หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง ของเล่น ของใช้
ชื่อกิจกรรม : หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง ของเล่น ของใช้
ชื่อครู/หน่วยงาน : นางสาวสุภาภรณ์ แสงจันทร์อำไพ / มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
ชื่อโรงเรียนที่สอนหรือฝึกสอน : โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 33 (บ้านทุ่งพร้าว)
ภาคการศึกษาและปีการศึกษาที่ใช้สอน/ทำกิจกรรม : ภาคการเรียนที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2566
ระดับชั้น : อนุบาล 3
รูปแบบการนำไปใช้ :
สอดแทรกในรายวิชา - หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง ของเล่น ของใช้
วัตถุประสงค์การเรียนรู้ :
1. อ่านตามคำที่ครูอ่านได้
2. ฟังและปฏิบัติตามคำแนะนำขณะที่ทำกิจกรรมการหยิบของเล่นของใช้ได้
3. ยกมือขออนุญาตเมื่อต้องการพูด
4. กล้าพูดกล้าแสดงออกอย่างเหมาะสมตามสถานการณ์
5. พูดโต้ตอบเกี่ยวกับของใช้ส่วนตัวและของใช้ส่วนรวมได้
สมรรถนะทางการเงิน (Financial competency) :
FK7. รู้วิธีเก็บรักษาสิ่งของ เช่น เก็บของเล่นให้เข้าที่ เก็บเงินในกระปุกและวางไว้ในที่ปลอดภัย (อนุบาล)
FK11. รู้ว่าสิ่งของต่าง ๆ มีเจ้าของ (อนุบาล)
FA1. รู้สึกขอบคุณเมื่อได้รับสิ่งของจากผู้อื่น (อนุบาล)
FA2. มีความยินดีเมื่อได้แบ่งปันสิ่งของให้กับผู้อื่น (อนุบาล)
FA3. เคารพความเป็นเจ้าของในของใช้ส่วนตัวของผู้อื่น (อนุบาล)
FB1. ขออนุญาตก่อนนำของของผู้อื่นไปใช้ (อนุบาล)
ตัวชี้วัด สพฐ. ถ้ามี :
กลุ่มสาระการเรียนรู้
|
ตัวชี้วัดระหว่างทาง |
ตัวชี้วัดปลายทาง |
- | - | - |
กระบวนการจัดการเรียนรู้หรือขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม :
ขั้นนำ
1. ครูแนะนำคำคล้องจอง “ของเล่นของใช้” ให้เด็ก
- รอบที่ 1 ครูท่องคำคล้องจองให้เด็กฟัง 1 รอบ
- รอบที่ 2 เด็กท่องตามครูทีละวรรค
- รอบที่ 3 ครูและเด็กท่องคำคล้องจองจนจบ
ขั้นสอน
1 ครูให้เด็กอาสาสมัครขึ้นมาเล่าประสบการณ์เกี่ยวกับของเล่นของใช้ที่บ้านตนเองที่เด็กรู้จักและเป็นของเล่นของใช้ที่ไม่มีในห้องเรียน
2. แบ่งเด็กเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้
กลุ่มที่ 1 สำรวจของเล่นของใช้ในห้องเรียน หยิบมาคนละหนึ่งชิ้น
กลุ่มที่ 2 นำของเล่นที่ครูให้เตรียมมาจากบ้านขึ้นมา
3. ครูอภิปรายเพิ่มเติมเกี่ยวกับของใช้ที่เป็นของส่วนรวมและของใช้ที่เป็นของส่วนตัว ของใช้ที่มีเจ้าของ
4. ครูให้คนที่เอาของเล่นของตัวเองมาลุกขึ้นและครูพูดขึ้นว่านี่เป็นของใช้ส่วนตัวเพราะเป็นของเล่นของใช้ที่เด็กเอามาจากบ้าน
5. ครูให้คนที่เอาของเล่นที่อยู่ในห้องลุกขึ้นและครูพูดว่านี่เป็นของใช้ส่วนรวม เค้าเป็นของเล่นที่อยู่ในห้องเรียนเราใช้เล่นกันทุกคน ไม่ได้เป็นของส่วนตัว เพราะฉะนั้นเวลาเล่นต้องรู้จักแบ่งปันมีน้ำใจและเล่นด้วยกัน เมื่อเล่นเสร็จเก็บของเล่นเข้าที่อย่างเรียบร้อย
ขั้นสรุป
1. ครู และเด็กสรุปร่วมกันเกี่ยวกับของใช้ส่วนรวมและของใช้ส่วนตัวและเด็กสรุปร่วมกันเกี่ยวกับของใช้ส่วนรวมและของใช้ส่วนตัว
การประเมินและการวัดผลการเรียนรู้ :
1. สังเกตการอ่านตามคำที่ครูอ่าน
2. สังเกตพฤติกรรมการฟังและปฏิบัติตามคำแนะนำขณะที่ทำกิจกรรมการหยิบของเล่นของใช้ได้
3. สังเกตการยกมือขออนุญาตเมื่อต้องการพูด
4. สังเกตความกล้าพูดกล้าแสดงออกอย่างเหมาะสมตามสถานการณ์
5. สังเกตการพูดโต้ตอบเกี่ยวกับของใช้ส่วนตัวและของใช้ส่วนรวม