หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง ชุมชนของเรา

การเผยแพร่ผลงานครูในโครงการหรือตามความร่วมมือต่าง ๆ

ชื่อกิจกรรม : หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง ชุมชนของเรา

 

ชื่อครู/หน่วยงาน : นางสาวสุวนีย์ ฌานชีวิน / มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

 

ชื่อโรงเรียนที่สอนหรือฝึกสอน : โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 33 (บ้านทุ่งพร้าว)

 

ภาคการศึกษาและปีการศึกษาที่ใช้สอน/ทำกิจกรรม : ภาคการเรียนที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2566

 

ระดับชั้น : อนุบาล 2

 

รูปแบบการนำไปใช้ : 

สอดแทรกในรายวิชา - หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง ชุมชนของเรา

 

วัตถุประสงค์การเรียนรู้ :

1. เล่นและทำกิจกรรมอย่างปลอดภัยด้วยตนเองได้

2. อ่านภาพ สัญลักษณ์ คำ พร้อมทั้งชี้หรือกวาดตามองข้อความตามบรรทัดได้

3. ฟังผู้อื่นพูดจนจบและสนทนาโต้ตอบสอดคล้องกับเรื่องที่ฟังได้

4. กล้าพูดกล้าแสดงออกอย่างเหมาะสมได้

5. เล่นหรือทำงานร่วมกับเพื่อนเป็นกลุ่มได้

6. มีความกระตือรือร้นขณะทำกิจกรรมได้

 

สมรรถนะทางการเงิน (Financial competency) :

FK1. รู้ว่าเหรียญและธนบัตรที่ลักษณะต่างกันมีค่าต่างกัน (อนุบาล)

FK2. รู้ว่าสิ่งที่มี เช่น ของเล่น เสื้อผ้าของใช้ มาจากเงินที่ได้จากการทำงานของผู้ปกครอง (อนุบาล)

FK4. รู้ว่าเงินสามารถใช้ซื้อสิ่งของได้ (อนุบาล)

FK5. รู้ว่าสินค้าแต่ละชนิดในร้านค้า มีราคาที่แตกต่างกัน (อนุบาล)

FK16. รู้จักแหล่งที่มาของรายได้ เช่น เงินจากการทำงานของผู้ปกครอง (ป. ต้น)

 

ตัวชี้วัด สพฐ. ถ้ามี :

 

กลุ่มสาระการเรียนรู้

 

 

ตัวชี้วัดระหว่างทาง

 

ตัวชี้วัดปลายทาง

-

-

-

กระบวนการจัดการเรียนรู้หรือขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม :

ขั้นนำ

1. ครูแนะนำคำคล้องจอง "อาชีพ"

        - ครูอ่านคำคล้องจอง "อาชีพ" ให้เด็กฟัง 1 รอบ

        - ครูให้เด็กอ่านคำคล้องจอง "อาชีพ" ตามทีละวรรค

        - ครูและเด็กอ่านคำคล้องจอง "อาชีพ" พร้อมกันจนจบ 

ขั้นสอน 

1. ครูสนทนาเกี่ยวกับอาชีพในชุมชนโดยใช้คำถาม ดังนี้

        - ในชุมชนของเด็ก ๆ มีอาชีพอะไรบ้าง

        - พ่อแม่ผู้ปกครองของเด็ก ๆ ทำอาชีพอะไรกันบ้าง

2. ครูและเด็กช่วยกันเตรียมสิ่งของมาจัดวางโดยเราจะร่วมการแสดงบทบาทสมมติการขายของโดยครูเป็นแม่ค้า เด็กเป็นลูกค้า ครูจะมีเงินให้เด็ก ๆ เอาไปซื้อของ ของแต่ละชิ้นจะมีราคาที่แตกต่างกัน บางชิ้นต้องใช้เหรียญจ่าย บางชิ้นต้องใช้ธนบัตรจ่าย

3. ครูสนทนาซักถามเด็กเกี่ยวกับการใช้เงิน

        - เรียนรู้ว่าแต่ละเหรียญมีขนาดเหมือนหรือแตกต่างกัน

        - เวลาเราไปซื้อของเราต้องใช้อะไรในการจ่าย

        - เราอยากได้ของเล่นใหม่หรือสิ่งของต่าง ๆ ใหม่เราต้องใช้อะไรในการซื้อและได้เงินมาจากที่ไหน

        - เราอยากได้สิ่งของเราต้องใช้อะไรในการแลกกับสินค้าชิ้นนั้น

        - ในร้านขายของมีของเยอะแยะมากมายแต่ละอย่างมีราคาเหมือนและต่างกันเด็กจะรู้ได้อย่างไร

4. ครูและเด็กร่วมกันสนทนาซักถามเกี่ยวกับการใช้เงิน

5. ครูและเด็กร่วมกันแสดงบทบาทสมมติ

 

ขั้นสรุป

1. ครูและเด็กร่วมกันสรุปเกี่ยวกับอาชีพที่เด็กอยากเป็นและบอกเงินเดือนในแต่ละอาชีพจะได้เงินแตกต่างกันบางอาชีพได้เยอะ บางอาชีพได้น้อย           

 

การประเมินและการวัดผลการเรียนรู้ :

1. สังเกตเด็กเล่นและทำกิจกรรมอย่างปลอดภัยด้วยตนเอง

2. สังเกตเด็กอ่านภาพ สัญลักษณ์ คำ พร้อมทั้งชี้หรือกวาดตามองข้อความตามบรรทัด

3. สังเกตเด็กฟังผู้อื่นพูดจนจบและสนทนาโต้ตอบสอดคล้องกับเรื่องที่ฟัง

4. สังเกตเด็กกล้าพูดกล้าแสดงออกอย่างเหมาะสม

5. สังเกตเด็กเล่นหรือทำงานร่วมกับเพื่อนเป็นกลุ่ม