ออมเงินออมใจ

การเผยแพร่ผลงานครูในโครงการหรือตามความร่วมมือต่าง ๆ

ชื่อกิจกรรม : ออมเงินออมใจ

 

ชื่อครู/หน่วยงาน : นางสาวพิมพร เบญญาบุษกร / มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

 

ชื่อโรงเรียนที่สอนหรือฝึกสอน : โรงเรียนทองทิพย์วิทยา

 

ภาคการศึกษาและปีการศึกษาที่ใช้สอน/ทำกิจกรรม : ระหว่างวันที่ 9 สิงหาคม 2566 – 7 กันยายน 2566

 

ระดับชั้น : ประถมศึกษาปีที่ 4 และประถมศึกษาปีที่ 6

 

รูปแบบการนำไปใช้ : 

กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (ชุมนุม / ชมรม / ค่าย / ชั่วโมงแนะแนว) - รายวิชาแนะแนว

 

วัตถุประสงค์การเรียนรู้ :

1.  ผู้เรียนมีความเชื่อว่าการออมเงินในวันนี้ เพื่อให้มีเงินใช้จ่ายในอนาคต

2.  ผู้เรียนตระหนักว่าอาจมีสถานการณ์ที่อาจส่งผลให้เงินที่มีอยู่หมดไปหรือลดลงได้

3.  ผู้เรียนเปรียบเทียบสินค้าและราคา และเลือกสิ่งของที่เหมาะสม

 

สมรรถนะทางการเงิน (Financial competency) :

FK20. รู้วิธีตั้งเป้าหมายทางการเงินเบื้องต้น เช่น เก็บเงินซื้อขนม เครื่องเล่นเกม (ป. ต้น)

FK22. รู้วิธีการออมเงินในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ฝากเงินกับผู้ปกครอง หยอดเงินในกระปุก เก็บเงินในบัญชีเงินฝาก (ป. ต้น)

FA12. เพื่อให้ผู้เรียนมีความเชื่อว่าการออมเงินในวันนี้ เพื่อให้มีเงินใช้จ่ายในอนาคต (ป. ปลาย)

FK37. เพื่อให้ผู้เรียนรู้หนักว่าอาจมีสถานการณ์ที่อาจส่งผลให้เงินที่มีอยู่หมดไปหรือลดลง เช่น ถูกหลอก (ป. ปลาย)

FB9. เพื่อให้ผู้เรียนเปรียบเทียบสินค้าและราคา และเลือกสิ่งที่เหมาะสม (ป. ปลาย)

 

ตัวชี้วัด สพฐ. ถ้ามี :

 

กลุ่มสาระการเรียนรู้

 

 

ตัวชี้วัดระหว่างทาง

 

ตัวชี้วัดปลายทาง

 

สังคมศึกษา

 

 

ส 3.1 ป.1/2 ยกตัวอย่างการใช้จ่ายเงินในชีวิตประจำวันที่ไม่เกินตัวและเห็นประโยชน์ของการออม

 

 

สังคมศึกษา

 

ส 3.1 ป.4/1 ระบุปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกซื้อสินค้าและบริการ

 

 

กระบวนการจัดการเรียนรู้หรือขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม :

ชั่วโมงที่ 1

1.  นักเรียนดูวิดีทัศน์เพลงออมเงินแล้วสนทนาเกี่ยวกับการใช้จ่ายอดออม

2.  ครูสนทนากับนักเรียนเกี่ยวกับความสำคัญของใช้จ่ายและการอดออม

3.  ครูซักถามนักเรียน นักเรียนมีการออมเงินโดยวิธีใดบ้าง

4.  ครูแนะนำ “กล่องเรื่องดีของการออมเงิน” ให้นักเรียนดูพร้อมอธิบายว่าภายในกล่องประกอบด้วยแผ่นป้ายประโยชน์ของการออมเงิน เช่น นำเงินออมไปซื้อของที่อยากได้ ไม่นำเงินไปใช้จ่าอย่างฟุ่มเฟือย  เป็นต้น โดยให้นักเรียนหยิบแผ่นป้ายจากกล่องเพื่อการมีส่วนร่วม และพร้อมอธิบายแต่ละแผ่นป้ายให้นักเรียนฟัง

