลุ่มได้อธิบายเกี่ยวกับประเภทของเงินฝาก

 

2. นักเรียนร่วมกันศึกษาเกี่ยวกับประโยชน์ของการออมจากธนาคารแห่งประเทศไทย โดยครูใช้การถามตอบประกอบการอธิบายเกี่ยวกับเงินฝากและเงินเฟ้อ เพื่อมุ่งเน้นให้นักเรียนเห็นถึงความสาคัญของผลตอบแทนที่จะเกิดจากเงินออม ผ่าน Qr Code หรือลิงค์ https://www.bot.or.th/th/satang story/money plan/saving

 

3. นักเรียนร่วมกันศึกษาเกี่ยวกับดอกเบี้ยธนาคาร โดยครูอาจใช้การถามตอบประกอบการอธิบายว่า มีบัญชีเงินฝากของธนาคารไหน หรือรูปแบบใดที่จะพอทาให้เรามีโอกาสชนะเงินเฟ้อหรือไม่ ผ่าน Qr Code หรือลิงค์ https://www.bot.or.th/th/statistics/interest rate.html

 

4. นักเรียนร่วมกันศึกษาทางเลือกของการฝากเงินผ่านบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ดิจิทัล ที่ให้ผลตอบแทนที่มีโอกาสเทียบเท่าเงินเฟ้อหรือชนะเงินเฟ้อได้ ผ่าน Qr Code หรือลิงค์ https://www.moneybuffalo.in.th/saving

tips/digital bank fixed deposit interest rate

 

5. นักเรียนร่วมกันทำกิจกรรมที่ 1 ดอกเบี้ยกับเงินที่ฉันออม โดยครูยกสถานการณ์ตัวอย่าง ๆ ง่ายให้นักเรียนได้เข้าใจวิธีการคำนวณดอกเบี้ย โดยใช้ความรู้ทางด้านคณิตศาสตร์และใช้เครื่องคิดเลขเพื่อช่วยในการคำนวณ ซึ่งครูจะใช้การถามตอบประกอบการอธิบายยกตัวอย่างใน Situa1 และให้นักเรียนแต่ละคู่ผลัดกันยกตัวอย่างใน Situa2

 

6. นักเรียนร่วมกันทากิจกรรมที่ 2 ดอกเบี้ยจริง ๆ ของฉัน โดยครูยกตัวอย่างที่มีความคล้ายกับสถานการณ์จริงมากยิ่งขึ้น โดยการยกข้อมูลจริงแต่ไม่ระบุเจ้าของ เพื่อให้นักเรียนได้มีโอกาสในการคำนวณตามสถานการณ์และค้นพบผลตอบแทนที่ได้จากเงินฝากที่มีเงินเริ่มต้นแตกต่างกัน ผ่านกระบวนการกลุ่ม โดยครูจะเดินสำรวจแต่ละกลุ่มเพื่อให้คำแนะนำ จากนั้นให้ตัวแทนแต่ละกลุ่มทดลองเขียนอธิบายบนกระดาน

 

  • ขั้นสรุป

1. นักเรียนร่วมกันอภิปรายและสรุปเกี่ยวกับผลตอบแทนของเงินออมที่ได้จากการฝากธนาคารและเก็บไว้ด้วยตนเองถึงข้อดีและข้อเสีย พร้อมทั้งการคำนวณหาดอกเบี้ยของบัญชีเงินฝากดิจิทัล

 

2. ครูให้นักเรียนแต่ละคน ทดสอบความเข้าใจในคาบเรียน โดยการคำนวณหาดอกเบี้ยจากการเริ่มฝากเงิน 12,000

บาท ในวันที่ 1 มกราคม 2567 กับธนาคารตามที่อยู่ในเอกสารประกอบการเรียน แล้วหาดอกเบี้ยพร้อมเงินต้นที่จะได้ในวันที่ 30 มิถุนายน 2567

 

การประเมินและการวัดผลการเรียนรู้ :

จุดประสงค์การเรียนรู้ที่ต้องการวัด

ชิ้นงาน/ภาระ/ร่องรอยหลักฐาน

วิธีการวัด

เครื่องมือที่ใช้วัด

เกณฑ์

ด้านความรู้ ความเข้าใจ (K)

1) อธิบายเกี่ยวกับประโยชน์ของบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ดิจิทัล

 

2) อธิบายเกี่ยวกับวิธีการในการหาดอกเบี้ยและเงินรวมระหว่างเงินฝากและดอกเบี้ยได้

 

 

1. เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง การคำนวณดอกเบี้ยเงินฝากดิจิทัล

 

 

 

1. ตอบคำถามจากใบกิจกรรมที่ 1 และ 2 ได้

 

 

2. การทำกิจกรรมในเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง การคำนวณดอกเบี้ยเงินฝากดิจิทัล

 

 

1. คำถามจากใบกิจกรรมที่ 1 และ 2

 

 

2. กิจกรรมจากเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง การคำนวณดอกเบี้ยเงินฝากดิจิทัล

 

 

 

1. นักเรียนตอบคำถามในชั้นเรียนได้ถูกต้องร้อยละ 80

 

2. นักเรียนทำกิจกรรมได้ถูกต้องร้อยละ 80

ด้านทักษะกระบวนการ (P)

1) คำนวณหาดอกเบี้ยแบบ 6 เดือนและ 12 เดือนได้

 

 

 

2) แก้โจทย์ปัญหาจากสถานการณ์ที่ครูกำหนดขึ้นได้

 

 

 

1. ตรวจความถูกต้องการคำนวณ

 

 

 

2. ตรวจความถูกต้องในการแก้โจทย์ปัญหา

 

 

1. กิจกรรมจากเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง การคำนวณดอกเบี้ยเงินฝากดิจิทัล

 

2. โจทย์ปัญหาจากเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง การคำนวณดอกเบี้ยเงินฝากดิจิทัล

 

1. นักเรียนตอบคำถามในชั้นเรียนได้ถูกต้องร้อยละ80

 

 

 

2. นักเรียนทำกิจกรรมได้ถูกต้องร้อยละ 80

ด้านคุณลักษณะ (A)

1) ใฝ่เรียนรู้

 

 

2) มุ่งมั่นในการทำงาน

-

 

1. สังเกตพฤติกรรมระหว่างการจัดการเรียนรู้

 

1. แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์

 

1. มีระดับคุณภาพอยู่ในเกณฑ์ปานกลางขึ้นไป