หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง วันเฉลิมพระชนมพรรษา ฯ

การเผยแพร่ผลงานครูในโครงการหรือตามความร่วมมือต่าง ๆ

ชื่อกิจกรรม : หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง วันเฉลิมพระชนมพรรษา ฯ

 

ชื่อครู/หน่วยงาน : นางสาวสุภาภรณ์ แสงจันทร์อำไพ / มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

 

ชื่อโรงเรียนที่สอนหรือฝึกสอน : โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 33 (บ้านทุ่งพร้าว)

 

ภาคการศึกษาและปีการศึกษาที่ใช้สอน/ทำกิจกรรม : ภาคการเรียนที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2566

 

ระดับชั้น : อนุบาล 3

 

รูปแบบการนำไปใช้ : 

สอดแทรกในรายวิชา - หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง วันเฉลิมพระชนมพรรษา ฯ

 

วัตถุประสงค์การเรียนรู้ :

1.  หยุดยืนตรงเมื่อได้ยินเพลงสรรเสริญพระบารมี

2.  พูดเล่าเรื่องเป็นประโยคต่อเนื่องได้

3.  จำแนกเหรียญและธนบัตรแต่ละจำนวนได้

4.  ฟังและปฏิบัติตามคำแนะนำในระหว่างที่ร่วมกิจกรรมได้  

 

สมรรถนะทางการเงิน (Financial competency) :

FK1. รู้ว่าเหรียญหรือธนบัตรที่ลักษณะต่างกันมีค่าต่างกัน (อนุบาล)

FK4. รู้ว่าเงินสามารถใช้ซื้อสิ่งของได้ (อนุบาล)

FK6. ตระหนักว่าสิ่งต่าง ๆ เช่น เงิน สามารถเก็บไว้ใช้ในอนาคตได้ไม่จำเป็นต้องใช้ทั้งหมดตอนนี้ (อนุบาล)

FK7. รู้ว่าจะเก็บรักษาสิ่งของ เช่น เก็บของเล่นให้เข้าที่ เก็บเงินในกระปุกและวางไว้ในที่ปลอดภัย (อนุบาล)

FK8. รู้วิธีติดตามและดูแลสิ่งต่าง ๆ ที่เก็บไว้ใช้ในอนาคต เช่น ติดตามเงินที่ฝากไว้กับคุณครู (อนุบาล)

 

ตัวชี้วัด สพฐ. ถ้ามี :

 

กลุ่มสาระการเรียนรู้

 

 

ตัวชี้วัดระหว่างทาง

 

ตัวชี้วัดปลายทาง

-

-

-

กระบวนการจัดการเรียนรู้หรือขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม :

ขั้นนำ

ครูและเด็กยืนตรงและร่วมกันร้องเพลง “สรรเสริญพระบารมี”

 

ขั้นสอน

1. ครูให้เด็กดูภาพพระราชกรณียกิจในหลวงรัชกาลที่ 10 โดยแบ่งเป็นด้านต่างๆ ดังนี้

   - ด้านศาสนา

   - ด้านการศึกษา

   - ด้านเกษตรกรรม

   - ด้านกีฬา

2. ในการเปิดรูปแต่ละภาพ ครูเปิดโอกาสให้เด็กเล่าเรื่องหรือพูดคุยเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจของในหลวงรัชกาลที่ 10 ที่เด็กเคยเห็นหรือเคยได้ฟังมาและบอกความรู้สึกที่มีต่อพระองค์

3. ครูแบ่งเด็กเป็น 4 กลุ่ม

4. ครูนำเหรียญและธนบัตร ให้แต่ละกลุ่ม ดังนี้

   - กลุ่มที่ 1 เหรียญ 1 และ 5 บาท

   - กลุ่มที่ 2 เหรียญ 10 บาท และธนบัตร 20 บาท

   - กลุ่มที่ 3 ธนบัตร 50 และ 100 บาท

   - กลุ่มที่ 4 ธนบัตร 500 และ 1,000 บาท

5. ให้แต่ละกลุ่มสังเกตเหรียญและธนบัตรที่ได้ จากนั้นแสดงความคิดเห็นหรือบอกจำนวนเกี่ยวกับเหรียญและธนบัตร โดยครูใช้คำถาม ดังนี้

   - เคยเห็นเหรียญและธนบัตรนี้ไหม

   - เหรียญและธนบัตรที่แต่ละกลุ่มได้มีค่าเท่าไหร่

6. ครูอภิปรายเพิ่มเติมเกี่ยวกับเหรียญและธนบัตร

7. ครูให้ตัวแทนแต่ละกลุ่มขึ้นมาใส่เหรียญและธนบัตรลงในซองพลาสติกตามจำนวนเงินที่ครูกำหนด โดยประกอบด้วย เหรียญ 1 บาท เหรียญ 5 บาท เหรียญ 10 บาท ธนบัตร 20 บาท ธนบัตร 50 บาท ธนบัตร 100 บาท ธนบัตร 500 บาท ธนบัตร 1000 บาท

8. ครูและเด็กตรวจสอบคำตอบที่แต่ละกลุ่มเขียนขึ้นมา

9. ครูถามคำถามเด็กและสร้างข้อตกลงว่าคนไหนจะพูดให้ยกมือขึ้น โดยมีคำถาม ดังนี้

   - จากที่เราได้ทำกิจกรรมไปเด็ก ๆ รู้จักธนบัตรอะไรบ้าง

   - เหรียญหรือธนบัตรที่เรารู้จักสามารถซื้ออะไรได้บ้าง

   - เด็กแต่ละคนเก็บเงินไว้ที่ไหน

10. ครูอภิปรายเพิ่มเติมเกี่ยวกับคำถามที่ถามเด็ก ในข้อที่ 9

 

ขั้นสรุป

ครูและเด็กยืนตรงและร่วมกันร้องเพลง “สรรเสริญพระบารมี” 1 รอบ

 

การประเมินและการวัดผลการเรียนรู้ :

1. สังเกตการหยุดยืนตรงเมื่อได้ยินเพลงสรรเสริญพระบารมี

2. สังเกตการพูดเล่าเรื่องเป็นประโยคต่อเนื่อง

3. สังเกตการจำแนกเหรียญและธนบัตรแต่ละจำนวน

4. สังเกตการฟังและปฏิบัติตามคำแนะนำในระหว่างที่ร่วมกิจกรรม