ทักษะการเงิน/ห้องเรียนการเงิน

การเผยแพร่ผลงานครูในโครงการหรือตามความร่วมมือต่าง ๆ

ชื่อกิจกรรม : ทักษะการเงิน/ห้องเรียนการเงิน

 

ชื่อครู/หน่วยงาน : ครูณชพล ฐานะอุดมมงคล และครูวชิระ สามกองาม / โรงเรียนสตรีวิทยา

 

ชื่อโรงเรียนที่สอนหรือฝึกสอน : โรงเรียนสตรีวิทยา

 

ภาคการศึกษาและปีการศึกษาที่ใช้สอน/ทำกิจกรรม : ภาคการเรียนที่ 2 ประจำปีการศึกษา 2566

 

ระดับชั้น : มัธยมศึกษาปีที่ 4

 

รูปแบบการนำไปใช้ : 

รายวิชาเฉพาะ - ทักษะการเงิน/ห้องเรียนการเงิน

 

วัตถุประสงค์การเรียนรู้ :

1.  ผู้เรียนสามารถบอกรูปแบบและประเภทของภัยทางการเงินได้ (K)

2.  ผู้เรียนสามารถแนะนำ เสนอแนะวิธีการผู้อื่นให้หลีกเลี่ยงภัยทางการเงินได้ (P)

3.  ผู้เรียนตระหนักถึงความสำคัญในการรู้เท่าทันภัยทางการเงิน (A)

 

สมรรถนะทางการเงิน (Financial competency) :

FK75. รู้ว่าปัจจัยทางเศรษฐกิจมหภาค เช่น อัตราเงินเฟ้อ ส่งผลต่อราคาสินค้าและอำนาจซื้อได้อย่างไร (ม. ปลาย)

FK96. รู้วิธีวางแผนการเงินเพื่อช่วยให้บรรลุเป้าหมายชีวิต (ม. ปลาย)

FK104. เข้าใจว่าการลงทุนมีทั้งขาดทุนและกำไร (ม. ปลาย)

FB30. สามารถเปรียบเทียบและเลือกใช้ผลิตภัณฑ์หรือบริการทางการเงินที่เหมาะสมกับตนเองและเป้าหมายทางการเงินที่วางไว้ (ม. ปลาย)

FA25. มีความสนใจที่จะเรียนรู้เรื่องเงินในชีวิตประจำวันมากขึ้น (ม. ปลาย)

FA26. มีทัศนติที่ดีในการเผชิญกับสถานการณ์ทางการเงินที่ไม่เป็นตามที่คาดหวัง (ม. ปลาย)

 

ตัวชี้วัด สพฐ. ถ้ามี :

 

กลุ่มสาระการเรียนรู้

 

ตัวชี้วัดระหว่างทาง

 

 

ตัวชี้วัดปลายทาง

 

-

 

-

 

 

-

กระบวนการจัดการเรียนรู้หรือขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม :

1.  ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน : ครูชวนนักเรียนคุยว่าเคยโดนหลอก หรือมีคนรู้จักโดนกลโกงหลอกเอาเงินอะไรบ้าง พร้อมยกตัวอย่าง

2.  ขั้นสอน : ครูอธิบายรูปแบบวิธีการหลอกลวงหรือกลโกงในยุคปัจจุบัน 3 เรื่อง

นักเรียนค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อแสดงบทบาทสมมุติ

กิจกรรมแสดงบทบาทสมมุติ โดยให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม แล้วเลือกรูปแบบการนำเสนอ 3 เรื่อง ได้แก่ แชร์ลูกโซ่ แก๊งคอลเซนเตอร์ และโจรออนไลน์ Scammer           

3.  ขั้นสรุป : นักเรียนและครูร่วมกันแลกเปลี่ยนบทเรียนและวิธีการป้องกันในรูปแบบของตนเอง

ผลการเรียนรู้

ผู้เรียนตระหนักถึงความเสี่ยงด้านต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะความเสี่ยงทางการเงิน อาทิ ความเสี่ยงและผลตอบแทนจากการลงทุน การใช้ผลิตภัณฑ์หรือบริการทางการเงินแบบดิจิทัล รวมถึงการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลและการติดตามข่าวสารเพื่อให้รู้เท่าทันภัยทางการเงินในยุคดิจิทัล

 

การประเมินและการวัดผลการเรียนรู้ :

1.  K : แบบประเมินด้านความรู้ ความเข้าใจ (ใบงานสรุปกิจกรรม)

2.  P : แบบประเมินการทำงานกลุ่ม

3.  A : แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์