หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง รักเมืองไทย
ชื่อกิจกรรม : หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง รักเมืองไทย
ชื่อครู/หน่วยงาน : นางสาวสุภาภรณ์ แสงจันทร์อำไพ / มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
ชื่อโรงเรียนที่สอนหรือฝึกสอน : โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 33 (บ้านทุ่งพร้าว)
ภาคการศึกษาและปีการศึกษาที่ใช้สอน/ทำกิจกรรม : ภาคการเรียนที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2566
ระดับชั้น : อนุบาล 3
รูปแบบการนำไปใช้ :
สอดแทรกในรายวิชา - หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง รักเมืองไทย
วัตถุประสงค์การเรียนรู้ :
1. สนทนาโต้ตอบเกี่ยวกับที่มาของเงินได้
2. สนทนาโต้ตอบเกี่ยวกับการปฏิบัติตนเป็นพลเมืองไทยที่ดีได้
3. กล้าพูดกล้าแสดงออกอย่างเหมาะสมตามสถานการณ์
4. ฟังและปฏิบัติตามคำแนะนำในขณะที่ฟังนิทานได้
สมรรถนะทางการเงิน (Financial competency) :
FK1. รู้ว่าเหรียญและธนบัตรที่ลักษณะต่างกันมีค่าต่างกัน (อนุบาล)
FK3. รู้ว่าสิ่งที่มี เช่น ของเล่น เสื้อผ้า ของใช้ มาจากเงินที่ได้จากการทำงานของผู้ปกครอง (อนุบาล)
FK4. รู้ว่าเงินสามารถใช้ซื้อสิ่งของได้ (อนุบาล)
ตัวชี้วัด สพฐ. ถ้ามี :
กลุ่มสาระการเรียนรู้
|
ตัวชี้วัดระหว่างทาง |
ตัวชี้วัดปลายทาง |
- | - | - |
กระบวนการจัดการเรียนรู้หรือขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม :
ขั้นนำ
1.พัฒนาการทางภาษาและการรู้หนังสือจากนิทานเรื่อง เที่ยวเมืองไทย พัฒนาการทางภาษาและการรู้หนังสือจากนิทานเรื่องเที่ยวเมืองไทย
1.1 คุณครูอ่านนิทานเรื่องเที่ยวเมืองไทยให้เด็กฟังจนจบ 1 รอบ
ขั้นสอน
1. ครูสนทนากับเด็กเกี่ยวกับภาพในนิทานว่ามีเด็กดีหรือไม่
2. ครูอภิปรายเพิ่มเติมเกี่ยวกับ การปฏิบัติตนเป็นพลเมืองไทยที่ดีการปฏิบัติตนเป็นพลเมืองไทยที่ดี
3. ครูถามคำถามกับเด็กดังนี้
- การอยู่ร่วมกันกับคนหลายคนเราต้องปฏิบัติตนอย่างไร
- เราต้องปฏิบัติตนอย่างไรถึงจะเป็นเด็กดี
- เด็กดีหมายถึงอะไรใครทำข้อไหนบ้าง
- เด็กรู้ไหมอะไรเป็นสมบัติของชาติ
- เรามีวิธีดูแลสมบัติของชาติอย่างไร
- เด็กมีสมบัติเป็นของตัวเองไหม
- สมบัติของเรามาจากไหน
- เราเอาสมบัติของคนอื่นได้ไหม เพราะอะไร
ขั้นสรุป
ครูให้เด็กฟังเพลง หน้าที่ของเด็ก
การประเมินและการวัดผลการเรียนรู้ :
1. สังเกตการสนทนาโต้ตอบเกี่ยวกับที่มาของเงิน
2. สังเกตการสนทนาโต้ตอบเกี่ยวกับการปฏิบัติตนเป็นพลเมืองไทย
3. สังเกตพฤติกรรมความกล้าพูดกล้าแสดงออกอย่างเหมาะสมตามสถานการณ์
4. สังเกตพฤติกรรมการฟังและปฏิบัติตามคำแนะนำในขณะที่ฟังนิทาน