หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง ของเล่น ของใช้ – ศิลปะสร้างสรรค์

การเผยแพร่ผลงานครูในโครงการหรือตามความร่วมมือต่าง ๆ

ชื่อกิจกรรม : หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง ของเล่น ของใช้ – ศิลปะสร้างสรรค์

 

ชื่อครู/หน่วยงาน : นางสาวพรยมล มีสุข / มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

 

ชื่อโรงเรียนที่สอนหรือฝึกสอน : โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 33 (บ้านทุ่งพร้าว)

 

ภาคการศึกษาและปีการศึกษาที่ใช้สอน/ทำกิจกรรม : ภาคการเรียนที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2566

 

ระดับชั้น : อนุบาล 1

 

รูปแบบการนำไปใช้ : 

สอดแทรกในรายวิชา - หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง ของเล่น ของใช้

 

วัตถุประสงค์การเรียนรู้ :

1. ประดิษฐ์กระปุกออมสินด้วยตนเองได้

2. สนใจในการทำงานศิลปะที่ได้รับมอบหมายได้

3. เล่นตามมุมประสบการณ์อย่างปลอดภัยได้

4. เล่นและทำกิจกรรมการประดิษฐ์กระปุกออมสินร่วมกับผู้อื่นได้

 

สมรรถนะทางการเงิน (Financial competency) :

FA3. เคารพความเป็นเจ้าของในของใช้ส่วนตัวของผู้อื่น (อนุบาล)

FK7. รู้วิธีเก็บรักษาสิ่งของ เช่น เก็บของเล่นให้เข้าที่ เก็บเงินในกระปุกและวางไว้ในที่ปลอดภัย (อนุบาล)

FK9. รู้วิธีดูแลตนเอง เช่น เดินอย่างระมัดระวัง ไม่เล่นขณะรับประทานอาหาร (อนุบาล)

FK11. รู้ว่าสิ่งของต่าง ๆ มีเจ้าของ (อนุบาล)

FB1. ขออนุญาตก่อนนำของของคนอื่นไปใช้ (อนุบาล)

 

ตัวชี้วัด สพฐ. ถ้ามี :

 

กลุ่มสาระการเรียนรู้

 

 

ตัวชี้วัดระหว่างทาง

 

ตัวชี้วัดปลายทาง

-

-

-

กระบวนการจัดการเรียนรู้หรือขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม :

ขั้นนำ

   กิจกรรมบริหารสมอง กำ – แบ

 

ขั้นสอน

1. ครูแนะนำกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ ประกอบด้วย

          - วาดภาพอิสระด้วยสีเทียน

          - ปั้นดินน้ำมัน

          - การประดิษฐ์กระปุกออมสิน

2. ครูแนะนำอุปกรณ์ในการประดิษฐ์กระปุกออมสิน

3. ครูแจกอุปกรณ์ให้เด็กลงมือปฏิบัติ

4. เด็กเลือกทำกิจกรรมสร้างสรรค์ 2 กิจกรรม เมื่อทำเสร็จแล้วให้นำมาส่งครู

5. เด็กเลือกเล่นมุมประสบการณ์ เมื่อหมดเวลาช่วยกันเก็บของ

6. ขออาสาสมัคร 4 - 5 คน ออกมาเล่าผลงานของตนเอง

7. ครูและเด็กร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับการปฏิบัติตนเมื่อได้รับของจากผู้อื่น

          - เวลามีคนมาให้ของควรทำอย่างไร

          - เวลาเราแบ่งปันผู้อื่นเรารู้สึกอย่างไร

          - ถ้าเราทำงานที่ได้รับมอบหมายสำเร็จและมีคนชมเชยเด็กรู้สึกอย่างไร

          - ถ้าเราไปแย่งของคนอื่นจะเป็นอย่างไร

8. ครูและเด็กร่วมกันสนทนาและตอบคำถามเกี่ยวกับการปฏิบัติตนเมื่อได้รับของจากผู้อื่น

 

ขั้นสรุป

1. ครูและเด็กสรุปร่วมกัน ดังนี้

          - การประดิษฐ์กระปุกออมสิน

          - การปฏิบัติตนเมื่อได้รับของจากครู

          - การไม่ไปแย่งของของคนอื่นและเคารพสิทธิของคนอื่น

 

การประเมินและการวัดผลการเรียนรู้ :

1. สังเกตเด็กประดิษฐ์กระปุกออมสินด้วยตนเอง

2. สังเกตเด็กสนใจในการทำงานศิลปะที่ได้รับมอบหมาย

3. สังเกตเด็กเล่นตามมุมประสบการณ์อย่างปลอดภัย

4. สังเกตเด็กเล่นและทำกิจกรรมการประดิษฐ์กระปุกออมสินร่วมกับผู้อื่น