5.  หลังจากครูให้ข้อมูลนักเรียนจาก “กล่องเรื่องดีของการออมเงิน” เรียบร้อยแล้วครูให้นักเรียนทำใบงานเรื่อง “เรื่องดีของการออมเงิน” แล้วออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน

6.  ตัวแทนนักเรียน 5 คน ออกมานำเสนอใบงานหน้าชั้นเรียน พร้อมทำการจดชื่อเพื่อให้ของรางวัล

7.  ครูอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับการออมเงินในวันนี้ มีใช้ในอนาคต พร้อมยกตัวอย่างประกอบ และนำนักเรียนเข้าสู่กิจกรรมตอบได้ให้ของ โดยใช้คำถาม ถามนักเรียนกับสิ่งที่เรียนในวันนี้

  •  เราสามารถออมเงินได้โดยวิธีใดบ้าง
  • ประโยชน์ของการออมเงินมีอะไรบ้าง
  • ยกตัวอย่างของการออมเงิน

8.  นักเรียนและครูช่วยกันสรุปการออมเงินในวันนี้ เพื่อให้มีเงินใช้จ่ายในอนาคต การออมเงิน มีประโยชน์โดยการนำเงินที่เหลือจากการใช้จ่าย มาเก็บรวมไว้เพื่อใช้ในยามเจ็บป่วยไม่สบายช่วยแบ่งเบาภาระพ่อแม่หรือมีเง็นเก็บสามารถนำไปใช้ในอนาคตหรือไปซื้ออุปกรณ์การเรียนต่าง ๆ

 

ชั่วโมงที่ 2

9.  ครูเกริ่นนำถึงสถานการณ์ที่อาจส่งผลให้เงินที่มีอยู่หมดหรือลดลงโดยพูดถึงความสำคัญของเงินเก็บและอาจเจอปัญหาต่างๆที่จะทำให้มันหมดลงโดยที่ไม่ทันตั้งตัว

10.  ครูให้นักเรียนลองนึกถึงตัวเองเกี่ยวกับประสบการณ์ที่เราได้ใช้เงิน และขอตัวแทนที่จะเล่าประสบการณ์ 3-4 คน

11.  ตัวแทนนักเรียนเล่าประสบการณ์ในการใช้เงินให้เพื่อนในห้องฟัง

12.  ครูนำเข้าสู่การให้ข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาของทางการเงินยกตัวอย่างสถานการณ์สิ่งที่ไม่คาดคิด ที่จะส่งผลมาโดยที่เราไม่ทันตั้งตัวหรือปัญหาต่างๆที่ส่งผลกระทบกับเงินเก็บที่เรามีอยู่อาจหมดหรือลดลง

13.  เปิดโอกาสให้นักเรียนถามสิ่งที่สงสัย และนักเรียนเข้าสู่กิจกรรมตอบได้ให้ของ ครูจะทำการถามคำถามนักเรียนกับสิ่งที่เรียนไปหากนักเรียนคนไหนตอบได้ให้ยกมือตอบ และครูทำการจดชื่อและให้ของรางวัลในคาบต่อไป

  •  เหตุการณ์ไม่คาดคิดหมายถึงอะไร
  • ปัญหาของการออมเงิน
  • บอกสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดส่งผลให้เงินหมดหรือลดลง

