เกษียณดี ชีวีมีสุข

การเผยแพร่ผลงานครูในโครงการหรือตามความร่วมมือต่าง ๆ

ชื่อกิจกรรม : เกษียณดี ชีวีมีสุข

 

ชื่อครู/หน่วยงาน : ครูวรุตม์ เครือแก้ว / โรงเรียนตากพิทยาคม

 

ชื่อโรงเรียนที่สอนหรือฝึกสอน : โรงเรียนตากพิทยาคม

 

ภาคการศึกษาและปีการศึกษาที่ใช้สอน/ทำกิจกรรม : ภาคการเรียนที่ 2 ประจำปีการศึกษา 2566

 

ระดับชั้น : มัธยมศึกษาปีที่ 4

 

รูปแบบการนำไปใช้ : 

รายวิชาเฉพาะ - คณิตศาสตร์เพื่อการแก้ปัญหา

 

วัตถุประสงค์การเรียนรู้ :

เพื่อให้ผู้เรียนรู้จักการวางแผนเกษียณผ่านการวางแผนเป้าหมายทางการเงินและคำนวณเงินที่ต้องมีเพื่อวัยเกษียณได้

 

สมรรถนะทางการเงิน (Financial competency) :

FK51. รู้วิธีการตั้งเป้าหมายทางการเงินระยะยาวและการจัดสรรเงินเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย (ม. ต้น)

FA21. เชื่อว่าวางแผนการเงินที่เริ่มต้นเร็ว ช่วยสร้างทางเลือกให้บรรลุเป้าหมายได้ (ม. ต้น)

FB25. วางแผนที่ทำให้แน่ใจว่าจะมีรายได้ในอนาคต (ม. ปลาย)

FK188. รู้ว่าเมื่ออายุมากขึ้นอาจมีรายได้ลดลง หรือไม่มีเลย จึงจำเป็นต้องเตรียมเงินเพื่อใช้จ่ายในช่วงเวลานั้น
(วัยทำงาน)

FK189. รู้ว่ามีความเสี่ยงที่จะมีเงินไม่พอใช้หากอายุยืนยาวกว่าที่คาดไว้ (วัยทำงาน)

FK190. เข้าใจความสำคัญของการสร้างความมั่นคงทางการเงินตั้งแต่เริ่มทำงาน โดยเริ่มออมเพื่อการเกษียณตั้งแต่อายุน้อย (วัยทำงาน)

 

ตัวชี้วัด สพฐ. ถ้ามี :

 

กลุ่มสาระการเรียนรู้

 

ตัวชี้วัดระหว่างทาง

 

 

ตัวชี้วัดปลายทาง

-

-

-

กระบวนการจัดการเรียนรู้หรือขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม :

ขั้นนำ

 

บทบาทครู

 

บทบาทนักเรียน

 

1) เพื่อเตรียมความพร้อมของนักเรียน ครูใช้คำถามในการถามว่า “นักเรียนอยากทำงานถึงอายุเท่าไหร่ และทำไม?”

 

 

2) ครูนำวิดีโอการสัมภาษณ์ถึงการตั้งเป้าหมายเกษียณของ ไบร์ท วชิรวิชญ์ ให้นักเรียนชมแล้วตั้งคำถามกับนักเรียนดังนี้

   - นักเรียนคิดเห็นอย่างไรกับการตั้งเป้าหมายของไบร์ท วชิรวิชญ์

   - นักเรียนคิดว่าจะมีแนวทางอย่างไรที่จะทำให้เขาบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้

1) นักเรียนร่วมกันตอบคำถามและอภิปรายถึงเหตุผลของจำนวนอายุที่ผู้เรียนต้องการเกษียณ

 

 

2) นักเรียนตอบคำถามจากประสบการณ์เดิมของตนเองและร่วมกันอภิปรายคำถาม

 

ขั้นสร้างการเรียนรู้

 

บทบาทครู

 

 

บทบาทนักเรียน

1) ครูพูดถึงเกษียณ 3 แบบ จากนั้นให้นักเรียนเลือกว่าอยากมีชีวิตเกษียณแบบใด?

