หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง วันเฉลิมพระชนมพรรษา ฯ

การเผยแพร่ผลงานครูในโครงการหรือตามความร่วมมือต่าง ๆ

ชื่อกิจกรรม : หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง วันเฉลิมพระชนมพรรษา ฯ

 

ชื่อครู/หน่วยงาน : นางสาวสุวนีย์ ฌานชีวิน / มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

 

ชื่อโรงเรียนที่สอนหรือฝึกสอน : โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 33 (บ้านทุ่งพร้าว)

 

ภาคการศึกษาและปีการศึกษาที่ใช้สอน/ทำกิจกรรม : ภาคการเรียนที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2566

 

ระดับชั้น : อนุบาล 2

 

รูปแบบการนำไปใช้ : 

สอดแทรกในรายวิชา - หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง วันเฉลิมพระชนมพรรษา ฯ

 

วัตถุประสงค์การเรียนรู้ :

   1. ยืนตรงเมื่อได้ยินเพลงสรรเสริญพระบารมีได้

   2. ฟังและพูดโต้ตอบเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจของในหลวงรัชกาลที่ 10 ได้

   3. เล่นและทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นได้

   4. มีความกระตือรือร้นขณะทำกิจกรรมเสริมประสบการณ์ได้

   5. กล้าพูดกล้าแสดงออกอย่างเหมาะสมได้

   6. แสดงอารมณ์ความรู้สึกของตนเองได้เหมาะสมตามสถานการณ์ได้

 

สมรรถนะทางการเงิน (Financial competency) :

FA1. รู้ว่าเหรียญและธนบัตรที่ลักษณะต่างกันมีค่าต่างกัน (อนุบาล)

FK4. รู้ว่าเงินสามารถใช้ซื้อสิ่งของได้ (อนุบาล)

FK6. ตระหนักว่าสิ่งต่าง ๆ เช่น เงินสามารถเก็บไว้ใช้ในอนาคตได้ไม่จำเป็นต้องใช้ทั้งหมดตอนนี้ (อนุบาล)

FA7. รู้วิธีเก็บรักษาสิ่งของ เช่น เก็บของเล่นให้เข้าที่ เก็บเงินในกระปุกและวางไว้ในที่ปลอดภัย (อนุบาล)

FK8. รู้วิธีติดตามและดูแลสิ่งต่าง ๆ ที่เก็บไว้ใช้ในอนาคต เช่น ติดตามเงินที่ฝากไว้กับคุณครู (อนุบาล)

 

ตัวชี้วัด สพฐ. ถ้ามี :

 

กลุ่มสาระการเรียนรู้

 

 

ตัวชี้วัดระหว่างทาง

 

ตัวชี้วัดปลายทาง

-

-

-

กระบวนการจัดการเรียนรู้หรือขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม :

ขั้นนำ        

1. ครูและเด็กร่วมกันร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี   

        - ครูเปิดเพลงให้เด็กฟังก่อน 1 รอบ  

        - ครูและเด็กยืนตรงร่วมร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีพร้อมกัน     

 

ขั้นสอน   

1. ครูบอกชื่อเพลงสรรเสริญพระบารมีเล่าให้เด็กฟังว่าเป็นเพลงที่ใช้ในการถวายความเคารพต่อพระมหากษัตริย์และสิ่งที่ควรปฏิบัติเมื่อได้ยินเพลงสรรเสริญพระบารมี    

2. ครูแบ่งเด็กเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 5 คน    

3. ครูนำเหรียญกับธนบัตรให้เด็กแต่ละกลุ่มดูและสังเกต  เหรียญ 1 บาท เหรียญ 2 บาท เหรียญ 5 บาท เหรียญ 10 บาท ธนบัตร 20  ธนบัตร 50  ธนบัตร 100  ธนบัตร 500   

4. ครูใช้คำถาม ดังนี้    

        - เด็กรู้จักเหรียญและธนบัตรอะไรบ้าง    

        - เงินที่เด็กใช้อยู่ทุกวันสามารถซื้ออะไรได้บ้าง    

        - การเก็บเงินไว้เป็นเวลานานคิดว่าเงินจะเป็นอย่างไรบ้าง     

        - เด็กฝากเงิน ออมเงินไว้ที่ไหนได้บ้าง     

        - เด็กฝากเงิน เด็กสามารถถามครูได้ว่าเงินที่ฝากไว้มีจำนวนเท่าไหร่   

5. ครูสนทนาและซักถามเด็กเกี่ยวกับสิ่งรอบตัวที่สามารถใช้เงินซื้อได้ มีอะไรบ้าง

6. เงินที่เราฝากสามารถใช้ในปัจจุบันและอนาคตได้ไหมอย่างไร

7. ครูถามเด็กเกี่ยวกับการเก็บรักษาสิ่งของของตัวเอง เช่น เงิน กระเป๋า รองเท้า 

8. ครูถามเด็กแต่ละกลุ่มว่า

        - สังเกตเห็นอะไรบ้าง

        - ลักษณะ รูปร่างอย่างไร 

 

ขั้นสรุป

1. ครูและเด็กร่วมกันสรุปเกี่ยวกับเรื่องเหรียญ 1 บาท 2 บาท 5 บาท 10 บาท และธนบัตร 20 ธนบัตร 50 ธนบัตร 100  ธนบัตร 500 ว่าสามารถซื้ออะไรได้บ้างและมีลักษณะเหมือนหรือต่างกันอย่างไร

 

การประเมินและการวัดผลการเรียนรู้ :

1. สังเกตเด็กยืนตรงเมื่อได้ยินเพลงสรรเสริญพระบารมี

2. สังเกตเด็กฟังและพูดโต้ตอบเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจของในหลวงรัชกาลที่ 10
3. สังเกตเด็กเล่นและทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น
4. สังเกตเด็กมีความกระตือรือร้นขณะทำกิจกรรม