14.  นักเรียนและครูช่วยกันสรุปเรื่องสถานการณ์ที่ส่งผลให้เงินที่มีอยู่หมดหรือลดลง ครูสรุปให้นักเรียนฟังว่าเงินเป็นสิ่งสำคัญและเวลาจะออกไปใช้ชีวิตหรือทำกิจกรรมนอกบ้านหรืออยู่บ้านก็ใช้เงิน ฉะนั้นในแต่ละวันเราไม่รู้ว่าจะเจอสถานการณ์อะไรหรือแม้อยู่บ้านเราก็เจอสิ่งที่ไม่คาดคิดได้ การใช้ชีวิตของคนเราตั้งใช้อย่างมีสติ คิดให้มากต้องระวังตัวตลอดเวลา อาจเจอมิจฉาชีพมาในรูปแบบคนเข้ามาจีบหรือคนรัก หรือชักชวนไปยุ่งเกี่ยวยาเสพติด เช่น กัญชา เหล้า บุหรี่ หรือหลายอย่างที่เขานิยมกัน ครูขอเป็นกำลังใจให้นักเรียนและเชื่อหวังว่านักเรียนจะใช้ชีวิตอย่างมีสติและมีความสุข

 

ชั่วโมงที่ 3

15.  ครูทบทวนการจัดกิจกรรมในครั้งที่แล้วมา และสนทนากับนักเรียนพร้อมทำกิจกรรมเล่นเกมสิ่งของที่จำเป็น ครูอธิบายวิธีการเล่น คือให้นักเรียนนึกถึงสิ่งของที่จำเป็นและช่วยกันบอกแต่ห้ามพูดพร้อมกัน หากพูดพร้อมกันต้องเริ่มพูดสิ่งของใหม่แต่แรก นักเรียนในห้องต้องช่วยกันบอกให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

16.  นักเรียนในห้องทุกคนทำการเล่นเกมสิ่งของที่จำเป็นพร้อมกันอย่างมีความสุข

17.  ครูถามความรู้สึกและได้อะไรกับการทำกิจกรรมเล่นเกมสิ่งของที่จำเป็นกับนักเรียนให้นักเรียนตอบตามอิสระครูเสริมและเพิ่มข้อคิดให้กับนักเรียนจากข้อมูลดังกล่าว

18.  ครูอธิบายถึงการเปรียบเทียบราคาและสินค้า รวมถึงการเลือกซื้อสินค้าที่เหมาะสมพร้อมยกตัวอย่างสินค้าที่นำมาให้นักเรียนในห้องได้เห็นอย่างชัดเจน

19.  นักเรียนทำใบงานเรื่องเปรียบเทียบและเลือกซื้อสินค้า พร้อมสุ่มตัวแทนในห้องขึ้นมานำเสนอหน้าชั้นเรียน

20.  ตัวแทนออกมานำเสนอใบงานเรื่องเปรียบเทียบและซื้อสินค้าหน้าชั้นเรียน พร้อมครูให้คำแนะนำเพิ่มเติม

21.  นักเรียนและครูช่วยกันสรุปเรื่องการเปรียบเทียบราคาและสินค้า และการเลือกซื้อสินค้าที่เหมาะสม นักเรียนทุกคนเคยออกไปซื้อสินค้าจะให้ดีหากเรารู้จักที่จะเลือกซื้อและรู้วิธีการต่างๆ การเปรียบเทียบราคากับสินค้าเป็นสิ่งที่สำคัญ และอาจจะมีการผิดพลาด หากเราไม่เป็นคนสังเกตเพราะการเปรียบเทียบราคาและสินค้าหรือการเลือกซื้อของมีผลและมีประโยชน์ต่อเรา

 

ชั่วโมงที่ 4

22.  ครูกล่าวทักทักทายนักเรียนและทบทวนกิจกรรมต่าง ๆ ที่ผ่านมาทั้งหมดและแจกกระดาษให้นักเรียนเพื่อให้นักเรียนเขียนสิ่งที่เรียนมา เช่น ประโยชน์ของการออม สถานการณ์ที่ไม่คาดคิด การเปรียบเทียบราคาและสินค้า การเลือกซื้อสินค้า นักเรียนสามารถเขียนอะไรก็ได้เพื่อจะนำมาใส่ในกล่อง ดวงดีคนมีบุญ เพื่อทำกิจกรรมจับฉลากในท้ายคาบ