 

2) ครูชวนคิดว่าในแต่ละแบบจะส่งผลกับการใช้ชีวิตในตอนเกษียณอย่างไร จากนั้นครูบรรยายถึงความสำคัญของการเตรียมพร้อมในการเกษียณด้วยคำคมที่ว่า “ชีวิตหลังเกษียณที่ไม่มีเงิน น่ากลัวกว่าชีวิตหลังความตาย” แล้วให้นักเรียนอภิปรายว่านักเรียนเชื่อในคำคมนี้ไหม? และจะเป็นอย่างไรเมื่อไม่มีเงินหลังเกษียณ?

3) ครูอธิบายกิจกรรม “สร้างเป้าหมาย”

โดยให้นักเรียนระดมความฝันที่อยากทำหลังเกษียณลงในใบงาน

4) ครูอธิบายกิจกรรม “วางแผนบรรลุเป้าหมาย” โดยให้นักเรียนเลือกเป้าหมายที่อยากให้เกิดมากที่สุดมา 1 เป้าหมาย แล้วเติมรายละเอียดต่าง ๆ ของเป้าหมายในใบงาน Financial Canvas

5) ครูบรรยาย พร้อมทั้งยกตัวอย่างประกอบในการวางแผนเพื่อให้ชีวิตเกษียณมีความสุข ในประเด็นดังนี้

   1) แหล่งรายได้หลังเกษียณ

   2) เวลาเพื่อการเกษียณ

   3) เงินเพื่อการเกษียณ

6) ครูแนะนำเว็บไซต์ Journey to my portเพื่อการคำนวณในการวางแผนเกษียณอย่างง่าย และโปรแกรมคำนวณเงินเพื่อให้พอใช้เกษียณ

ที่มา : ออมเท่าไหร่พอใช้เกษียณ

 

7) ครูให้นักเรียนลองวางแผนของตนเองและเช็คความเข้าใจ ในประเด็นดังนี้

   - เริ่มออมเพื่อเกษียณเมื่อไหร่ดี?

   - ออมได้จริงแล้วเวลาจะพอกับเป้าหมายการออมหรือไม่?

8) ครูเปิดวิดีโอ “เตรียมเกษียณอย่างไรให้เกษียณสุข” พร้อมตั้งคำถามนักเรียนในประเด็นแนวทางการวางแผนเกษียณต้องคำนึงถึงเรื่องอะไรบ้าง?

9) ครูอธิบายแนวคิดการวางแผนเกษียณแบบ FIRE พร้อมให้นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์ถึงการวางแผนเกษียณด้วยวิธีนี้

1) นักเรียนตอบคำถามตามประสบการณ์เฉพาะของตนเอง

 

 

2) นักเรียนทุกคนตั้งใจฟังครูสอนและร่วมอภิปรายคำถาม

 

 

 

 

 

 

3) นักเรียนทำใบกิจกรรม “สร้างเป้าหมาย”

 

4) นักเรียนทำใบกิจกรรม “วางแผนบรรลุเป้าหมาย”

 

 

 

5) นักเรียนทุกคนตั้งใจฟังครูสอนและถามเมื่อสงสัย

 

 

 

 

6) นักเรียนลองทำของตนเอง

 

 

 

 

 

7) นักเรียนตอบคำถามตามข้อมูลการคำนวณที่นักเรียนได้รับ

 

 

 

8) นักเรียนทุกคนตั้งใจชมวิดีโอและตอบคำถาม

 

 

9) นักเรียนทุกคนตั้งใจฟังครูสอนและร่วมอภิปรายคำถาม

 

 

ขั้นสรุปการเรียนรู้

 

บทบาทครู

 

 

บทบาทนักเรียน

1) ครูสรุปเรื่องการวางแผนเกษียณ

 

2) ครูตั้งคำถามเพื่อให้นักเรียนร่วมกันสรุปความรู้ในประเด็นดังนี้

   - เมื่อนักเรียนพิจารณาค่าใช้จ่ายในปัจจุบันแล้วนักเรียนคิดว่าจะเพียงพอที่จะทำให้บรรลุเป้าหมายเกษียณของนักเรียนหรือไม่ อย่างไร?

   - ลองประเมินจากเป้าหมายการเกษียณของนักเรียนว่ามีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด

1) นักเรียนร่วมกันตอบคำถามและสรุปความรู้

2) นักเรียนถามครูหากมีข้อสงสัย

 

การประเมินและการวัดผลการเรียนรู้ :

  • การตอบคำถามและการอภิปรายในชั้นเรียน
  • ใบกิจกรรม “สร้างเป้าหมาย”
  • ใบกิจกรรม “วางแผนบรรลุเป้าหมาย”