23.  นักเรียนทำการเขียนสิ่งที่ได้เรียนพร้อมเขียนชื่อตัวเองลงในกระดาษและทำการใส่ในกล่อง ดวงดีคนมีบุญ

24.  ครูให้นักเรียนจับกลุ่มแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละเท่า ๆ กัน แล้วแจกกระดาษปรู๊ฟให้แต่ละกลุ่มพร้อมให้หัวข้อ ดังนี้ 

กลุ่ม 1 การออมเงินในวันนี้ เพื่อให้มีเงินใช้จ่ายในอนาคต

กลุ่ม 2 สถานการณ์ที่อาจส่งผลให้เงินที่มีอยู่หมดไปหรือลดลง

กลุ่ม 3 การเปรียบเทียบสินค้าและราคาและการเลือกซื้อสินค้า ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันระดมความคิดสิ่งที่เรียนมาพร้อมเขียนลงในกระดาษปรู๊ฟแล้วออกมานำเสนอ

25.  นักเรียนทำกิจกรรมเล่นเกมเหตุการณ์ไม่คาดคิด ครูอธิบายกติกาและวิธีการเล่น

  • ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนมาเล่นเกม กลุ่มละ 2 คน โดยนักเรียนทุกคนสามารถช่วยกันบอกคำตอบได้
  • เกมเหตุการณ์ไม่คาดคิด จะมีการ์ดอยู่ 3 แบบ แบบที่ 1 การ์ดความหวัง แบบที่ 2 การ์ดอุปสรรคแบบที่ 3 การ์ดเหตุการณ์ไม่คาดคิด นักเรียนแต่ละกลุ่มต้องเปิดการ์ดและตอบคำถามนั้นให้ถูก
  • การเปิดการ์ดต้องเปิดทีละกลุ่ม แต่เลือกลงการ์ดคำตอบพร้อมกัน
  • กลุ่มที่เปิดการ์ดคำถามถ้าตอบได้ก็จะได้เดินบันไดหอยทาก หากตอบไม่ถูกกลุ่มที่ตอบถูกจะได้เดิน
  • หากกลุ่ม 1 เปิดการ์ดคำถามแล้ว ต่อไปก็เป็นกลุ่ม 2 กลุ่ม 3 วนกันจนจบเกม

 

นักเรียนเล่นเกมเหตุการณ์ไม่คาดคิด หลังจากทำกิจกรรมเล่นเกมแล้วครูถามความรู้สึกกลุ่มที่ชนะแล้วตามด้วยกลุ่มที่แพ้ ว่าแต่ละคนมีความรู้สึกและคิดเห็นอย่างไรกับกิจกรรมนี้พร้อมรับของรางวัลกับครู

 

บอร์ดเกม

26.  นักเรียนทำกิจกรรมจับฉลากดวงดีมีบุญ เพื่อรับรางวัลของวันนี้

27.  นักเรียนและครูช่วยกันสรุปร่วมกันถึงกิจกรรมในวันนี้ ตั้งแต่กิจกรรมแรกจนถึงกิจกรรมสุดท้าย 

 

การประเมินและการวัดผลการเรียนรู้ :

1.  เกณฑ์การสังเกตปฏิบัติกิจกรรม                                       

 

เกณฑ์

 

ตัวบ่งชี้

 

 

ผ่าน

 

 

มีความสนใจในการฟัง มีความกระตือรือร้น และให้ความร่วมมือ
ในการทำกิจกรรม

 

 

ไม่ผ่าน

 

ขาดมากกว่า 2 สิ่งหรือไม่สามารถทำตามที่กำหนดได้

 

 

2.  การประเมินใบงาน

 

เกณฑ์ 

 

 ตัวบ่งชี้

 

 

ผ่าน

 

 

ใบงานมีความถูกต้อง ความสมบูรณ์ครบถ้วน และส่งตรงต่อเวลา

 

 

ไม่ผ่าน

 

ใบงานไม่ถูกต้องสมบูรณ์ครบถ้วน และส่งงานไม่ตรงต่อเวลา